โรคแอนแทรคโนส

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อราในสภาพพื้นที่ ที่มีความชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์  ในพันธุ์มันสำปะหลังที่อ่อนแอ เช่น ระยอง 72 หรือ ระยอง11 ส่วนพันธุ์ที่ค่อนข้างทนทาน ยอดจะเหี่ยวแห้งตายลงมาทำให้เกิดมีการเจริญเติบโตของกิ่งหรือยอดใหม่ น้ำหนักผลผลิตจะลดลงหรือเก็บเกี่ยวล่าช้า ผลผลิตจะเสียหาย 30 – 40%

ลักษณะอาการ

ใบจะมีไหม้สีน้ำตาล ขยายตัวเข้าสู่กลางใบ มักปรากฏกับใบที่อยู่ล่าง ในตัวแผลบนใบจะมีเม็ดเล็กๆ สีดำขยายตัวไปตามขอบของแผลอาการไหม้ ส่วนก้านใบ อาการจะปรากฏในส่วนโคนก้านใบ  จะเป็นแผลสีน้ำตาลขยายตัวไปตามก้านใบ ทำให้ก้านใบมีลักษณะลู่ลงมาจากยอด หรือตัวใบจะหักงอจากก้านใบ เกิดอาการใบเหี่ยวและแห้งได้ ส่วนลำต้นและยอด แผลที่ลำต้นจะเป็นแผลที่ดำตรงบริเวณข้อต่อกับก้านใบและมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม แผลจะขยายตัวไปสู่ส่วนยอดทำให้ยอดเหี่ยวแห้งลงมา

การป้องกันกำจัด

–  ใช้พันธุ์ต้านทาน

–  การใช้ท่อนพันธุ์ปลอดโรค

–  ปลูกพืชหมุนเวียน

–  ไถกลบเศษซากมันสำปะหลังลึก ๆ ช่วยลดประชากรเชื้อโรคในดินได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ด้วงเต่าตัวห้ำ เป็นแมลงห้ำทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สามารถทําลายศัตรูพืชได้หลายชนิด ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน ไข่ของผีเสื้อ หนอนขนาดเล็ก และแมลงหวี่ขาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถกินไรศัตรูพืช และบางชนิดกินเชื้อราเป็นอาหาร ด้วงเต่าทั่วไปมีปากแบบ ปากกัด ตัวเต
ความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องปักดำ นาหว่าน มีปัญหาข้าวดีด,หญ้าวัชพืชและผลผลิตต่ำ ในการขาดแคลนแรงงานคนในช่วงเวลาปักดำ รวมทั้งมีค่าจ้างแรงงานสูง เป็นปัญหาที่สำคัญในการปลูกข้าว โดยเฉพาะในท้องที่ที่ยังคงปลูกข้าวด้วยวิธีปักดำ การใช้รถดำนาจึงเป็นวิธีที่ช่วยแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
พืชทุกชนิดมีความต้องการธาตุอาหารในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การใช้ปุ๋ยให้ถูกวิธี และให้สูตรปุ๋ยได้ตรงตามความต้องการของพืช จะช่วยเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพและได้ปริมาณสูงสุด บทความนี้ KAS (KUBOTA (Agri) Solutions) จะมาเจาะลึกเกี่ยวกับปุ๋ยประเภทต่าง ๆ ที่เกษตรกรยุคใหม่ควรรู้ พร้อมแนะนำวิธีการใช้ปุ๋ยให้เกิดประโยชน์สูงสุด