โดรนเพื่อการเกษตร

ปัจจุบันแรงงานคนในภาคการเกษตรไทยนั้นมีจำนวนน้อยลง และประสิทธิภาพจากการทำงานของแรงงานคนต่ำลง จึงได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และยังช่วยในการควบคุมต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย

โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่อีกหนึ่งชนิดที่จะทำการแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก คือ โดรนการเกษตร ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ประโยชน์กับภาคการเกษตรมากมาย เช่น พ่นปุ๋ย และธาตุอาหารเสริม , วางแผนการเพาะปลูกและถ่ายภาพแปลงเพาะปลูกเพื่อสังเกตการเจริญเติบโตและอาการผิดปกติของพืชดังนั้นเรามาดูกันว่าก่อนการใช้งานโดรนต้องทำอย่างไรบ้าง

1.  การวางแผนและการเตรียมตัวก่อนการบินเป็นอย่างดี จะทำให้บินได้อย่างปลอดภัย และประหยัดแบตเตอรี่ โดยควรคำนึงตามปัจจัยต่างๆดังนี้

  • ศึกษาข้อบังคับเกี่ยวกับโดรนและกฎหมายในท้องถิ่น
  • บินในระยะที่สายตามองเห็นบินในระยะการรับสัญญาณ
  • ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนบิน
  • บินในสภาพแสงที่มากพอ
  • เมื่อใบพัดเสียหายให้เปลี่ยนทันที
  • บินในบริเวณที่เหมาะสมในการบิน

2.  การเตรียมความพร้อม
การตรวจเช็คและการชาร์จแบตเตอรี่

การประกอบและตรวจเช็กใบพัด

ข้อควรระวัง:

  1. หากไม่กางใบพัดออกก่อน อาจทำให้แกนของมอเตอร์สียหายได้
  2. หากประกอบผิดจะทำให้โดรนเสียการทรงตัวเมื่อทำการบิน

–  การประกอบแบตเตอรรี่รีโมท การเปิดใช้งานรีโมท และการเชื่อมสัญญาณ

นอกจากการวางแผนและการเตรียมตัวก่อนการใช้งานแล้วเรามาดูฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆของ  โดรนว่ามีอะไรบ้าง

ฟังก์ชั่นการทำงานของโดรน
Plan Field คือการกำหนดพื้นที่บิน มีทั้งหมด 3 โหมด

โดรนการเกษตรนั้นเป็นอีกหนึ่งเครื่องมีอที่มีประโยชน์สำหรับภาคการเกษตรในปัจจุบัน และเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่น่าจับตามองอย่างเห็นได้ชัด

บทความที่เกี่ยวข้อง

“โดรนเพื่อการเกษตร” เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่จับตามอง สร้างความเปลี่ยนแปลงและสร้างประโยชน์อย่างมากให้แก่การเกษตรกรรม การนำโดรนมาใช้เพื่อมาใช้ในการพ่นปุ๋ย หรือยากำจัดศัตรูพืช เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ช่วยตอบสนองการใช้งานด้านเกษตรได้อย่างดีในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ช่วยให้เข้าถึงพื้นที่การเกษตรได้
“Plant factory” หรือ “โรงงานผลิตพืช” คือผลผลิตของความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีหลากหลายสาขามาประยุกต์ใช้เพื่อพลิกโฉมการปลูกพืชจากดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ มาสู่การปลูกในระบบปิดที่ควบคุมสภาพแวดล้อม ทำให้ปลอดภัยสูง ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง มีปริมาณผลผลิตที่คงที่ และยังสามารถปลูกได้ทั้งปีโดยไม่ขึ้นกับฤดู
ศูนย์การเรียนรู้อีกแห่งที่เราอยากแนะนำก็คือ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ข้าว) ซึ่งอยู่ใกล้แค่จังหวัดสุพรรณบุรีนี่เอง ที่เกิดจากความตั้งใจของคุณสุกรรณ์ สังข์วรรณะ ที่นี่ได้เปิดพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่เกษตรกรทั่วไปรวมถึง