ระบบจัดการน้ำในสวนลำไยแสนไชย

คุณนิโรจน์ แสนไชย เจ้าของ “สวนแสนไชย” ผู้อยู่ในวงการลำไยมาอย่างยาวนาน ทั้งลองผิดลองถูก จนสวนแห่งนี้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยสวนแห่งนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดลำพูน มีพื้นที่ปลูกลำไยกว่า 86 ไร่ ภายในสวนได้ปลูกลำไยแบบต้นเตี้ยระยะชิด ขนาด 6X6 เมตร และปลูกลำไยพันธุ์ “อีดอ” ทั้งหมด จำนวน 3,200  ต้น มีการวางระบบการให้น้ำแบบอัตโนมัติครอบคลุมทั้งพื้นที่ทำให้ลดจำนวนแรงงาน ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่าย

สภาพพื้นที่ของสวนแสนไชย เป็นที่ราบลุ่มริมน้ำปิง มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารครบ โดยแหล่งน้ำมี 2 ส่วนคือ พื้นที่สวนติดกับแม่น้ำปิงและมีการขุดบ่อบาดาลน้ำตื้นไว้ใช้ในสวนอีกด้วย

ซึ่งในอดีตการให้น้ำของสวนแสนไชย ใช้วิธีการสูบน้ำปิงเข้ามาในสวนแล้วให้คนงานใช้สายยางฉีดน้ำพ่นแบบราดบนพื้นดิน ต่อมาเปลี่ยนวิธีการให้น้ำเป็นการสูบน้ำปิงขึ้นมาที่แท้งค์ แล้วมามาน้ำเปิดตามท่อ แต่ก็ยังเสียเวลา ยังใช้แรงงานมาก และเปลืองน้ำ จึงได้เปลี่ยนมาให้น้ำแบบสปริงเกอร์และมินิสปริงเกอร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการให้น้ำดีและประหยัดน้ำมากขึ้น แต่ก็ยังต้องใช้แรงงานคนในการเปิดปิดประตูน้ำ กว่า 100 ตัว ทั่วทั้งสวนอยู่ จึงอยากลดการใช้แรงงาน โดยการนําเครื่อง Timer เข้ามาใช้ในระบบการให้น้ำ

คุณนิโรจน์ ได้ไว้วางแผนการจัดการน้ำในสวนลำไยแยกโซน ออกเป็น 5 โซนด้วยกัน โดยกําหนดเวลาบน Timer และเมื่อถึงเวลา Timer ที่เชื่อมต่อกับ เริ่มจากใช้ปั๊มหอยโขง ขนาด 4 นิ้ว 4 แรงม้า ทั้งหมด 3 ตัว จะทําการสูบน้ำจากแม่น้ำปิงต่อกับท่อเมนจํานวน 4 ท่อ ขนาด 4 นิ้ว มี 4 ประตูน้ำ ซึ่งแต่ละท่อเมนหลักจะมีท่อย่อยขนาน 2-3 นิ้ว เชื่อมต่ออีก 10-20 ท่อ เมื่อน้ำผ่านประตูน้ำแล้วจะถูกส่งไปยังท่อย่อย 

ซึ่งแต่ละท่อย่อยจะเชื่อมต่อกับมินิสปริงเกอร์บริเวณทรงพุ่ม จะให้น้ำลำไยแต่ละต้นประมาณ 150 ลิตร/วัน/ต้น ซึ่งทั้ง 86ไร่ จะใช้เวลาการให้น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วแต่ความต้องการน้ำในแต่ละโซน ซึ่งลดจํานวนแรงงานลงและประหยัดเวลาในการทำงาน ส่วนในอนาคตกำลังจะติดตั้งแผงโซลาเซลล์ขนาด 8 นิ้ว เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าลง ลดต้นทุนการผลิตและประหยัดค่าใช้จ่าย ฃ

แบบการวางแผนระบบน้ำในสวนลำไย

สุดท้ายคุณนิโรจน์ กล่าวว่า “ความสำเร็จของสวนแสนไชย คือ การที่เราต้องอยากได้สิ่งที่ดีกว่า อย่าไปคิดว่าสิ่งที่ตัวเองมีมันดีแล้ว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ต้องมีสิ่งที่ดีกว่าเสมอ เราต้องปรับตัว พร้อมที่จะเรียนรู้ และนำมาปรับใช้ในสวนลำไยของตัวเอง”  

บทความที่เกี่ยวข้อง

การผสมเกสรเป็นหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการเพาะปลูกเมล่อนในโรงเรือน เนื่องจากโรงเรือนเป็นระบบปิด แมลงไม่สามารถเข้าไปภายในโรงเรือนเพื่อช่วยในการผสมเกสรได้ ดังนั้นจึงต้องมีการใช้แรงงานคนเข้ามาช่วยในขั้นตอนนี้ หลักการสำคัญของการผสมเกสรคือ ให้ทำการผสมเกสรในข้อที่ 9-12 เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไม่อย
การเกษตรเป็นเรื่องของทัศนคติและมุมมองความคิด เราต้องมองตลาดให้ออกทั้งความต้องการและปริมาณที่จะขาย ถึงจะเป็นเกษตรกรมืออาชีพ คุณสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เกษตรกรยุคใหม่ ทำการเกษตรแบบผสมผสานที่จะเป็นหนทางสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพชาวนาไทยตอนแรกคุณสุกรรณ์ ทำเกษตรอินทรีย์ที่กระแสกำลังมาแรงแบบสุดโต่ง ทำได้ 7 ปี
สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกเมล่อน ในช่วงอากาศร้อนในตอนกลางวัน สลับกับมีฝนตก ให้รีบสังเกตเมล่อนในแปลงว่าพบการเข้าทำลายของด้วงเต่าแตงแดงหรือไม ถึงแม้จะชื่อเรียกว่าด้วงเต่า แต่รูปร่างนั้นเป็นทรงกระบอก มีหนาวยาว ปีกคู่แรกแข็งเป็นมันสีแดงแสด ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชสร้างความเสียหายให้กับเมล่อนที่เราสามารถพบได้ทุกระยะ