โรคใบจุดจากเชื้อเฮลมินโธสปอเรี่ยม

โรคใบจุดจากเชื้อเฮลมินโธสปอเรี่ยม

(Northern Leaf Spot หรือ Helminthosporium Leaf Spot)

ลักษณะอาการ

พบอาการตั้งแต่ใบแรกจนถึงใบธง แผลเป็นจุดค่อนข้างกลมสีเหลือง หรือน้ำตาลขนาดเล็ก มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ ขนาดความกว้างยาวของแผลอยู่ระหว่าง 0.5 – 4.0 x 0.5 – 40.0 มม. เมื่อความชื้นสูงแผลขยายใหญ่ เนื้อใบแห้งตาย หูใบแห้ง เชื้อราสร้างสปอร์ผงสีดำจำนวนมาก กาบใบ และกาบฝักไหม้แห้ง ฝักเน่า ผลผลิตลดประมาณ 70%

เชื้อสาเหตุ

เกิดจากเชื้อรา Bipolaris zeicola (Stout). Shoemaker ชื่อเดิม Helminthosporium carbonum Ullstrup. Drechslera zeicola. (Stout) Subram. & Jain. สปอร์รูปทรงเรียวยาวเกือบเป็นรูปกระสวย สีเขียวเข้มอมน้ำตาล มีผนังกั้น 4-8 อัน

การแพร่ระบาดและการป้องกันกำจัด

1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรค

2. ถอนเผาทำลายต้นที่เป็นโรค

3. ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น นครสวรรค์1 นครสวรรค์72 สุวรรณ1 สุวรรณ2  สุวรรณ5 สุวรรณ3851

4. ใช้สารเคมีไตรโฟรีน (ซาพรอล)

บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำหมักชีวภาพ เป็นของเหลวซึ่งได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ที่มีลักษณะสดอวบน้ำหรือมีความชื้นสูงโดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์ ทั้งในสภาพที่มีออกซิเจนและมีออกซิเจนน้อย ทำให้ได้ฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโดไคนิน รวมทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด
ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. ชุดดินร้อยเอ็ด (Roi-et series : Re) กลุ่มชุดดินที่ 17 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดินบริเวณพื้นที่เกือบราบหรือที่ราบ สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %