โรคสำคัญในเมล่อน

โรงเรือนจัดว่าเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกษตรกรในปัจจุบันนิยมนำมาประยุกต์ใช้ในการปลูกพืชต่างๆมากมาย เช่น มะเขือเทศ เมล่อน พริกหวาน และผักสลัด เป็นต้น เนื่องจากการเพาะปลูกพืชเหล่านี้ในโรงเรือนสามารถดูแลและสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ได้อย่างง่ายดาย แต่ถ้าหากไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคพืชได้นั้น จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต ทั้งทางคุณภาพและปริมาณลดต่ำลง ส่งผลถึงกำไรที่ลดลง ดังนั้นควรทำการศึกษาลักษณะโรคและวิธีป้องกันที่จะเกิดกับพืชที่ทำการเพาะปลูก เนื่องจากเมื่อพบการระบาดจะได้ทำการควบคุมได้ทันเวลา

 สำหรับวันนี้จะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับโรคที่สำคัญในเมล่อน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับเกษตรกรที่กำลังศึกษา และจะตัดสินใจเพื่อทำการเพาะปลูกเมล่อน

1.  โรคราน้ำค้าง มักพบการระบาดในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นหรือในแหล่งพื้นที่เพาะปลูกที่มีความชื้นสูง

ลักษณะอาการเริ่มแรกจะเกิดจุดแผลสีเขียวซีดที่บริเวณบนใบ ต่อมาแผลจะกลายเป็นสีเหลืองและขยายจนเต็มใบถ้าหากเกิดการระบาดที่รุนแรงจะส่งผลให้ต้นตายได้

2.  โรคใบเหี่ยว

ลักษณะอาการ:  ใบลู่ลงคล้ายกับอาการต้นพืชขาดน้ำโดยใบและต้นยังมีสีเขียว เมื่อผ่านไปประมาณ 1 – 2 วันจะแสดงอาการเหี่ยวได้อย่างชัดเจน

3.  โรคราแป้ง มักพบการระบาดในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นในอากาศสูง และอุณหภูมิต่ำ มักเกิดในระยะติดผลจนถึงระยะเก็บเกี่ยว

ลักษณะอาการบริเวณผิวใบจะพบกลุ่มสปอร์เชื้อราสีขาวคล้ายแป้งปกคลุมเมื่อเกิดระบาดรุนแรงบริเวณที่พบจะเหลืองและแห้งอย่างรวดรวดเร็ว ส่งผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง หลังจากนั้นทำให้ใบแห้งตายในที่สุด

4.  โรคยางไหล เป็นอีกหนึ่งโรคที่มักพบในเมล่อน โดยโรคนี้มักจะเกิดควบคู่กับโรคราแป้ง

ลักษณะอาการพบแผลฉ่ำน้ำ เป็นยางเหนียวสีน้ำตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลำต้น และก้านใบเมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดำๆกระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล

จากโรคที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นวิธีการป้องกันที่แนะนำ คือ โรคกลุ่มเชื้อราให้ฉีดพ่นด้วยสารชีวภัณฑ์ เช่น ไตรโครเดอร์มา  หรือบาซิลลัส ซับทีลิส ทุกๆ 3-7 วัน และหากพบการระบาดรุนแรงให้พ่นด้วยกำมะถันชนิดละลายน้ำ อัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แต่ในกรณีพบ โรคใบเหี่ยว หากมีการเหี่ยวรุนแรงให้ทำการรื้อต้นและวัสดุเพาะ ออกไปทำลายโดยการเผา เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไม่มีสารเคมีที่สามารถป้องกันได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรงเรือนอีแว๊ป (Evap) ย่อมาจาก Evaporative cooling system ช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเหมาะสำหรับการปลูกพืช ผัก ผลไม้ ที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้สามารถออกผลได้ตลอดทั้งปี สะดวกในการดูแล สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก รวมถึงลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหายจากแมลงและฝน
สำหรับการใช้โดรนในด้านการเกษตรนั้น ได้นำโดรนมาใช้เป็นเครื่องมือในการพ่นปุ๋ยหรือสารเคมีทางการเกษตร สารกำจัดศัตรูพืช และการทำแผนที่เพื่อการเกษตร โดยการใช้โดรนเพื่อช่วยในด้านการเกษตรจะทำให้เกษตรกรประหยัดแรงงานและสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งประหยัดเวลามากกว่าการใช้แรงงานคน โดยเฉพาะการใช้โดรนเพื่อพ่น
ปัจจุบันใครจะคิดว่าการทำเกษตรในเมืองกรุงนั้น จะสามารถสร้างรายได้หลักแสน ด้วยต้นทุนค่าไฟเพียง 0 บาทต่อเดือน วันนี้เรามาแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับ “พี่โบ้-วีระ สรแสดง”อดีตออแกไนซ์ที่สามารถเนรมิตพื้นที่ 9 ไร่ในย่านมีนบุรีให้เป็นเกษตรเชิงท่องเที่ยวในเมืองกรุงที่มีชื่อขนานนามว่า “Res-q-farm” พี่โบ้ ได้