พิชิตโรคราน้ำค้างในเมล่อน แบบไม่ต้องใช้สารเคมี ได้ผลดี 100%

โรคราน้ำค้าง หรือที่เกษตรกรเรียกว่า “โรคใบลาย” เป็นโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดโรคหนึ่งของเมล่อนและพืชวงศ์แตง ในประเทศไทยมีรายงานพบการระบาดของโรคนี้ในแหล่งปลูกพืชวงศ์แตงอยู่ทั่วโลก ในพื้นที่มีความชื้นและอุณหภูมิเหมาะต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา โรคราน้ำค้างมักจะเกิดขึ้นในเขตอบอุ่นและเขตร้อนชื้นที่มีปริมาณน้ำฝนและน้ำค้าง กับระยะเวลาที่จะก่อให้เกิดการระบาดของโรคขึ้นได้ ถ้าหากไม่มีวิธีการควบคุมโรค จะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงกับเมล่อนและพืชวงศ์แตงชนิดอื่นๆ ทั้งในสภาพการปลูกในแปลง และในสภาพโรงเรือน 

          เมล่อน เป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง ดังนั้นเราควรดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ ตลอดฤดูปลูกจนกระทั้งเก็บเกี่ยว ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าพืชอื่น เราจึงได้ยกประเด็น โรคราน้ำค้างในเมล่อน มาหาสาเหตุการเกิดโรค และแนะนำวิธีการป้องกันกำจัดแบบไม่ต้องใช้สารเคมี เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้เป็นหลักการในการแก้ปัญหาต่อไป จึงจะทำให้มีความคุ้มค่ากับการลงทุนของเกษตรกร

          โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis สามารถเข้าทำลายได้เฉพาะในพืชวงศ์แตง โดยลักษณะอาการ จะเกิดเป็นปื้นเหลืองบนใบ ด้านหลังของใบอาจมองเห็นกลุ่มของเส้นใยหรือมองไม่เห็นด้วยตา จากนั้นปื้นสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล โดยเริ่มเปลี่ยนจากกลางแผลออกไป ถ้าเกิดโรคในระยะกำลังให้ผล จะทำให้ความหวานในเมล่อนลดลง    

 โรคราน้ำค้างมักจะเกิดขึ้นในเขตอบอุ่นและเขตร้อนชื้นที่มีปริมาณน้ำฝนและน้ำค้างกับระยะเวลาที่จะก่อให้เกิดการระบาดของโรคขึ้นได้ สภาพอากาศเหมาะต่อการเจริญของเชื้อคือ อุณหภูมิ 16-22 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสูง หากเกษตรกรควบคุมการระบาดของโรคได้ไม่ดี จะส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคอย่างรวดเร็ว ทำให้ใบของเมล่อนแห้งและทำให้ต้นตาย ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงทั้งในสภาพการปลูกในแปลงเปิด และในสภาพโรงเรือน ส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย และรายได้ของเกษตรกรลดลง ดังนั้นเกษตรกรต้องหาวิธีการป้องกันกำจัดโรคนี้อย่างถูกต้อง และถูกวิธี 

        แต่ทุกท่านไม่ต้องถึงกับกุมขมับเครียดจนเกินไป ทางเราได้มีวิธีพิชิตโรคราน้ำค้างแบบไม่ใช้สารเคมี มาช่วยแนะวิธีการป้องกันโรคราน้ำค้างในเมล่อน ซึ่งสามารถทำได้โดย 

1. เว้นระยะปลูกไม่ให้ชิดกันมาก เพื่อระบายความชื้น 

2. หากพบใบเป็นโรคให้เด็ดออก โดยระวังการปลิวของสปอร์เชื้อรา 

3. การรดน้ำเมล่อนจากส่วนบนของทรงพุ่มลงด้านล่างของลำต้น หรือ ที่เรียกกันว่า ล้างใบพืช ในช่วงเช้า ควบคู่ไปกับการให้น้ำ เพื่อเป็นการล้างน้ำค้างออกจากใบพืช โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น หรือ น้ำค้างลงจัด

 4. หลังล้างใบพืชแล้วควรฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ ในอัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นจากบนลงล่าง คลุมให้ทั่วทรงพุ่มของพืช ทุกๆ 7-10 วัน เพียงเท่านี้ก็ช่วยแก้ปัญหาโรคราน้ำค้างที่เข้ามารบกวนพืชปลูกได้แล้ว 

5. ใช้น้ำส้มควันไม้สลับกับใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ เช่น บาซิลลัส ซับทิลิส อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นป้องกันเป็นระยะ หรือพ่นหลังจากเมื่อเด็ดใบที่เป็นโรคออกแล้วเพื่อป้องกันต้นอื่นติดโรค 

          ซึ่งเราการันตีว่าวิธีนี้ใช้กับเมล่อนแล้วได้ผลดีมาก เมื่อปฏิบัติเป็นประจำแล้วจะไม่มีปัญหาเรื่องโรคราน้ำค้างมารบกวนพืชปลูกได้อีกเลย ถ้าเกษตรกรทำการป้องกันกำจัดได้ถูกต้อง ถูกวิธี และใช้ตามอัตราที่แนะนำ ใช้ในเวลาที่เหมาะสม ก็จะสามารถพิชิตโรคราน้ำค้างแบบไม่ใช้สารเคมี ทำให้ลดต้นการผลิต แถมยังได้เพิ่มฐานกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อเมล่อนปลอดภัย ซึ่งกำลังเป็นกระแสของคนรักสุขภาพที่กำลังมองหาเมล่อนที่หอม หวาน อร่อย แถมยังปลอดภัยต่อการปริโภคพิชิต

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปรับขยายแปลงนา ได้พื้นที่นาปลูกข้าวเพิ่มขึ้นจากคันนาที่หายไป ประหยัดเวลาทำงาน ลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง อีกทั้งยังช่วยลดการสึกหรอของเครื่องจักรกลการเกษตรได้อีกด้วย พี่ลีณวัฒน์ คำภาเกะ นักปรับนามืออาชีพ ปรับมาแล้วกว่า 3,000 ไร่ บอกว่า การปรับขยายแปลงนานั้นใครๆ ก็ทำได้เพียงแค่มีแทรกเตอร์ แต่ทำได้ดี
ความรู้การเกษตรฉบับนี้จะพาทุกท่าน Go Inter มุ่งสู่แดนอาทิตย์อุทัย ประเทศญี่ปุ่น ไปดูกันว่าการเกษตรของประเทศซึ่งได้ชื่อว่า “เจ้าแห่งเทคโนโลยี” เค้าพัฒนาไประดับไหนกันแล้ว ก่อนอื่นคงต้องเล่าถึงลักษณะทั่วไปของประเทศ และการเกษตรของญี่ปุ่นกันก่อน ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้น
ศูนย์การเรียนรู้อีกแห่งที่เราอยากแนะนำก็คือ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ข้าว) ซึ่งอยู่ใกล้แค่จังหวัดสุพรรณบุรีนี่เอง ที่เกิดจากความตั้งใจของคุณสุกรรณ์ สังข์วรรณะ ที่นี่ได้เปิดพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่เกษตรกรทั่วไปรวมถึง