โครงการวังขนาย-คูโบต้า พลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

หลังจากที่บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และกลุ่มวังขนาย ได้ร่วมลงนามความร่วมมือ “โครงการวังขนาย-คูโบต้า พลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในขั้นตอนการเพาะปลูก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ปลูกอ้อยอินทรีย์ของไทย และตอบสนองนโยบายภาครัฐในเรื่องการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย

ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว กลุ่มวังขนายได้มีนโยบายการผลิตอ้อยอินทรีย์และน้ำตาลออร์แกนิก จึงได้ทำการคัดเลือกเกษตรกรในพื้นที่ส่งเสริมของวังขนายเข้าร่วมโครงการ และได้สนับสนุนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในด้านการเพาะปลูก บุคคลากร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการด้านการเกษตร โดยตั้งเป้าหมายภายใน 3-5 ปี จะเพิ่มปริมาณอ้อยอินทรีย์ให้ได้ถึงร้อยละ 30 ของปริมาณอ้อยทั้งหมดของกลุ่มวังขนาย เพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำตาลออร์แกนิคส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ

ด้วยเหตุนี้ สยามคูโบต้าจึงได้มีโอการ่วมมือและสนับสนุนโครงการกลุ่มโรงงานน้ำตาลวังขนายในการปลูกอ้อยอินทรีย์และน้ำตาลออร์แกนิก ด้วยการนำองค์ความรู้จากโครงการ KUBOTA (Agri) Solutions ระบบการจัดการเกษตรกรรมแบบครบวงจรโดยคูโบต้า ซึ่งเป็นระบบการทำงานที่ผสานกันอย่างลงตัว ระหว่างเทคนิคด้านการเกษตร (Agriculture Solutions) และการจัดการเครื่องจักรกลการเกษตร (Machinery Solutions) โดยมีขั้นตอนการปลูกอ้อยอินทรีย์ ดังนี้

1.ขั้นตอนการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ได้ใช้แทรกเตอร์ติดอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับไร่อ้อย เริ่มจากผานระเบิดดินดาน ไถเตรียมดินให้มีความลึกมากกว่า 40 ซม. เพื่อเปิดช่องให้น้ำฝนเข้าไปกักเก็บที่ใต้ดิน และได้ใช้ผานพรวน ไถกลบพืชปุ๋ยสดและวัชพืชให้อยู่ใต้ผิวดินเพื่อเร่งอัตราย่อยสลายและปรับโครงสร้างดินให้ร่วนซุย ปิดท้ายด้วยการใช้โรตารี่ ปั่นดินให้ละเอียด เพื่อปิดผิวหน้าดินและลดการสูญเสียความชื้นใต้ดิน ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกของท่อนพันธุ์อ้อยให้ดีขึ้น

2.ขั้นตอนการเพาะปลูก ได้ใช้เครื่องปลูกอ้อยแบบร่องคู่ ให้มีระยะช่องว่างระหว่างแถว 1.5 เมตร เพื่อให้บำรุงรักษาได้ง่ายและประหยัดท่อนพันธุ์อ้อยเหลือเพียง 1.3 ตัน/ไร่ (ซึ่งจากเดิมเกษตรกรปลูกอ้อยร่องคู่ระยะห่างระหว่างแถว 1.3 เมตร ทำให้ใช้ท่อนพันธุ์อ้อยถึง 1.5 ตัน/ไร่ ) นอกจากนี้ เครื่องปลูกอ้อยยังสามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น ซึ่งเมื่อต้นอ้อยเติบโตจากท่อนพันธุ์อ้อยแล้ว ก็สามารถนำปุ๋ยไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตได้ทันที

3.ขั้นตอนการบำรุงรักษาในระยะยืดปล้องและระยะสร้างน้ำตาล ได้ใช้แทรกเตอร์คูโบต้าขนาดเล็กติดอุปกรณ์เครื่องฝั่งปุ๋ย ทดแทนการหว่านปุ๋ย เพื่อลดการสูญเสียปุ๋ยจากความร้อนและการพัดพาของน้ำ ทำให้อ้อยได้รับปุ๋ยอินทรีย์อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ยังใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็ก ติดอุปกรณ์โรตารี่ นำมาปั่นดินและกำจัดวัชพืชในระยะช่องว่างระหว่างแถวอ้อย ทดแทนการใช้สารเคมี ตอบโจทย์การทำการเกษตรอินทรีย์ตามนโยบายของวังขนาย

การปลูกอ้อยอินทรีย์ ด้วยแนวคิดการทำเกษตรกรรมแบบครบวงจรโดยคูโบต้า ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น มีรายได้ที่มั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี อีกทั้งยังส่งผลให้กลุ่มวังขนายได้วัตถุดิบป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลที่มีคุณภาพ สามารถนำไปผลิตเป็นน้ำตาลออร์แกนิคได้มาตรฐานและมีคุณภาพเหมาะสำหรับการบริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีต่อไป

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภายหลังจาก สยามคูโบต้าได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรเครือข่ายที่ร่วมสนับสนุน โครงการ KUBOTA (Agri) Solutions ในการร่วมกันพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรที่ใช้ปลูกจนถึงขุดเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง เพื่อช่วยเกษตร
บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ตอกย้ำการเป็นผู้นำนวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคต ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) พัฒนาแอปพลิเคชันปฏิทินการเพาะปลูกข้าวด้วยวิธี KUBOTA Agri Solution ภายใต้ชื่อ “KAS Crop Calendar application” เพื่อเป็นคลังความรู้ที่สำคัญของเกษตรกร
ปัจจุบัน สยามคูโบต้า ไม่ได้เป็นเพียงผู้นำการผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตรในภูมิภาคเอเชียเท่านั้น แต่ยังเป็นองค์กรที่ส่งเสริมและยกระดับเกษตรกรไทย ด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจในการทำการเกษตรอย่างรอบด้านอีกด้วย โดยมีโครงการ KUBOTA (Agri) Solutions หรือเรียกย่อว่า KAS ระบบการจัด