ผสมเกสรเมล่อนอย่างไรให้ติดผล

การผสมเกสรเป็นหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการเพาะปลูกเมล่อนในโรงเรือน เนื่องจากโรงเรือนเป็นระบบปิด แมลงไม่สามารถเข้าไปภายในโรงเรือนเพื่อช่วยในการผสมเกสรได้ ดังนั้นจึงต้องมีการใช้แรงงานคนเข้ามาช่วยในขั้นตอนนี้

       หลักการสำคัญของการผสมเกสรคือ ให้ทำการผสมเกสรในข้อที่ 9-12 เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไม่อยู่ต่ำเกินไป จนผลเมล่อนห้อยติดพื้น และไม่สูงเกินไปจนได้รับสารอาหารไม่เต็มที่ โดยต้องทำการผสมเกสรดอกตัวเมียทุกดอกที่บาน และช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการผสมเกสร คือ 06.00 – 10.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงที่อุณหภูมิต่ำ จะส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การผสมเกสรติดผลเพิ่มขึ้นนั่นเอง

วิธีการผสมเกสรจะต้องนำละอองเกสรตัวผู้ไปผสมในดอกตัวเมีย ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ 2 วิธี คือ

1.  การผสมดอกต่อดอก

2.  ใช้พู่กันในการช่วยผสม

เทคนิค

  • การผสมเกสรจะใช้ดอกตัวผู้ผสมซ้ำ 3 ดอก ต่อดอกตัวเมีย 1 ดอก  
  • ช่วงผสมเกสรให้หยุดการฉีดพ่นสารอาหารและสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตั้งแต่เริ่มผสมเกสรดอกแรกไปประมาณ 7 วัน

เทคนิคการสังเกตดอกเมล่อน

ดอกตัวผู้ คือ ดอกจะขึ้นตามข้อ เกิดเป็นกระจุกหลายดอก ส่วนของฐานดอกไม่มีกระเปาะ
ดอกตัวเมีย คือ ดอกจะที่บริเวณกิ่งแขนง ฐานรองดอกจะมีลักษณะกลมรี เป็นกระเปาะผลเห็นชัดเจน

หลังจากทำการผสมเกสรแล้ว 1-2 วัน  ถ้าผสมติดกระเปาะผลจะขยายใหญ่ขึ้นและเจริญเติบโตเป็นผลในที่สุด แต่ถ้าหากกระเปาะผลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองแสดงว่าผสมไม่ติด ให้หาสาเหตุและวิธีการแก้ไขในการผสมดอกถัดไปทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการใช้โดรนในด้านการเกษตรนั้น ได้นำโดรนมาใช้เป็นเครื่องมือในการพ่นปุ๋ยหรือสารเคมีทางการเกษตร สารกำจัดศัตรูพืช และการทำแผนที่เพื่อการเกษตร โดยการใช้โดรนเพื่อช่วยในด้านการเกษตรจะทำให้เกษตรกรประหยัดแรงงานและสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งประหยัดเวลามากกว่าการใช้แรงงานคน โดยเฉพาะการใช้โดรนเพื่อพ่น
ปัจจุบันโดรนการเกษตรเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยอย่างแพร่พลาย เนื่องจากสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานและช่วยประหยัดเวลาในขั้นตอนการดูแลรักษาพืชได้อีกด้วย การใช้โดรนในการดูแลรักษาพืชนั้นส่วนใหญ่จะเน้นเป็นการพ่นสารป้องกันกำจัดโรค แมลง และให้อาหารเสริมทางใบแก่พืช โดยนิยมใช้กับพืชหลักเศรษฐกิจ เช่น ข้าว
การเพาะเมล็ด เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อการเพาะปลูกเมล่อนเนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ทำให้ต้นกล้ามีความแข็งแรงเมื่อย้ายลงแปลงปลูกต้นกล้าจะสามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วซึ่งก่อนการเพาะเมล็ดนั้นต้องทำ “ การบ่มเมล็ด ” เพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ดและ