สำหรับการใช้โดรนในด้านการเกษตรนั้น ได้นำโดรนมาใช้เป็นเครื่องมือในการพ่นปุ๋ยหรือสารเคมีทางการเกษตร สารกำจัดศัตรูพืช และการทำแผนที่เพื่อการเกษตร โดยการใช้โดรนเพื่อช่วยในด้านการเกษตรจะทำให้เกษตรกรประหยัดแรงงานและสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งประหยัดเวลามากกว่าการใช้แรงงานคน โดยเฉพาะการใช้โดรนเพื่อพ่นสารชีวภัณฑ์หรือสารอินทรีย์ให้ทันในช่วงเวลาขณะที่ปากใบพืชเปิด ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมมากยิ่งขึ้นนากจากนั้นโดรนยังมีความสามารถจดจำตำแหน่งที่ฉีดพ่นครั้งก่อนได้ด้วย อีกทั้งการใช้โดรนยังทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงพื้นที่สะดวกทั่วถึงมากขึ้น เช่น การพ่นสารในพ่นปุ๋ยในพื้นที่ปลูกที่มีลักษณะที่มีลักษณะลาดชัน ตลอดจนทำให้เกษตรกรมีความปลอดภัยจากการลดการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรโดยตรง

เทคนิคการพ่นสารเคมีด้วยโดรนการเกษตร1. อายุของผู้ใช้งาน
หากโดรนนั้น มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม ผู้ใช้งานโดรน ควรมีอายุมากกว่า 18 ปี แต่ถ้าต่ำกว่า 18 ปี จะต้องมีผู้ควบคุมดูแลอยู่ด้วย สำหรับโดรนที่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม ผู้ใช้งานต้องมีอายุอย่างน้อย 20 ปี
2. ตรวจสอบสภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศก่อนทำการบิน
ก่อนนำโดรนขึ้นบิน ควรตรวจสอบสภาพพื้นที่และสภาพภูมิอากาศ ว่าปลอดภัยต่อการนำโดรนขึ้นบินหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิประเทศ มีสิ่งกีดขวางหรือไม่ เป็นพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้นำเครื่องบินหรือเปล่า (ต้องห่างจากบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้างหรืออาคารในแนวราบ อย่างน้อย 30 – 50 เมตร) สภาพภูมิอากาศ ฝนตกหรือแดดออก เหมาะกับการนำเครื่องบินหรือไม่
3. ช่วงเวลาและระยะการมองเห็น
การบินโดรนเพื่อการเกษตร จะต้องทำในช่วงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเท่านั้น และระยะการบิน ผู้ใช้งานจะต้องอยู่ในระยะที่มองเห็นโดรนได้ตลอดเวลา ห้ามทำการบินโดยอาศัยชุดกล้องบนอากาศยานหรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเด็ดขาด และห้ามทำการบินโดยใช้ความสูงเกิน 90 เมตรจากพื้นดินด้วย
4. ไม่บินในลักษณะก่อให้เกิดอันตราย
แม้จะเป็นโดรนเพื่อการเกษตร ใช้งานในพื้นที่โล่งแจ้ง ไม่มีคนจำนวนมากอยู่ก็ตาม แต่ก็ควรบิน โดรนให้ปลอดภัย ไม่บินในลักษณะที่ก่อให้อันตราย อย่างการบินในแนวฉวัดเฉวียน บินโดยไม่ได้อยู่ในระยะที่มองเห็น อันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินหรือความสงบสุขของผู้อื่น

สำหรับข้อดีและข้อเสีย ของการใช้โดรนเพื่อการเกษตรดังนี้
ข้อดี :
1. ประหยัดเวลา
2. ลดการสัมผัสสารเคมีโดยตรงของผู้พ่น
3. ลดปริมาณสารเคมีในการฉีดพ่นแต่ละครั้งเนื่องจากการกระจายน้ำยาดีกว่าการใช้คนพ่น
4. ข้าวไม่เสียหายจากการเหยียบย่ำ
5. สามารถตั้งระบบบินแบบอัตโนมัติได้
ข้อเสีย :
1. ราคาลงทุนซื้อเครื่องยังสูงอยู่
2. ต้องเรียนรู้เรื่องระบบต่าง ๆ ที่ซับซ้อน
3. แบตเตอรี่มีราคาแพง
4. ผู้ขับต้องมีความชำนาญในการบังคับเพื่อป้องกันความเสียหาย เช่น กรณีเครื่องตก บินชนต้นไม้ เป็นต้น
5. ต้องมีแบตเตอรี่สำรองเพื่อการฉีดพ่นให้ได้ตลอดทั้งวัน