ปรับแนวคิดสู่การเป็นเกษตรกรมืออาชีพ

การเกษตรเป็นเรื่องของทัศนคติและมุมมองความคิด เราต้องมองตลาดให้ออกทั้งความต้องการและปริมาณที่จะขาย ถึงจะเป็นเกษตรกรมืออาชีพ คุณสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เกษตรกรยุคใหม่ ทำการเกษตรแบบผสมผสานที่จะเป็นหนทางสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพชาวนาไทยตอนแรกคุณสุกรรณ์ ทำเกษตรอินทรีย์ที่กระแสกำลังมาแรงแบบสุดโต่ง ทำได้ 7 ปี พบว่าไม่คุ้ม เนื่องจากสภาพดินที่สุพรรณบุรี ยังขาดธาตุอาหารบางชนิด และมีการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช จึงหันมาทำเกษตรแบบปลอดภัย ใช้ปุ๋ย และสารเคมีในปริมาณที่เหมาะ

ทำการเกษตรผสมผสานและปลูกพืชแบบปลอดภัย ไม่ปลูกพืชอย่างเดียว ที่ลุมทำนา ที่สูงปลูกอ้อยและพืชไร่ ทั้งปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด แตงโมง เลี้ยงโคกระบือ ขุดบ่อเลี้ยงปลา เป็นต้น แต่ก็ยังเจอปัญหาในการทำเกษตร นั้นคือเรื่องน้ำ เพราะว่าอยู่พื้นที่นอกเขตชลประทาน จึงขุดบ่อน้ำและบริหารจัดการน้ำด้วยตนเอง โดยบริหารจัดการน้ำ 100,000 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ขุดบ่อน้ำลึกประมาณ 3 เมตร เลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์น้ำ

ก่อนที่ทำการปลูกพืชหรือก่อนใส่ปุ๋ยในแปลง จะเก็บตัวอย่างดินในแปลงนั้นไปวิเคราะห์ดิน เพื่อทราบความอุดมสมบูรณ์ของดิน ณ ขณะนั้น และใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินหรือปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยเท่าที่จำเป็น (พอดี) กับความต้องการของพืช ถูกชนิด และถูกอัตรา ลดผลกระทบจากการใช้ปุ๋ยไม่ถูกต้อง ทำให้ข้าวที่ปลูกตามฤดูกาล ได้ผลผลิต 75-100 กิโลกรัม/ไร่

“โลกเปลี่ยนแล้ว การเกษตรต้องเปลี่ยน ผมจึงหันมาทำเกษตรในรูปแบบเศรษฐกิจหรือเกษตรอุตสาหกรรม เช่าพื้นที่ทำไร่อ้อย ทำนา 300 ไร่ ขยายเพิ่มเป็น 700 ไร่ ในวันนี้ซื้ออุปกรณ์ ลงทุนด้านเทคโนโลยีจำพวกเครื่องจักรกลการเกษตรมาแทนแรงงานคน ปลูกข้าว นำข้าวเปลือกสีเป็นข้าวสารขายเอง จนมาแปรรูปข้าวไรท์เบอร์รี สีเอง บรรจุแพ็คขายเอง กำหนดราคาเอง หักต้นทุนแล้วเราอยู่ได้อย่างสบาย” คุณสุกรรณ์กล่าวยังแนะนำให้ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย การคิดต้นทุน กำไรให้ถูกต้อง ตั้งแต่ค่าเช่า ค่าแรงงาน ค่าเมล็ดพันธุ์     ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าน้ำ เป็นต้น จะทำให้เราทราบได้เลยว่าส่วนไหนเกินความจำเป็น

การทำการเกษตรแบบผสมผสาน จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดจากภัยพิบัติและความไม่แน่นอนของราคาผลผลิต โดยการทำการเกษตรหลายๆ อย่างเพื่อเพิ่มรายได้ สามารถหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นาได้มากขึ้น สร้างความสมดุลย์ให้กับธรรมชาติ ทำให้ระบบนิเวศดีขึ้น เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและมีความมั่นคงในการที่จะประกอบอาชีพการเกษตรต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

การผลิตมะเขือเทศให้ประสบความสำเร็จ เกษตรกรควรมีการวางแผนตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการผลิต เริ่มจากการเตรียมเมล็ด การเพาะกล้า การย้ายปลูก การดูแลรักษา จนถึงเก็บเกี่ยว นอกจากที่เราจะปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนแล้ว เรายังมีเทคนิคการเพิ่มผลผลิตมะเขือ ทำให้มะเขือเทศผลิตผลที่อวบอิ่มมีสีสันสดใสน่ากิน และ
เมล่อน เป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง มีโรคหลายชนิดที่พบทั่วไปในการปลูก เมล่อน ทาให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ได้คุณภาพผลตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้นการปลูกเมล่อนจึงต้องดูแลละเอียด ตลอดฤดูปลูก ทาให้มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าพืชอื่น เราจึงต้องให้ความสาคัญในการรู้จักโรคและการป้องกันกาจัดโรคที่
เมลอน เป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง มีโรคหลายชนิดที่พบทั่วไปในการปลูกเมลอน ทำให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ได้คุณภาพผลตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้น การปลูกเมลอน จึงต้องดูแลอย่างละเอียดตลอดฤดูการปลูก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าพืชอื่นๆ ความสำคัญในการรู้จักโรคและการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคที่