โรคใบขีดแดงและยอดเน่า

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas rubrilineans

การระบาด

1. ระบาดไปทางท่อนพันธุ์

2. ระบาดโดยทางลม ฝน โดยพัดพาเชื้อจากต้นที่เป็นโรคไปติดต้นอ้อยข้างเคียง

ลักษณะอาการ

ใบมีเส้นสีแดงเป็นขีดยาวตามความยาวของใบบางครั้งรอยขีดติดกันเป็นปื้น ต่อมาเชื้อลามไปในยอด ทําให้มีอาการยอดเน่าบางพันธุ์อาจพบทั้งอาการขีดแดง และยอดเน่าเมื่อเป็นรุนแรงใบยอดเน่าดึงออกง่าย มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ภายในลําช้ำเน่าเป็นสีชมพูถึงสีน้ำตาลแดง เนื้ออ้อยเน่ากลางตาอ้อยด้านข้างงอกเป็นหน่อบนต้น

การป้องกันกําจัด

1. ทําลายกอที่เป็นโรค

2. ป้องกันการทําลายของหนอนโดยใช้ยาดูดซึม

3. แปลงควรระบายน้ำดี

4. ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเดี่ยวระยะอ้อยอ่อน

5. กรณีที่ระบาดรุนแรงใช้สารเคมีคอบเปอร์ออกซิคลอไรด์ เช่นคาร์โบซินอัตรา 40 กรัม ต่อ 20 ลิตร

6. เมื่อจะเปลี่ยนพันธุ์ปลูกใหม่

  • ควรเลือกพันธุ์ที่ไม่อ่อนแอต่อโรค เช่นอู่ทอง 1 เค 84-200 เค 88-92
  • ไถดินตากและพักดินก่อนปลูกพันธุ์ใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีการจัดการดินที่ใช้น้ำน้อย 1. การคลุมดิน (Mulching) เป็นการเก็บความชื้นในดินเพื่อให้พืชที่ปลูกสามารถนําน้ำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ชนิดวัสดุคลุมดิน (ควรเลือกวัสดุคลุมดินที่หาได้ง่าย และเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก) 1. วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ 2. วัสดุสังเคราะห์
ข้าวหอมมะลิ (Thai jasmine rice) (Official name “Thai Hom Mali”) เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่ไหนในโลกไม่ได้คุณภาพดีเท่ากับปลูกในไทย และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก ประวัติและที่มา เมื่อปี พ.ศ.
โรครากและหัวเน่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมาก ทำให้ผลผลิตสูญเสียโดยตรง โดยเฉพาะในแหล่งที่ดินระบายน้ำได้ยาก ฝนตกชุกเกินไปหรือในพื้นที่ที่เคยปลูกกาแฟ ยาง หรือเป็นป่าไม้มาแล้ว ในบางครั้งสามารถพบได้ในแหล่งที่ดินมีการชะล้างสูง โรคนี้สามารถเกิดได้ทั้งระยะต้นกล้า และระยะที่ลงหัวแล้ว โรครากและหัวเน่าเกิดจากเชื้อ