วิสาหกิจชุมชนทำนาห้วยตาดข่า จ.อุดรธานี ร่วมทำแปลงทดสอบพืช 3 ชนิด ชูจุดเด่นลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้จริง

กว่า 39 ปีของการดำเนินธุรกิจ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ไม่เคยหยุดยั้งที่จะส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรไทยให้มีความรู้ความสามารถในการทำเกษตรอย่างรอบด้าน โดยการนำ KUBOTA (Agri) Solutions ทุกคำตอบเรื่องการเกษตร มาช่วยยกระดับเกษตรกรรมไทย ด้วยนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและนวัตกรรมการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีความแม่นยำและสม่ำเสมอ ตั้งแต่การปฏิรูปพื้นที่เพาะปลูก การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่งผลผลิต เพื่อช่วยเกษตรกรในการลดต้นทุน เพิ่มปริมาณผลผลิต และรายได้ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน

ล่าสุด สยามคูโบต้า ได้นำองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions  ไปต่อยอดและพัฒนาที่วิสาหกิจชุมชนทำนาห้วยตาดข่า จ.อุดรธานี  โดยการทำแปลงทดสอบเปรียบเทียบระหว่างวิธีแบบดั้งเดิมของเกษตรกร และวิธีการของ KUBOTA (Agri) Solutions เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกพืช ซึ่งได้นำร่องใน 3 พืช ได้แก่ ข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง โดยมุ่งเน้นการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตเป็นหลัก

สำหรับการทำแปลงทดสอบข้าว เกษตรกรในพื้นที่มีวิธีปลูกข้าวแบบดั้งเดิมด้วยการดำนามือ 70% และทำนาหว่าน 30% และสยามคูโบต้าพบว่ามีเกษตรกรบางส่วนขาดองค์ความรู้ด้านการใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพดิน ทำให้ได้ผลผลิตตกต่ำ สยามคูโบต้า จึงได้ทำการทดสอบการปลูกข้าว ด้วยการใช้รถดำนาทดแทนการดำมือ และยังใช้เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด *ให้เหมาะสมกับค่าวิเคราะห์ดิน ภายหลังจากการปลูกด้วยวิธี KUBOTA (Agri) Solutions ผลการทดสอบ พบว่า ผลผลิตจากวิธีการของสยามคูโบต้ามีปริมาณ 733 กิโลกรัม/ไร่ ได้กำไรประมาณ 5,001 บาท/ไร่ ส่วนการปลูกข้าวแบบวิธีดั้งเดิมได้ผลผลิตปริมาณ 694 กิโลกรัม/ไร่  ได้กำไรประมาณ 3,923 บาท/ไร่** 

นอกจากนี้ ในแปลงทดสอบข้าว สยามคูโบต้ายังได้ปลูกถั่วเหลืองหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อให้เกษตรกรเห็นโอกาสของการสร้างรายได้เพิ่ม เนื่องจากถั่วเหลืองอาจขายได้กำไรถึง 1,000 บาท/ไร่ และการปลูกถั่วเหลืองยังเป็นการบำรุงดิน อันเป็นประโยชน์ต่อการปลูกข้าวในครั้งต่อไป

ทั้งนี้ ในปี 2559 สยามคูโบต้า ได้เสนอวิสาหกิจชุมชนทำนาห้วยตาดข่า เป็นกลุ่มแปลงใหญ่ประชารัฐ เกษตรสมัยใหม่ในกลุ่มข้าว เนื่องจากมีรูปแบบการพัฒนาที่สอดคล้องกับวิธี KUBOTA (Agri) Solutions ซึ่งปัจจุบันถือว่าประสบความสำเร็จในเรื่องของการช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตในนาข้าวได้จริง

ในส่วนของแปลงทดสอบอ้อย วิธีดั้งเดิมของเกษตรกรส่วนใหญ่มีขั้นตอนการเตรียมดินที่ลึกไม่เพียงพอ ทำให้อ้อยไม่ค่อยทนแล้ง และมีวิธีการปลูกอ้อยแบบร่องแคบ ทำให้ต้องใช้แรงงานคนใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช ทำให้ไม่สามารถดูแลรักษาได้อย่างทั่วถึง สยามคูโบต้าจึงได้ทำแปลงทดสอบอ้อย โดยเน้นการเตรียมดินด้วยวิธีระเบิดดินดาน เพื่อให้ดินเก็บความชื้นได้เพียงพอในการปลูกอ้อยให้เติบโตในช่วงผ่านแล้ง และใช้เทคโนโลยีเครื่องปลูกอ้อยแบบขยายร่องให้กว้างขึ้น เพื่อให้แทรกเตอร์ขนาดเล็กเข้าไปใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืชได้ ภายหลังจากการปลูกด้วยวิธี KUBOTA (Agri) Solutions พบว่าได้ผลผลิตปริมาณ 20.6 ตัน/ไร่ ได้กำไรประมาณ 8,737 บาท/ไร่ ส่วนการปลูกแบบดั้งเดิมได้ผลผลิต 15.9 ตัน/ไร่ ได้กำไรประมาณ 5,248 บาท/ไร่**

ทางด้านแปลงทดสอบมันสำปะหลัง การปลูกแบบดั้งเดิมของเกษตรกร มักพบปัญหาเรื่องการเตรียมดินที่มีความลึกไม่เพียงพอ และใช้ต้นทุนแรงงานในการปลูกที่สูง สยามคูโบต้า จึงเริ่มทำแปลงทดสอบด้วยการใช้วิธีระเบิดดินดาน เพื่อให้ดินกักเก็บความชื้นเช่นเดียวกับแปลงทดสอบอ้อย และใช้เครื่องปลูกมันสำปะหลังทดแทนแรงงานคน ซึ่งวิธีการปลูกโดยใช้แรงงานคนจะมีการปักเอียงและระยะการปลูกไม่สม่ำเสมอ เมื่อใช้เครื่องปลูกมันสำปะหลัง จะทำให้ปักกิ่งได้ตรง และสม่ำเสมอกัน นอกจากนี้ ยังมีการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสมตามค่าวิเคราะห์ดินอีกด้วย ซึ่งการปลูกด้วยวิธี KUBOTA (Agri) Solutions พบว่า ได้ผลผลิตปริมาณ 7.2 ตัน/ไร่ ได้กำไรประมาณ 539 บาท/ไร่ ส่วนการปลูกแบบดั้งเดิมได้ผลผลิตปริมาณ 6.1 ตัน/ไร่ และขาดทุนประมาณ 1,151บาท/ไร่**  เนื่องจากในปี 2559 ได้เกิดวิกฤตราคามันสำปะหลังตกต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

ความสำเร็จจากการทำแปลงทดสอบร่วมกับเกษตรกรในครั้งนี้   วิสาหกิจชุมชนทำนาห้วยตาดข่า ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่น่าสนใจ โดยพร้อมจะเปิดโอกาสให้เกษตรกรและชุมชนอื่นๆ ได้เข้ามาศึกษาวิธีการทำเกษตร เพื่อให้เกิดการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

สำหรับเกษตรกรและผู้ที่สนใจท่านใดอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมด้วยองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกันได้ที่ www.kubotasolutions.com   และสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปปรับใช้และพัฒนาการเกษตรของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป

* องค์ความรู้เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดจาก ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และคณะ
** ตัวเลขได้จากผลการทดสอบ ณ แปลงทดสอบวิสาหกิจชุมชนทำนาห้วยตาดข่า จ.อุดรธานี  โดยการปลูกข้าวเริ่มในช่วง 1 มิ.ย. 59, การปลูกอ้อยเริ่มในช่วง 20 เม.ย. 58 และมันสำปะหลังเริ่มในช่วง 18 ต.ค.58  ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกันทั้งสองวิธี โดยผลการทดสอบอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อม ลักษณะการดูแลรักษา และสภาพดิน

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ที่ผ่านมาวิธีการปลูกข้าวที่เกษตรกรนิยม คือ การทำนาหว่าน เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว แต่จะมีการใช้เมล็ดพันธุ์จำนวนมาก ส่งผลให้ต้นทุนการปลูกข้าวสูง รวมถึงมีการกำจัดวัชพืชและบำรุงรักษาได้ยาก ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง แต่ในปัจจุบัน เกษตรกรเริ่มหันมาใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการปลูกข้าวกันมากขึ้น เนื่องจาก
เวทีระดมความคิดระกับชาติ การรวมพลังครั้งสำคัญของภาคส่วนที่พร้อมขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วยนวัตกรรมเพื่อก้าวสู่ประเทศไทย 4.0
หลังจากที่บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และกลุ่มวังขนาย ได้ร่วมลงนามความร่วมมือ “โครงการวังขนาย-คูโบต้า พลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในขั้นตอนการเพาะปลูก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ปลูกอ้อยอินทรีย์ของไทย และตอบ