พลิกโฉมเกษตรเชิงท่องเที่ยว ด้วยค่าไฟเพียง 0 บาท

ปัจจุบันใครจะคิดว่าการทำเกษตรในเมืองกรุงนั้น จะสามารถสร้างรายได้หลักแสน ด้วยต้นทุนค่าไฟเพียง 0 บาทต่อเดือน วันนี้เรามาแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับ “พี่โบ้-วีระ สรแสดง”อดีตออแกไนซ์ที่สามารถเนรมิตพื้นที่ 9 ไร่ในย่านมีนบุรีให้เป็นเกษตรเชิงท่องเที่ยวในเมืองกรุงที่มีชื่อขนานนามว่า “Res-q-farm”

พี่โบ้ ได้กล่าวว่า “ในอดีตพื้นที่เดิมแห่งนี้เป็นพื้นที่รกร้างไม่เหมาะกับการทำฟาร์ม เนื่องจากเงื่อนไข 5 ประการ คือ ไม่มีแหล่งน้ำ พื้นที่ต่ำกว่าถนน 1.5 เมตร ไม่มีไฟฟ้า ดินไม่ดี เคมีไม่ใช้” ซึ่งจากบทสัมภาษณ์จะเห็นได้ว่าไม่มีทางเป็นไม่ได้เลยที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยระยะเวลาอันรวดเร็ว

แต่พี่โบ้ใช้ระยะในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้เพียง 4 ปีเท่านั้น จึงพลิกโฉม “Res-q-farm” ให้สมบูรณ์แบบเหมือนดั่งปัจจุบัน ซึ่งเรามาดูกันค่ะว่าพี่โบ้มีเคล็ดลับพิเศษหรือแนวคิดอย่างไรบ้างในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้

1.ไม่มีแหล่งน้ำในพื้นที่

จึงต้องเลือกใช้น้ำเสียจากคลองภายนอกที่อยู่ห่างจากพื้นที่ประมาณ 500 เมตรเข้ามาบำบัดภายในฟาร์ม โดยใช้วิธีเรียกหลักการนี้ว่า “เขื่อน ฝาย แก้มลิง และคลองไส้ไก่” ให้น้ำหมุนเวียนไปตามคลองไส้ไก่ควบคู่กับการใช้กังหันน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ในการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ เพียงเท่านี้ก็ได้น้ำดี ดีที่ขนาดมีปลาคาร์พอยู่ทุกบ่อ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดแสดงว่าน้ำที่ฟาร์มนี้คุณภาพดีพร้อมสำหรับการดูแลพืชในฟาร์ม

2.พื้นที่ต่ำกว่าถนน 1.5 เมตร

ทางฟาร์มเลือกที่จะไม่นำดินมาถมพื้นที่ให้สูงขึ้น เนื่องจากจะทำให้ต้นทุนสูง แต่กลับเลือกใช้หลักการบริหารพื้นที่ต่ำที่เรียกกว่า “น้ำรอระบาย”  คือ การกักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่สูง เมื่อฝนตกหนักหรือน้ำท่วมขังจึงทำการปล่อยน้ำลงสู่ที่ต่ำภายในฟาร์ม เพียงเท่านี้พื้นที่ปลูกพืชก็ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง

3.ไม่มีไฟฟ้า

เนื่องจากพี่โบ้ต้องการทดลองใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าในพื้นที่ขนาดเล็ก เพื่อนำไปปรับใช้ในพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งวิธีนี้ทำให้ฟาร์มแห่งนี้สามารถบริหารจัดการพื้นที่ 9 ไร่ โดยใช้ต้นทุนค่าไฟเพียง 0 บาทเท่านั้นนั่นเอง

4.ดินไม่ดี

พื้นที่เดิมเป็นหนองน้ำ หากพื้นที่ชุ่มเกินไปดินจะเละ แต่ถ้าหากแห้งเกินไปทำให้กลายเป็นดินเหนียว คุณสมบัติดินดังกล่าวไม่เหมาะกับการเพาะปลูกพืช ทำให้ทางฟาร์มเลือกวิธีการปลูกพืชใส่ถุง ลงกระถาง และวางกระบะ แทนการลงดินเท่านั้น

5.เคมีไม่ใช้

Res-q-farmวางเป้าหมายในการผลิตพืชผักให้เป็นเกษตรอินทรีย์ ทางฟาร์มจึงเลือกใช้วิธีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยการสร้างแหล่งอาหารให้กับแมลงศัตรูพืชรอบๆพื้นที่ปลูก และใช้สมุนไพรที่มีสารขับไล่แมลงศัตรูพืชรอบๆพื้นที่ปลูก ด้วยวิธีนี้ทำให้การดูแลผักภายในฟาร์มไม่ต้องใช้สารเคมีในการดูแลพืชแม้แต่นิดเดียว

นอกจากนั้นจุดเด่นของฟาร์มแห่งนี้อีกข้อหนึ่ง คือ วิธีการสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆภายในฟาร์มแห่งนี้ด้วยตนเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพัดลมไฟฟ้า แผลงโซล่าร์เซลล์ สะพานโป๊ะ หรือกังหันน้ำ เป็นต้น และขอบอกเลยนะคะว่า สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้นั้นถูกสร้างขึ้นมากจากของเหลือใช้(ขยะ)ทั้งหมด 

จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าถ้าหาก เรามองเห็นปัญหาที่เกิดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เพียงแค่เรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาก็สามารถจะประสบความสำเร็จ ได้อย่าง Res-q-farm เหมือนดั่งทุกวันนี้

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันแรงงานคนในภาคการเกษตรไทยนั้นมีจำนวนน้อยลง และประสิทธิภาพจากการทำงานของแรงงานคนต่ำลง จึงได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และยังช่วยในการควบคุมต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย โดยเทคโนโลยีสมัย
ดินลูกรัง (Skeletal soils)หมายถึง ดินที่พบชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือชั้นหินพื้นในระดับตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย อาจพบกรวด หินมนเล็ก หรือเศษหินปะปน จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินลูกรังเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ความรู้การเกษตรฉบับนี้จะพาทุกท่าน Go Inter มุ่งสู่แดนอาทิตย์อุทัย ประเทศญี่ปุ่น ไปดูกันว่าการเกษตรของประเทศซึ่งได้ชื่อว่า “เจ้าแห่งเทคโนโลยี” เค้าพัฒนาไประดับไหนกันแล้ว ก่อนอื่นคงต้องเล่าถึงลักษณะทั่วไปของประเทศ และการเกษตรของญี่ปุ่นกันก่อน ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้น