เทคนิคง่ายๆ สำหรับการเพาะต้นกล้ามะเขือเทศ

การเริ่มต้นปลูกมะเขือเทศนั้นไม่ยากอย่างที่ทุกท่านคิด เพียงแค่เริ่มต้นอย่างถูกวิธีก็จะได้ต้นมะเขือเทศพร้อมสำหรับการให้ผลผลิต ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก็คือ “การเพาะต้นกล้า” แต่ก่อนการเริ่มเพาะต้นกล้านั้นควรทำ “การบ่มเมล็ด” เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการงอกของเมล็ดนั่นเอง โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.นำเมล็ดพันธุ์พืชแช่น้ำที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง 

 2.นำเมล็ดห่อใส่ผ้านุ่มๆ และใช้ไตรโคเดอร์ฉีดพ่นที่เมล็ด เพื่อป้องกันการเกิดโรคเน่าคอดิน และการเข้าทำลายของเชื้อราหลังจากต้นกล้าโผล่พ้นดิน

3.ทำการมัดและนำไปใส่ภาชนะทึบแสง เป็นเวลา 1 คืน หรือประมาณเวลา 24 ชั่วโมง จะพบว่าที่บริเวณเมล็ดจะเกิดรากงอกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร

เพียงเท่านี้เมล็ดมะเขือเทศพร้อมสำหรับนำไปทำ “การเพาะต้นกล้า” แล้ว โดยสามารถลงมือปฏิบัติได้ตามขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1.บรรจุพีทมอสลงในถาดเพาะกล้าจำนวน 60 หลุม แล้วรดน้ำวัสดุให้ชุ่ม

2.นำเมล็ดมะเขือเทศที่ผ่านการบ่มเรียบร้อยแล้ว มาทำการเพาะลงถาดหลุม โดยใช้คีมปลายแหลมหรือไม้จิ้มฟันทำหลุมเล็กๆ ลึกประมาณ 1 มิลลิเมตร แล้วใส่เมล็ดลงไปในหลุมหลุมละ 1 เมล็ด กลบเมล็ดบางๆ และใช้สเปร์พ่นน้ำใส่ถาดเพาะให้วัสดุชุ่ม

3.นำไปเก็บไว้ในที่มืดเป็นเวลา 2 วัน โดยสังเกตดูการงอกของเมล็ดทุกวัน เมื่อเมล็ดเริ่มงอกให้นำออกแสงแดดทันที หรือควรมีแสงอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมงต่อวัน

4.ทำการรดน้ำทุกวัน เพื่อควบคุมความชื้นให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะเขือเทศ โดยเวลาที่เหมาะสมสำหรับการรดน้ำคือช่วง 8.00 น. และ 14.00 น.  และควรสลับกับการฉีดพ่นไตรโครเดอร์มาทุกๆ 2 วัน  เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่อาจจะเกิดจากเชื้อราทางดิน เช่น โรคต้นเน่าโคนเน่า

5.เมื่อกล้ามีอายุได้ 15 วัน ให้ปุ๋ยเกล็ดสูตรเสมอ ผสมน้ำเจือจางอัตรา 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร โดยให้ทุกๆ 3 วัน

6.เมื่อต้นกล้ามีอายุครบประมาณ 20-25 วัน ให้นำต้นกล้าไปย้ายปลูกลงในโรงเรือนทันที 

จะเห็นได้ว่าเพียงปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและสมบูรณ์ พร้อมที่จะเติบโตและให้ผลผลิตออกสู่ท้องตลาด แต่สิ่งสำคัญสำหรับการเพาะปลูกพืชไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใดควรดูแลเอาใส่ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้ผลออกมาอย่างคุ้มค่าแก่การลงทุน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมล่อน เป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง มีโรคหลายชนิดที่พบทั่วไปในการปลูก เมล่อน ทาให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ได้คุณภาพผลตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้นการปลูกเมล่อนจึงต้องดูแลละเอียด ตลอดฤดูปลูก ทาให้มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าพืชอื่น เราจึงต้องให้ความสาคัญในการรู้จักโรคและการป้องกันกาจัดโรคที่
ภัยแล้งเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย โดยปัญหาภัยแล้งเกิดจากหลายสาเหตุทั้งสาเหตุโดยธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ผลกระทบของภัยแล้งทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตหยุดชะงัก ปริมาณและคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ สร้างความ