โรคใบจุดไหม้ (Blight Leaf Spot)

เกิดจากเชื้อรา

มักจะพบควบคู่ใบไปกับโรคใบจุดสีน้ำตาล โรคนี้สามารถทำให้ผลผลิตลดลงได้ 12-30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการสูญเสียพื้นที่ใบใบเหลือง และร่วงเร็วกว่าปกติ และอาจเป็นผลกระทบเนื่องมาจากการเปิดโอกาสให้วัชพืชเจริญได้ดีเมื่อใบร่วง และพุ่มใบเปิด

ลักษณะอาการ

อาการของโรคพบบนใบ เป็นจุดกว้างไม่มีขอบเขตที่แน่นอนเหมือนกับโรคใบจุดสีน้ำตาล จุดแผลจะกว้างมาก แต่ละจุดอาจกว้างถึง 1 ใน 5 ของแฉกใบ หรือมากกว่าด้านบนใบมักเห็นจุดแผลสีน้ำตาลค่อนข้างสม่ำเสมอ ขอบแผลมีสีเหลืองอ่อน ด้านใต้ใบมักเห็นเป็นวงสีเทา เนื่องจากส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา สาเหตุโรคเช่นเดียวกับโรคใบจุดสีน้ำตาล ลักษณะแผลในบางครั้งจะคล้ายกับโรคใบจุดวงแหวน ซึ้งเกิดจากเชื้อ Phoma sp. (Phyllosticta sp.) แต่โรคใบจุดวงเแหวนจะเห็นวงแหวนด้านบนของใบ เมื่อแผลลามติดต่อกันทำให้ใบเหลืองทั้งใบ และร่วงไปในที่สุด ในพันธุ์ที่อ่อนแอ ใบร่วงอย่างรุนแรง ในมันสำปะหลังที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน อาการของโรคจะรุนแรงมากกว่ามันสำปะหลังที่มีอายุน้อย

การแพร่ระบาด

การป้องกันกำจัดเช่นเดียวกับโรคใบจุดสีน้ำตาล

บทความที่เกี่ยวข้อง

1. วิธีการปลูกสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้ ปลูกแบบโรยเป็นแถวระยะระหว่างแถวขึ้นกับชนิดของพืช – โสนอัฟริกัน ปอเทือง มะแฮะ พืชตระกูลถั่วคลุมดิน เช่น ถั่วลาย ถั่วคุดซู ถั่วสไตโล ถั่วฮามาต้า ระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร – ถั่วพร้า ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร หยอดเป็นหลุม
ปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารสำหรับพืชแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ข้อดีของปุ๋ยเคมีคืออุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้นไม้ต้องการ แต่ช่วงนี้ปุ๋ยเคมีราคาแพงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้น ดังนั้นปุ๋ยอินทรีย์จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ปุ๋ยอินทรีย์คืออะไร ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง
แหนแดง (Azolla) เป็นเฟิร์นน้ำเล็กๆชนิดหนึ่ง เจริญเติบโตและลอยอยู่บนผิวน้ำในเขตร้อน และเขตอบอุ่น โดยจะดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินกลุ่มไซยาโนแบคทีเรียชื่อ Anabana azollae อาศัยอยู่ ที่สามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนในอากาศ (symbiotic nitrogen fixing microorganisms) ให้ม