ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ลดต้นทุนค่าปุ๋ย ด้วยการใช้รถหยอดข้าว ณ กลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านพระแก้ว อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

ที่ผ่านมาวิธีการปลูกข้าวที่เกษตรกรนิยม คือ การทำนาหว่าน เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว แต่จะมีการใช้เมล็ดพันธุ์จำนวนมาก ส่งผลให้ต้นทุนการปลูกข้าวสูง รวมถึงมีการกำจัดวัชพืชและบำรุงรักษาได้ยาก ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง แต่ในปัจจุบัน เกษตรกรเริ่มหันมาใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการปลูกข้าวกันมากขึ้น เนื่องจากประหยัดเวลา ลดต้นทุนการเพาะปลูก ทั้งการใช้เมล็ดพันธุ์และการจ้างแรงงานคน อีกทั้งยังได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตดีในฤดูกาลถัดไป

ทั้งนี้ สยามคูโบต้า ได้นำองค์ความรู้การปลูกข้าวด้วยวิธี KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร  โดยการใช้รถหยอดข้าวไปเผยแพร่ให้แก่เกษตรกรในหลายพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต ซึ่งหนึ่งในพื้นที่ที่เข้าไปช่วยส่งเสริมการปลูกข้าวให้แก่เกษตรกร คือ กลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านพระแก้ว จ.ชัยนาท

คุณสมพิษ อ่วมสุข เกษตรกรวัย 64 ปี  อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เผยว่า ก่อนหน้านี้ตนเองนิยมปลูกข้าวด้วยวิธีหว่าน เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว งานเสร็จไว และใช้คนน้อย แต่ในขั้นตอนการดูแลรักษา ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะต้นข้าวขึ้นสูงเบียดเสียดกันแน่น ไม่เป็นระเบียบ กระทั่งในปี 2559 ทางสยามคูโบต้าได้เข้ามาส่งเสริมการปลูกข้าวในพื้นที่ของตนเอง เพราะมีการรณรงค์ให้เกษตรกรมีการใช้เมล็ดพันธุ์อย่างคุ้มค่า โดยเปลี่ยนจากการทำนาหว่านที่คุ้นเคยมากว่า 40 ปี มาเป็นการใช้รถหยอดข้าว ซึ่งตอนแรกยอมรับว่าไม่คุ้นชินกับวิธีนี้ เพราะมีการใช้เครื่องจักรกลน่าจะเพิ่มความยุ่งยาก แต่ได้เห็นเจ้าหน้าที่มาสาธิตและสอนการใช้ จึงสนใจและได้เริ่มปรับเปลี่ยนวิถีการทำนาแบบเดิมๆ มาเป็นวิธีนี้ และล่าสุดในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีการใช้รถหยอดข้าวในพื้นที่นาของตนเองทั้งหมดกว่า 35 ไร่

“สาเหตุหลักๆ ที่ผมเปลี่ยนมาใช้รถหยอดข้าว เพราะว่าต้นข้าวเป็นแถวเป็นแนวดี บำรุงรักษาได้ง่าย และต้นข้าวไม่ต้องแย่งปุ๋ยเวลาเจริญเติบโต ส่งผลให้ความสูงของต้นข้าวสม่ำเสมอกัน และที่สำคัญยังช่วยประหยัดต้นทุนได้เกือบเท่าตัว โดยเฉพาะต้นทุนเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเมื่อก่อนผมทำนาหว่านจะใช้เมล็ดพันธุ์ 25 ก.ก. /ไร่ แต่พอเปลี่ยนมาใช้รถหยอดข้าวใช้เมล็ดพันธุ์ไปเพียง 7 ก.ก./ไร่ ถ้าคิดเป็นเงินก็ลดลงมาประมาณ 1,500 บาท/ไร่ ซึ่งคิดดูแล้ว ผมมองว่าคุ้มค่ามากครับ”

คุณสมพิษ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จากความสำเร็จในครั้งนี้ ได้มีเกษตรกรในละแวกใกล้เคียงมาเรียนรู้การทำนาโดยใช้รถหยอดข้าวในพื้นที่ของตนเอง นอกจากนี้ เกษตรกรสมาชิกกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านพระแก้วยังได้เริ่มเปลี่ยนวิธีการทำนาหว่านมาเป็นวิธีนี้กันมากขึ้น โดยทางกลุ่มฯ มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะเปลี่ยนการทำนาแบบเดิมมาใช้รถหยอดข้าวและรถปักดำทั้งหมด

“อยากให้ทุกคนลองเปิดใจเรียนรู้การทำนาด้วยวิธีใหม่ๆ เพราะทุกวันนี้มีเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัยเข้ามาช่วยทุ่นแรงเยอะ ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนเหมือนเมื่อก่อน ทำให้การปลูกข้าวมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย ซึ่งตนเองมองว่า หากทุกคนลองเปลี่ยนมาปลูกข้าวด้วยวิธีนี้ จะช่วยให้ชาวนาไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เพราะเป็นแนวทางที่ตนเองพิสูจน์แล้วและได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจริงๆ”

หมายเหตุ: ตัวเลขทั้งหมดได้จากการเก็บข้อมูลจากแปลงส่งเสริมของสยามคูโบต้า และแปลงของคุณณภัทร เขากระโทก เกษตรกรเจ้าของแปลง โดยผลการทดสอบอาจเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพพื้นที่ ภูมิอากาศ การระบาดของโรคและแมลง การระบาดของวัชพืช อัตราค่าจ้างแรงงานในแต่ละพื้นที่ พฤติกรรมการเพาะปลูกในแต่ละพื้นที่ การเลือกพันธุ์ที่ใช้ปลูก และปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่และในแต่ละปี รวมทั้งขึ้นอยู่กับผลค่าวิเคราะห์ดิน

Tag:

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

โครงการ KUBOTA (Agri) Solutions ระบบการจัดการเกษตรกรรมแบบครบวงจรโดยคูโบต้า ด้วยการนำระบบการทำงานมาผสานกันอย่างลงตัว ระหว่างเทคนิคด้านการเกษตร (Agriculture Solutions) และการจัดการเครื่องจักรกลการเกษตร (Machinery Solutions) ช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และมีรายได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็
หลังจากสยามคูโบต้าได้พัฒนาเว็บไซต์ www.kubotasolutions.com ไปเมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นคลังความรู้สำคัญสำหรับเกษตรกร และประชาชนทั่วไปได้เข้ามาค้นหา และนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังเป็นช่องทางสำคัญในการนำเสนอเทคนิคด้านการเกษตรและการจัดการเครื่องจักรกลการเกษตร
บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ตอกย้ำการเป็นผู้นำนวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคต ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) พัฒนาแอปพลิเคชันปฏิทินการเพาะปลูกข้าวด้วยวิธี KUBOTA Agri Solution ภายใต้ชื่อ “KAS Crop Calendar application” เพื่อเป็นคลังความรู้ที่สำคัญของเกษตรกร