ช่วงหน้าฝนแบบนี้สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือปริมาณน้าที่มากขึ้น และความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น หากฝนตกติดต่อกันเกินกว่า 2-3 วัน ควรมีการวางแผนที่ดี เพื่อป้องกันและกาจัดโรคพืชที่ตามมาในหน้าฝน ซึ่งเชื้อราเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทาให้เกิดโรคพืชมากที่สุด พืชหลายชนิดเป็นเชื้อราได้ง่าย และมีการระบาดได้อย่างรวดเร็ว เพราะสปอร์ของเชื้อรา สามารถกระจายไปกับลม และน้าฝน หรือสิ่งมีชีวิตเป็นตัวนาพาเชื้อราไปสู่พืชชนิดอื่นๆได้
1. ราน้าค้าง (Downy mildew)
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Peronosporaparasitica
ลักษณะอาการ : ใบจะเป็นจุดละเอียดสีดาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ด้านใต้ใบ ตรงจุดเหล่านี้จะมีราสีขาวอมเทาอ่อนคล้ายผงแป้งขึ้นเป็นกลุ่มๆ กระจายทั่วไป ใบที่อยู่ตอนล่างๆ จะมีแผลเกิดก่อนแล้วลุกลามขึ้นไปยังใบที่อยู่สูงกว่า ใบที่มีเชื้อราขึ้นเป็นกลุ่มกระจายเต็มใบจะมีลักษณะเหลืองและใบจะร่วงหรือแห้ง ในเวลาที่อากาศไม่ชื้นจะไม่พบผงแป้งและแผลแห้งเป็นสีเทาดา
การแพร่ระบาด : ระบาดได้ทั้งแต่ระยะที่เป็นต้นกล้าจนเจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งจะทาความเสียหายมากเพราะทาให้ใบเสียมากและเจริญเติบโตช้า โรคนี้ไม่ทาให้ต้นตาย แต่ทาให้น้าหนักผลผลิตลดลง เพราะต้องตัดใบที่เป็นโรคทิ้ง
การป้องกันกาจัด :
- ให้ฉีดพ่นด้วยชีวภัณฑ์ ป้องกันกาจัดเชื้อราไตรโคเดอร์มา สลับกับบีเอส ซึ่งใช้ได้ระยะที่ยังเป็นต้นกล้า – ระยะการเติบโต
- ให้ฉีดพ่นด้วยยาป้องกันกาจัดเชื้อรา เช่น ไซแน็บ , มาแน็บ , ไดโฟลาแทน , เบนโนมิล, แคปแทน หรือยาชนิดอื่นๆ ที่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ แต่สารประกอบทองแดงไม่ควรใช้ในระยะที่ยังเป็นต้นกล้า เพราะจะเป็นพิษต่อต้นกล้า
2. โรคเน่าคอดิน (Damping off)
เชื้อสาเหตุ: เชื้อรา Pythium sp. หรือ Phytophthora sp.
ลักษณะอาการ : เกิดเฉพาะในแปลงต้นกล้า เนื่องจากการหว่านเมล็ดที่แน่น ต้นเบียดกัน ถ้าในแปลงมีเชื้อโรคแล้ว ต้นกล้าจะเกิดอาการเป็นแผลช้าที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลจะเน่าและแห้ง ถ้าถูกแสงแดดทาให้ต้นกล้าหักพับ ต้นเหี่ยวแห้งตายในเวลารวดเร็ว
การแพร่ระบาด : เชื้อราติดมากับเมล็ด หรืออยู่ในดิน น้า ฝน ;
การป้องกันกาจัด :
- เตรียมแปลงให้มีการระบายน้าดี อย่าให้น้าขังแฉะในแปลง ใช้เมล็ดพันธุ์ดีไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ติดมากับเมล็ด และมีความงอกสูง ไม่หว่านเมล็ดแน่นเกินไป
- ก่อนปลูกคลุกเมล็ดด้วยสารชีวภัณฑ์ อัตรา 100 กรัม : เมล็ด 1 กิโลกรัม
- ตรวจแปลงสม่าเสมอพบต้นเป็นโรค ขุดเอาดินและต้นเป็นโรคทาลายหรือฝังลึกนอกแปลง
3. โรคใบจุด (Alternaria leaf spot)
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Alternaria brassicae
ลักษณะอาการ : ในต้นกล้าจะพบจุดแผลเล็กๆ สีน้าตาลที่บริเวณใบโคนต้น ต้นที่โตแล้วใบมีแผลวงกลม สีน้าตาลซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อรอบๆ แผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แผลมีทั้งเล็กและใหญ่ บนแผลมักจะมีเชื้อราชั้นบางๆ เป็นผงสีดา
การแพร่ระบาด : สปอร์ของเชื้อสาเหตุ สามารถปลิวไปตามน้า ลม แมลง สัตว์ เครื่องมือเกษตรกร มนุษย์ และสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้ หรืออาศัยอยู่กับวัชพืชในแปลง
สภาพที่เหมาะต่อการเกิดโรค: ความชื้นสูง สภาพอากาศร้อนชื้น โดยเฉพาะในฤดูฝน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส
การป้องกันกาจัด :
- ทาลายต้นเป็นโรคโดยการขุดถอนไปเผาทิ้ง – ไม่ควรให้น้าแบบฉีดพ่นฝอย
- แช่เมล็ดในน้าอุ่น 50 องศาเซลเซียส 30 นาที (ยกเว้นกะหล่าดอก)
- คลุกมล็ดด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันกาจัดเชื้อราไตรโคเดอร์มา
- ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ป้องกันกาจัดเชื้อรไตรโดเดอร์มา ทุกๆ 7 วันจะช่วยป้องกันกาจัดเชื้อรานี้
4. โรคราสนิมขาวในผัก (White Rust)
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Albugo ipomoea-aquaticae Sawada
ลักษณะอาการ : มีจุดสีเหลืองซีดด้านบนของใบ ด้านใต้ใบตรงกันข้าม จะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ขนาด 1-2 มิลลิเมตร อาจพบลักษณะปุ่มปม หรือบวมพองโตขึ้นในส่วนของก้านใบและลาต้น
การป้องกันกาจัด :
- เมื่อมีโรคระบาดให้ฉีดพ่นใต้ใบด้วย เมตาแล็กซิล สลับกับแมนโคเซ็บ ตามอัตราที่แนะนาบนฉลาก หากมีฝนตกชุกให้ผสมสารจับใบ
- คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยเมตาแล็กซิล และเลือกใช้เมล็ดจากแหล่งที่ไม่มีโรคระบาด
- ดูแลระบบการให้น้าในแปลงปลูก อย่าให้ชื้นแฉะจนเกินไป
5. โรคเหี่ยว (wilt)
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Fusarium oxysporum
ลักษณะอาการ : เกิดอาการเหี่ยวอย่างช้า ๆ ใบที่อยู่โคนต้นเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วง ต่อมาใบจะเหี่ยวทั้งต้น เมื่อผ่าลาต้นบริเวณเหนือระดับดินตามยาวจะพบว่าท่อน้าท่ออาหารเป็นสีน้าตาล จนในที่สุดจะแห้งตาย
การแพร่ระบาด : การเกิดโรคนี้มักจะเกิดเป็นหย่อม ๆ ถ้าสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงและดินมีความชื้นสูง ทาให้โรคนี้ระบาดได้ดี
การป้องกันกาจัด :
- ถ้าพบโรคในแปลงต้องถอนต้นที่เป็นโรคเผาทาลาย
- ก่อนปลูกพริกควรปรับสภาพดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยคอก