ระบบการให้นํ้าแบบหยด ตัวช่วยในการเกษตร

การให้นํ้าแบบหยด (Drip or Trickle Irrigation)

การให้นํ้าแบบหยด นับเป็นวิธีการให้นํ้าที่คิดค้นขึ้นมาหลังการให้นํ้าแบบอื่นๆ และกําลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทั้งในเขตแห้งแล้งและเขตที่มีลักษณะดินเป็นดินทราย เพราะระบบการให้นํ้าแบบนี้มีการสูญเสียนํ้าน้อยมาก วิธีการให้นํ้าแบบหยดเป็นการให้นํ้าแก่พืชเป็นจุดๆ หรือหลายจุดขึ้นอยู่กับขนาดและความต้องการของพืช การให้นํ้าแบบนี้พืชจะได้รับนํ้าสมํ่าเสมอตลอดโดยรักษาความชื้นในดินให้อยู่ในระดับความชื้นชลประทาน (Field Capacity) ตลอดเวลา 

แปลนการให้นํ้าแบบหยด (Drip or Trickle Irrigation)

โดยทั่วไปมีหลักการและลักษณะที่สําคัญของระบบ ดังนี้

1) ให้นํ้ากับพืชเป็นจุดหรือหลายจุด

2) ส่งนํ้าไปตามท่อ แล้วปล่อยออกที่หัวจ่ายนํ้า (หัวหยด)

3) หัวจ่ายนํ้าจะวางบริเวณโคนของต้นพืช

4) หัวจ่ายนํ้าจะจ่ายนํ้าเท่าๆ กันทุกหัว โดยตัวปรับแรงดันนํ้า

5) นํ้าที่ออกจากหัวจ่ายนํ้าจะต้องผ่านการกรองตะกอนมาก่อน เพื่อป้องกันการอุดตันที่หัวหยด

6) เหมาะกับดินและพืชเกือบทุกชนิด (ไม่เหมาะกับพืชที่ปลูกแบบการหว่านเมล็ด)

7) ปรับอัตราการจ่ายนํ้าได้ ตามชนิดและขนาดของพืช

การติดตั้งการให้นํ้าแบบหยด (Drip or Trickle Irrigation) อย่างง่าย
การติดตั้งระบบนํ้าหยดในแปลงเพาะปลูก

ส่วนประกอบหลักของการให้นํ้าแบบหยด

องค์ประกอบหลักๆ ของการให้นํ้าแบบหยด มีดังนี้คือ

1. เครื่องสูบนํ้าหรือถังจ่ายนํ้าในที่สูง (Water Pump) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งนํ้าให้กับระบบ นํ้าหยดและใช้ในการสร้างแรงดันที่เหมาะแก่ระบบ ในกรณีของระบบนํ้าหยดจะแตกต่างไปจากระบบสปริงเกลอร์ เนื่องจากระบบนํ้าที่ใช้แรงดันตํ่า 

2. ท่อประธาน (Main Line) ท่อประธานหรือท่อเมน เป็นท่อหลักของระบบนํ้า ทําหน้าที่ส่งนํ้าไปยังพื้นที่รับประโยชน์ต่างๆโดยส่งไปยังท่อรองประทาน (Sub-Main Line) และท่อแขนง (Lateral) 

3. ท่อรองประธาน (Sub-Main Line) เป็นท่อที่ต่อแยกจากท่อประธาน เพื่อแบ่งการควบคุมออกเป็นส่วนๆ มีหน้าที่คือรับนํ้าจากท่อประธาน แล้วแยกส่งนํ้าไปยังท่อแขนง (Lateral) หากระบบไม่ใหญ่ก็ไม่จําเป็นต้องมีก็ได้ ใช้เพียงท่อประธานและท่อแขนง 

4. ท่อแยกจ่ายนํ้าหรือท่อแขนง (Lateral Line) ต่อจากท่อประธานหรือรองประธาน มีหน้าที่คือรับนํ้าจากท่อประธานหรือท่อรองประธานแล้วปล่อยนํ้าลงพื้นที่ส่วนต่างๆ เลือกตามปริมาณความต้องการนํ้าของพื้นแต่ละชนิด ท่อพีวีซีจะเหมาะกับความต้องการปริมาณนํ้ามาก ส่วนท่อพีอีจะเหมาะกับความต้องการปริมาณนํ้าไม่มากนัก 

5. หัวจ่ายนํ้าหรือหัวหยด (Dripper or Emitter) มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น Drippers Emitter Trickle ส่วนมากมักจะเรียกว่า Emitter มีหน้าที่จ่ายนํ้าและควบคุมอัตราการจ่ายนํ้า หัวจ่ายนํ้ามีหลายแบบ เช่น แบบปรับแรงดัน แบบธรรมดา แบบปรับอัตราการไหลให้มากหรือน้อยตามความต้องการโดยมีอัตราการไหล             1 – 12 ลิตรต่อชั่วโมง ที่นิยมใช้กันมากคือ 2, 4 และ8 ลิตรต่อชั่วโมง 

6. เครื่องกรองตะกอนในนํ้า (Water Filter) มีหน้าที่กรองตะกอนต่างๆ ที่ติดมากับนํ้า เพื่อป้องกันการอุดตันของหัวหยด ท่อแขนง และอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องกรองนํ้าถือว่าเป็นอุปกรณ์สําคัญอย่างมากในระบบนํ้าหยด เพราะประสิทธิภาพการให้นํ้าของระบบจะสูงแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ชิ้นนี้ เครื่องกรองนํ้าในระบบหยดมีหลายชนิด ที่นิยมใช้กันมากได้แก่ เครื่องกรองนํ้าแบบทรายกรอง (Sand Filter) แบบแผ่นดิสก์ (Disc Filter) และแบบตะแกรง (Surface Filter)

7. อุปกรณ์ควบคุมความดัน (Pressure Regulator, PR) ทําหน้าที่ควบคุมแรงดันนํ้าภายในท่อแขนงให้คงที่และสมํ่าเสมอ ทําให้แรงดันภายในท่อไม่มากเกินกําหนด นํ้าหยดที่หัวหยดสมํ่าเสมอ ทั้งต้นท่อและปลายท่อ

8. อุปกรณ์ควบคุมและป้องกันระบบต่างๆ

  • อุปกรณ์ระบายอากาศ หรือไล่ลมในท่อ (Air Release Valve) 
  • อุปกรณ์ป้องกันการไหลกลับของนํ้า (Check Valve
  • อุปกรณ์วัดอัตราการไหลของนํ้า (Water Meter) 
  • ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (Electric Controllers) 
  • อุปกรณ์เพิ่มเติมสําหรับหัวนํ้าหยดและท่อนํ้าหยด เช่น วาล์วระบายลมปลายสายอุปกรณ์ต่อแยกหัวนํ้าหยด ห่วงแขวนท่อแขนง ปลักอุดรูท่อ เป็นต้น

การเลือกใช้ระบบการให้นํ้าแบบหยด โดยทั่วไปมีหลักการพิจารณา คือ

  1. แหล่งนํ้าที่มีอยู่มีปริมาณนํ้าน้อย ปริมาณไม่พอเพียงต่อการใช้ในระบบอื่นๆ
  2. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อนํ้าชลประทานในราคาสูง
  3. มีพื้นที่เพาะปลูกอย่างจํากัดและต้องการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด เช่น การปลูกพืชในโรงเรือนฯ
  4. เนื้อดินเป็นดินที่ไม่สามารถ ให้นํ้าแบบทางผิวดินได้
  5. พื้นที่นั้นๆ มีสภาพแดดจัดและลมแรงตลอดทั้งปี ไม่เหมาะที่จะให้นํ้าแบบฉีดฝอย
  6. มีปัญหาเรื่องแรงงานขาดแคลน

ข้อดีและข้อจํากัดของการให้นํ้าแบบหยด

ข้อดี

  • ประสิทธิภาพการให้นํ้าสูงกว่าแบบอื่นๆ
  • ค่าใช้จ่ายในการให้นํ้าแต่ละครั้งน้อย
  • สามารถให้ปุ๋ ยและสารเคมีไปพร้อมกับนํ้าได้ ทําให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย
  • มีปัญหาเรื่องการระบาดของโรคและแมลงน้อยกว่าการให้นํ้าแบบอื่นๆ
  • ลดปัญหาการแพร่กระจายของวัชพืชลงได้มาก
  • ปัญหาลมแรงไม่เป็ นอุปสรรคต่อการให้นํ้า
  • ไม่ต้องใช้ระบบส่งนํ้าขนาดใหญ่หรือเครื่องสูบนํ้าแรงดันสูง
  • จัดการเป็นระบบอัตโนมัติได้ง่าย
  • การสูญเสียนํ้าจากการระเหยและซึมเลยเขตรากพืชมีน้อย

ข้อจํากัด

  • มักมีปัญหาเรื่องการอุดตันที่หัวจ่ายนํ้าถ้าหากนํ้านั้นมีหินปูนตะกอนในนํ้าผสมอยู่มาก
  • อาจจะมีการสะสมของเกลือได้ หากมีปริมาณฝนน้อยในปีนั้นๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการใช้โดรนในด้านการเกษตรนั้น ได้นำโดรนมาใช้เป็นเครื่องมือในการพ่นปุ๋ยหรือสารเคมีทางการเกษตร สารกำจัดศัตรูพืช และการทำแผนที่เพื่อการเกษตร โดยการใช้โดรนเพื่อช่วยในด้านการเกษตรจะทำให้เกษตรกรประหยัดแรงงานและสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งประหยัดเวลามากกว่าการใช้แรงงานคน โดยเฉพาะการใช้โดรนเพื่อพ่น
การปรับระดับดินนา โดยเครื่องจักรกลปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ (Laser land leveling) เครื่องจักรกลปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ มีการพัฒนามาแล้วกว่า 30 ปี ในการปรับระดับดิน เพื่อการจัดการน้ำให้กระจายทั่วถึงทั้งแปลงและระบายออก โดยเครื่องมือในการปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ มีองค์ประกอบหลัก คือ
การผลิตมะเขือเทศให้ประสบความสำเร็จ เกษตรกรควรมีการวางแผนตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการผลิต เริ่มจากการเตรียมเมล็ด การเพาะกล้า การย้ายปลูก การดูแลรักษา จนถึงเก็บเกี่ยว นอกจากที่เราจะปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนแล้ว เรายังมีเทคนิคการเพิ่มผลผลิตมะเขือ ทำให้มะเขือเทศผลิตผลที่อวบอิ่มมีสีสันสดใสน่ากิน และ