ความลับของอาการผลแตกในเมล่อน

เมื่อ “เมล่อน” เข้าสู่ระยะติดผล มักจะเกิดอาการชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ผลแตก” ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตของเกษตรได้ภายในเวลาเพียงข้ามคืนเลยทีเดียว

แล้วทุกท่านสงสัยไหมว่า ผลแตกนั้นเกิดจากสาเหตุใด?

วันนี้เราได้หาคำตอบมาให้กับผู้อ่านทุกท่านแล้ว โดยปัจจัยหลักคือ การควบคุมปริมาณการให้น้ำในระยะที่เมล่อนเริ่มพัฒนาผลซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการเพาะปลูกเมล่อน หากมีการให้น้ำในปริมาณที่มากเกินไป ควบคู่กับในช่วงฤดูปลูกเกิดการแปรปรวนของสภาพอากาศกะทันหัน ทำให้ความชื้นในแปลงปลูกและในอากาศมีสูง จะส่งผลให้เปลือกเมล่อนเริ่มเกิดอาการปริแตกและระเบิดในที่สุด

ดังนั้นวิธีป้องกันอาการผลแตกควรปฏิบัติอย่างไร?

วิธีที่ 1 สำหรับเมล่อนที่มีลวดลายให้ทำการสังเกตุที่บริเวณรอยแตกของลวดลายในช่วงที่เริ่มขยายผล หากพบว่าเปลือกเริ่มแสดงอาการปริแตกหรือบิรเวณรอยนูนของลวดลายมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ให้ทำการลดปริมาณน้ำทันทีจนบริเวณดังกล่าวไม่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 

วิธีที่ 2การฉีดพ่นอาหารเสริมหลังจากเมล่อนติดผล เนื่องจากในช่วงเมล่อนผิวเรียบผนังเซลล์ของผลเมล่อนยังบอบบางและไม่แข็งแรงทำให้เกิดอาการผลแตกได้ ดังนั้นหากทำการฉีดพ่นอาหารเสริมประเภทแคลเซียม และโบรอนในช่วงเวลาดังกล่าวจะช่วยให้ผนังเซลล์ของผลแข็งแรงขึ้นและลดการเกิดความเสียหายจากอาการผลแตกได้ โดยควรทำการฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน ในช่วงเวลาแดดไม่ร้อนจัด และควรงดการฉีดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์

และที่สำคัญ คือ หมั่นสังเกตุอาการผิดปกติในแปลงปลูก เนื่องจากเมื่อพบอาการผิดปกติต่างๆในระยะเริ่มต้นจะทำให้เราสามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ทันเวลา และลดการเกิดความเสียหายกับผลผลิตได้นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

“Plant factory” หรือ “โรงงานผลิตพืช” คือผลผลิตของความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีหลากหลายสาขามาประยุกต์ใช้เพื่อพลิกโฉมการปลูกพืชจากดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ มาสู่การปลูกในระบบปิดที่ควบคุมสภาพแวดล้อม ทำให้ปลอดภัยสูง ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง มีปริมาณผลผลิตที่คงที่ และยังสามารถปลูกได้ทั้งปีโดยไม่ขึ้นกับฤดู
การให้นํ้าแบบหยด (Drip or Trickle Irrigation) การให้นํ้าแบบหยด นับเป็นวิธีการให้นํ้าที่คิดค้นขึ้นมาหลังการให้นํ้าแบบอื่นๆ และกําลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทั้งในเขตแห้งแล้งและเขตที่มีลักษณะดินเป็นดินทราย เพราะระบบการให้นํ้าแบบนี้มีการสูญเสียนํ้าน้อยมาก วิธีการให้นํ้าแบบหยดเป็นการให้นํ้าแก่พืชเป็นจุดๆ
น้ำเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดแต่ความต้องการใช้น้ำกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนประชากรและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการใช้น้ำสำหรับผลิตอาหารและพลังงานซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำสะอาดที่ใช้ในการบริโภคทั้งหมดของโลก แต่ปัจจุบันแหล่งน้ำสะอาด