พลิกโฉมเกษตรเชิงท่องเที่ยว ด้วยค่าไฟเพียง 0 บาท

ปัจจุบันใครจะคิดว่าการทำเกษตรในเมืองกรุงนั้น จะสามารถสร้างรายได้หลักแสน ด้วยต้นทุนค่าไฟเพียง 0 บาทต่อเดือน วันนี้เรามาแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับ “พี่โบ้-วีระ สรแสดง”อดีตออแกไนซ์ที่สามารถเนรมิตพื้นที่ 9 ไร่ในย่านมีนบุรีให้เป็นเกษตรเชิงท่องเที่ยวในเมืองกรุงที่มีชื่อขนานนามว่า “Res-q-farm”

พี่โบ้ ได้กล่าวว่า “ในอดีตพื้นที่เดิมแห่งนี้เป็นพื้นที่รกร้างไม่เหมาะกับการทำฟาร์ม เนื่องจากเงื่อนไข 5 ประการ คือ ไม่มีแหล่งน้ำ พื้นที่ต่ำกว่าถนน 1.5 เมตร ไม่มีไฟฟ้า ดินไม่ดี เคมีไม่ใช้” ซึ่งจากบทสัมภาษณ์จะเห็นได้ว่าไม่มีทางเป็นไม่ได้เลยที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยระยะเวลาอันรวดเร็ว

แต่พี่โบ้ใช้ระยะในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้เพียง 4 ปีเท่านั้น จึงพลิกโฉม “Res-q-farm” ให้สมบูรณ์แบบเหมือนดั่งปัจจุบัน ซึ่งเรามาดูกันค่ะว่าพี่โบ้มีเคล็ดลับพิเศษหรือแนวคิดอย่างไรบ้างในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้

1.ไม่มีแหล่งน้ำในพื้นที่

จึงต้องเลือกใช้น้ำเสียจากคลองภายนอกที่อยู่ห่างจากพื้นที่ประมาณ 500 เมตรเข้ามาบำบัดภายในฟาร์ม โดยใช้วิธีเรียกหลักการนี้ว่า “เขื่อน ฝาย แก้มลิง และคลองไส้ไก่” ให้น้ำหมุนเวียนไปตามคลองไส้ไก่ควบคู่กับการใช้กังหันน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ในการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ เพียงเท่านี้ก็ได้น้ำดี ดีที่ขนาดมีปลาคาร์พอยู่ทุกบ่อ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดแสดงว่าน้ำที่ฟาร์มนี้คุณภาพดีพร้อมสำหรับการดูแลพืชในฟาร์ม

2.พื้นที่ต่ำกว่าถนน 1.5 เมตร

ทางฟาร์มเลือกที่จะไม่นำดินมาถมพื้นที่ให้สูงขึ้น เนื่องจากจะทำให้ต้นทุนสูง แต่กลับเลือกใช้หลักการบริหารพื้นที่ต่ำที่เรียกกว่า “น้ำรอระบาย”  คือ การกักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่สูง เมื่อฝนตกหนักหรือน้ำท่วมขังจึงทำการปล่อยน้ำลงสู่ที่ต่ำภายในฟาร์ม เพียงเท่านี้พื้นที่ปลูกพืชก็ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง

3.ไม่มีไฟฟ้า

เนื่องจากพี่โบ้ต้องการทดลองใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าในพื้นที่ขนาดเล็ก เพื่อนำไปปรับใช้ในพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งวิธีนี้ทำให้ฟาร์มแห่งนี้สามารถบริหารจัดการพื้นที่ 9 ไร่ โดยใช้ต้นทุนค่าไฟเพียง 0 บาทเท่านั้นนั่นเอง

4.ดินไม่ดี

พื้นที่เดิมเป็นหนองน้ำ หากพื้นที่ชุ่มเกินไปดินจะเละ แต่ถ้าหากแห้งเกินไปทำให้กลายเป็นดินเหนียว คุณสมบัติดินดังกล่าวไม่เหมาะกับการเพาะปลูกพืช ทำให้ทางฟาร์มเลือกวิธีการปลูกพืชใส่ถุง ลงกระถาง และวางกระบะ แทนการลงดินเท่านั้น

5.เคมีไม่ใช้

Res-q-farmวางเป้าหมายในการผลิตพืชผักให้เป็นเกษตรอินทรีย์ ทางฟาร์มจึงเลือกใช้วิธีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยการสร้างแหล่งอาหารให้กับแมลงศัตรูพืชรอบๆพื้นที่ปลูก และใช้สมุนไพรที่มีสารขับไล่แมลงศัตรูพืชรอบๆพื้นที่ปลูก ด้วยวิธีนี้ทำให้การดูแลผักภายในฟาร์มไม่ต้องใช้สารเคมีในการดูแลพืชแม้แต่นิดเดียว

นอกจากนั้นจุดเด่นของฟาร์มแห่งนี้อีกข้อหนึ่ง คือ วิธีการสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆภายในฟาร์มแห่งนี้ด้วยตนเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพัดลมไฟฟ้า แผลงโซล่าร์เซลล์ สะพานโป๊ะ หรือกังหันน้ำ เป็นต้น และขอบอกเลยนะคะว่า สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้นั้นถูกสร้างขึ้นมากจากของเหลือใช้(ขยะ)ทั้งหมด 

จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าถ้าหาก เรามองเห็นปัญหาที่เกิดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เพียงแค่เรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาก็สามารถจะประสบความสำเร็จ ได้อย่าง Res-q-farm เหมือนดั่งทุกวันนี้

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันแรงงานคนในภาคการเกษตรไทยนั้นมีจำนวนน้อยลง และประสิทธิภาพจากการทำงานของแรงงานคนต่ำลง จึงได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และยังช่วยในการควบคุมต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย โดยเทคโนโลยีสมัย
มะเขือเทศเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันมากในโรงเรือน เป็นพืชประเภทผลเบอรี่ มีผิวเปลือกบาง ไม่สามารถแยกออกจากเนื้อผลได้ แม้ว่าช่วงนี้เราจะไม่พบโรคพืชหรือแมลงศัตรูพืชของมะเขือเทศในโรงเรือน แต่ในช่วงที่ผลมะเขือเทศกําลังขยายตัว และระยะเก็บเกี่ยว มักจะพบว่าผลมะเขือเทศมีอาการก้นผลเน่า ทําให้ผลผลิตเสีย
จากการสำรวจพื้นที่ และหาข้อมูลประกอบด้านต่าง ๆ จึงกำหนดขนาดสระที่จะดำเนินการขุด ด้วยรถขุดคูโบต้า รุ่น KX080-3 ขนาด 8 ตัน ให้มีพื้นที่กักเก็บน้ำขนาด 40x20x2.5 เมตร ความสูงของคันดินขอบสระ 1.5 เมตร ความกว้าง 5 เมตร และความจุสระประมาณ 1,350 ลูกบาศก์เมตร สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มสุดของ