เตือนภัย “โรคต้นแตกยางไหล” ในเมล่อน

แม้สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลย่อมเป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตของพืชมากมายหลายชนิด แต่เมื่อมีข้อดีก็มักจะต้องมีข้อเสียควบคู่กันไป อย่างเช่นในปัจจุบันประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการซึ่งเป็นผลดีต่อเกษตรกรในการเพาะปลูกพืช แต่ไม่เป็นผลดีแน่หากเกษตรกรเลือกทาการเพาะปลูกพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา บวบ และเมล่อน ในช่วงฤดูกาลนี้ เนื่องจากพืชตระกูลแตงมักจะพบการระบาดของโรคต้นแตกยางไหลอย่างรุนแรง

แล้วทุกท่านเคยสงสัยกันไหมว่า “ โรคต้นแตกยางไหล ทำไมมักจะเกิดการระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน ” คำตอบคือ “ เมื่อฝนตกจะทาให้เกิดความชื้นในดิน ทาให้เชื้อรา Mycosphaerella citrulline และ Didymella sp. ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคดังกล่าวขยายพันธุ์เข้าสู่ลาต้นของพืชตระกูลแตงได้อย่างรวดเร็ว โดยลักษณะอาการที่สังเกตุเห็นได้อน่างชัดเจน คือ แผลจะฉ่าน้า เป็นยางเหนียวสีน้าตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลาต้น และก้านใบ เมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดาเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล ”

หากเกษตรกรรับมือกับการระบาดของโรคดังกล่าวได้ไม่ทันเวลาจะส่งผลให้ผลผลิตเสียหายและรายได้ของเกษตรกรลดลงอย่างมาก ดังนั้นเกษตรกรต้องหาวิธีการป้องกันกาจัดโรคนี้อย่างถูกต้องและถูกวิธี

ซึ่งทุกท่านไม่ต้องกังวลใจไปวันนี้เราได้รวบรวมวิธีการต่างๆมาให้ทุกท่านเลือกปฏิบัติแล้ว โดยสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

ขั้นตอนที่สาคัญ คือ หมั่นสารวจแปลงปลูกบ่อยครั้งในช่วงฤดูฝน หากพบอาการที่กล่าวไว้เบื้องต้นให้รีบทาการป้องกันทันที โดยวิธีป้องกันแบ่งได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 พืชแสดงอาการเพียงเล็กน้อย และพบเพียงไม่กี่ต้นในแปลงเพาะปลูก ให้เลือกวิธีที่ปลอดภัยในการป้องกัน คือ การใช้ปูนขาวโรยบริเวณรอบโคนต้นในอัตราประมาณ 2 กรัมต่อต้นจะเป็นการป้องกันเชื้อราในดินขยายสู่ลาต้น และใช้ปูนขาวผสมน้าทาบริเวณแผลที่ฉ่าน้า เมื่อกลับมาสารวจแปลงอีกครั้งหลังจากป้องกันด้วยวิธีดังกล่าวจะพบว่าบริเวณแผลจะแห้งอย่างรวดเร็ว

กรณีที่ 2 พืชแสดงอาการอย่างรุนแรง และพบทั้งแปลงเพาะปลูก ให้ใช้แมนโคเซบฉีดพ่นซ้าทุก 7 วัน โดยใช้ในอัตราที่ฉลากระบุอย่างเคร่งครัด

โรคนี้นอกจากเกิดการระบาดจากช่วงฤดูกาลที่เป็นสาเหตุหลักแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สาคัญ คือ เมล็ดพันธุ์ ที่ใช้ในการเพาะปลูก ดังนั้นก่อนการเพาะปลูกทุกครั้งควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยไตรโครเดอร์มา ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งวิธีทาสามารถลดการระบาดของโรคต้นแตกยางไหลได้นั้นเอ

บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณนิโรจน์ แสนไชย เจ้าของ “สวนแสนไชย” ผู้อยู่ในวงการลำไยมาอย่างยาวนาน ทั้งลองผิดลองถูก จนสวนแห่งนี้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยสวนแห่งนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดลำพูน มีพื้นที่ปลูกลำไยกว่า 86 ไร่ ภายในสวนได้ปลูกลำไยแบบต้นเตี้ยระยะชิด ขนาด 6X6 เมตร และปลูกลำไยพันธุ์ “อีดอ”
มะเขือเทศเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันมากในโรงเรือน เป็นพืชประเภทผลเบอรี่ มีผิวเปลือกบาง ไม่สามารถแยกออกจากเนื้อผลได้ แม้ว่าช่วงนี้เราจะไม่พบโรคพืชหรือแมลงศัตรูพืชของมะเขือเทศในโรงเรือน แต่ในช่วงที่ผลมะเขือเทศกําลังขยายตัว และระยะเก็บเกี่ยว มักจะพบว่าผลมะเขือเทศมีอาการก้นผลเน่า ทําให้ผลผลิตเสีย
ภัยแล้งเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย โดยปัญหาภัยแล้งเกิดจากหลายสาเหตุทั้งสาเหตุโดยธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ผลกระทบของภัยแล้งทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตหยุดชะงัก ปริมาณและคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ สร้างความ