การจัดการดิน ปุ๋ยและเศษซากพืช เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตพืชตระกูลถั่ว

สมบัติของดินที่เหมาะสม

–  ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย 

–  มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี

–  ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง

–  ค่าความเป็นกรด – ด่าง 5.5 – 7.0 (ถั่วเหลือง ถั่วเขียว) และ 5.5 – 6.0 (ถั่วลิสง)

ความต้องการธาตุอาหารของพืชตระกูลถั่ว 

ปริมาณธาตุอาหารที่ถั่วถูกใช้ เพื่อสร้างผลผลิต 300 กิโลกรัม/ไร่

ปริมาณธาตุอาหารในเศษซากต้นและใบถั่วที่ให้ผลผลิต 300 กิโลกรัม/ไร่

การจัดการดิน

ควรไถกลบเศษซากต้นและใบถั่ว เพื่อให้ธาตุอาหารกลับคืนสู่ดิน ช่วยรักษาดินไม่ให้เสื่อมโทรม สามารถใช้ในการผลิตพืชได้อย่างยั่งยืน

การจัดการปุ๋ย

1.  คลุกเมล็ดด้วยปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม 1 ถุง (200 กรัม) ต่อเมล็ดถั่วเขียว 3-5 กิโลกรัม ถั่วเหลือง 10 – 12 กิโลกรัม หรือ ถั่วลิสง 10 – 15 กิโลกรัม

2.  ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม พร้อมปลูกใส่ปุ๋ย P K  หรือใส่ปุ๋ย N K ครึ่งอัตราร่วมกับปุ๋ย P K อัตราแนะนำ

3.  ระยะเริ่มงอกต้นถั่วใช้ธาตุอาหารในปริมาณน้อย ปมที่รากถั่วมีการเจริญอย่างช้าๆ

4.  ระยะออกดอกปมรากเจริญเต็มที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้สูงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย N K

5.  ระยะติดฝักต้นถั่วเจริญเติบโตสูงสุดการดูดใช้ธาตุอาหารเริ่มลดน้อยลง

บทความที่เกี่ยวข้อง

กระชายดำเป็นพืชล้มลุกเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง มีสารสำคัญหลายชนิด ได้แก่ Borrneol, Sylvestrene, สาร 5,7-dimethoxyflavone และ สาร Flavonoids 9 ชนิด ซึ่งมีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ คือ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านเชื้อจุลินทรีย์บำรุงหัวใจ และโรคลมทุกชนิด แก้อาการปวดท้อง จุกเสียด ท้องเดิน ขับปัสสาวะ
การปลูกข้าวด้วยการทำนาดำเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า สามารถช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และได้พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรสามารถใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการทำนาดำโดยเฉพาะ ช่วยให้ทำงานได้อย่างสะดวกสบาย งานเสร็จไว รวดเร็วทันใจ พร้อมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานคนได้
การขาดธาตุแมกนีเซียมของอ้อย จะแสดงอาการที่ใบแก่ โดยเกิดผลแห้งตายสีแดง ทำให้มองเห็นว่าเป็นสีสนิมเกิดขึ้น การขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรง ลำต้นอ้อยจะมีการแคระแกร็นทำให้เกิดเป็นสีสนิมอย่างรุนแรง และมีสีน้ำตาล โดยภายในลำต้นนั้นจะกลายเป็นสีน้ำตาลได้ ซึ่งสนิมที่เกิดขึ้นสามารถแพร่กระจายไปทั่วทั้งแผ่น