หนอนชอนใบ…ศัตรูร้ายของเมล่อน

ถ้าหากเกษตรกรเลือกทำการเพาะปลูกเมล่อนในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ ให้เฝ้าระวังการระบาดของแมลงศัตรูพืชที่มีชื่อว่า “ หนอนชอนใบ ” ซึ่งเป็นศัตรูร้ายที่สร้างความเสียหายให้กับเมล่อนได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต

โดยลักษณะอาการเบื้องต้นที่สามารถพบเห็นได้ คือพบรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา ซึ่งเกิดจากตัวหนอนชอนไชอยู่ในใบพืช เมื่อนำใบพืชมาทำการส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กๆ สีเหลืองอ่อนโปร่งใส่ อยู่ภายในเนื้อเยื่อพืช หากผู้ปลูกทำการป้องกันและควบคุมได้ไม่ทันเวลาจะส่งผลให้ใบเสียหายร่วงหล่น และส่งผลให้ผลผลิตของเมล่อนลดลง

ลักษณะการเข้าทำลายของหนอนชอนใบ

 สำหรับการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดนี้นั้นสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งวิธีที่แนะนำคือการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated pest management , IPM) เป็นการใช้วิธีในการควบคุมแมลงศัตรูพืชหลายวิธีร่วมกัน เช่น

          วิธีเขตกรรม (Culture Control) และวิธีกายภาพ (Physical Control)  คือ การตัดแต่งกิ่งหรือใบ ที่ถูกหนอนชอนใบทำลายรุนแรง และเผาทำลายเศษใบพืชที่ถูกทำลายทันที เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ตามเศษใบไม้จะถูกทำลายไปด้วย และสามารถช่วยลดการแพร่ระบาดได้

          ชีววิธี (Biological Control)คือ ใช้จุลินทรีย์แบคทีเรียบีที (Bacillus thuringiensis)หรือเชื้อราเมตาไรเซียม ในการป้องกันกำจัด แต่ที่สำคัญสำหรับการใช้จุลินทรีย์และชีวภัณฑ์ ต้องให้ความชื้นกับพืชก่อนทุกครั้ง และหลักในการฉีดพ่นจุลินทรีย์และชีวภัณฑ์ คือ “ ช่วงที่แดดร่มลมตก ”  (เวลาบ่าย 2 โมงแต่ไม่ควรเกิน 4 โมงเย็น) 

และวิธีสุดท้ายที่แนะนำ คือ การใช้สารเคมี โดยใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ เบตา-ไซฟลูทริน 2.5% อีซี หรือฟิโพรนิล 5% เอสซี หรือไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี โดยใช้ในอัตราที่ฉลากระบุอย่างเคร่งครัด

ซึ่งวิธีป้องกันและกำจัดที่กล่าวมาข้างต้น ควรเลือกวิธีการต่างๆ ให้ถูกต้อง ถูกเวลา เหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพพื้นที่ เพื่อลดปริมาณศัตรูพืชในพื้นที่นั้น ลดความเสี่ยงต่อคน และรบกวนสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเขือเทศเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันมากในโรงเรือน เป็นพืชประเภทผลเบอรี่ มีผิวเปลือกบาง ไม่สามารถแยกออกจากเนื้อผลได้ แม้ว่าช่วงนี้เราจะไม่พบโรคพืชหรือแมลงศัตรูพืชของมะเขือเทศในโรงเรือน แต่ในช่วงที่ผลมะเขือเทศกําลังขยายตัว และระยะเก็บเกี่ยว มักจะพบว่าผลมะเขือเทศมีอาการก้นผลเน่า ทําให้ผลผลิตเสีย
อุตสาหกรรมการเกษตรกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน (Climate Change) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แรงงานสูงวัย และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เกษตรกรต้องพัฒนาศักยภาพในการทำการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตควบคู่กับการลดต้นทุนการผลิต โดยใช้ทรัพยากร
ถึงแม้ว่าเราจะดูแลมะเขือเทศเป็นอย่างดี แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้คือ สภาพอากาศในวันที่สภาพอากาศอากาศเย็น มีหมอกในยามเช้า มีความชื้นสูง เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเกิดโรคพืชในโรงเรือน และโรคพืชที่เราต้องเตรียมรับมือ คือ โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่ระบาดแพร่หลาย และรู้จักกันดีโรคหนึ่ง