ไรแดง

มี 2 ชนิด คือ ไรแดงหม่อน และไรแดงมันสำปะหลัง ตัวอ่อนมี 6 ขา ตัวกลมใส ตัวเต็มวัยมีสีแดงเข้ม มี 8 ขา กว้าง 0.4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ส่วนขาไม่มีสีอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะการทำลายไรแดงหม่อนดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบจากส่วนใบล่าง และขยายปริมาณขึ้นส่วนยอด ไรแดงมันสำปะหลังดูดกินน้ำเลี้ยงบนหลังใบของส่วนยอด และขยายปริมาณลงสู่ใบส่วนล่าง ทำให้ตาลีบใบ เหลืองขีด ม้วนงอ และร่วง

ช่วงเวลาระบาด

ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน

การป้องกันกำจัด

– ด้วงเต่าและด้วงปีกสั้นเป็นศัตรูธรรมชาติ

– หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลัง ในช่วงที่ต้นอ่อนจะกระทบแล้งนานการตกของฝนสามารถลดการระบาดได้

– หมั่นตรวจแปลงหากพบระบาดรุนแรงในระยะเป็นต้นอ่อน ให้พ่นสารป้องกันกำจัด

ลักษณะของใบมันสำปะหลังที่ถูกทำลาย
ไรแดงและการทำลาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

พันธุ์ข้าวที่ใช้เมล็ดพันธุ์ปลูกติดต่อกันต่อเนื่องหลายฤดูกาล โดยไม่ได้คัดเลือกอย่างถูกวิธี เช่น พันธุ์ข้าวพื้นเมือง มักจะมีปัญหาจากการปะปนจากพันธุ์อื่น ทำให้ต้นข้าวในแปลงมีความแตกต่างกันหลายลักษณะ ทำให้ผลผลิตที่ได้ด้อยคุณภาพ
แตนเบียน (Anagyrus lopezi) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแถบอเมริกาใต้ ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวห้ำและตัวเบียน สามารถฆ่า (การห้ำ) เพลี้ยแป้งสีชมพูให้ตายได้ทันที เฉลี่ยวันละ 20-30 ตัว และวางไข่ (การเบียน) ในตัวเพลี้ยแป้งสีชมพู เฉลี่ยวันละ 15-20 ตัว แตนเบียนหนึ่งตัวสามารถฆ่าเพลี้ยแป้งสีชมพูได้เฉลี่ยวันละ 35-50 ตัว