โรคแส้ดํา (Smut disease)

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Ustilago scitaminea

การระบาด

1.  การระบาดเป็นไปอย่างกว้างขวางโดยทางท่อนพันธุ์จากกอที่เป็นโรค

2.  เชื้ออยู่ในดินและสามารถเข้าทําลายอ้อยที่ปลูกใหม่ได้

3.  เชื้อสามารถแพร่กระจายได้โดยลมและเข้าทําลายพันธุ์ที่อ่อนแอได้

ลักษณะอาการ

อ้อยจะแตกยอดออกมาเป็นแส้สีดําแทนยอดปกติ ต้นแคระแกรนผอม ข้อสั้นใบเล็กแตกกอจัด เมื่อเป็นรุนแรงอ้อยจะแห้งตาย ผลผลิตลดลงเกินกว่า 10 %

การป้องกันและการกําจัด

1.  เลือกใช้พันธุ์ต้านทานเช่น อู่ทอง1 อู่ทอง2 อู่ทอง3 อู่ทอง4

2.  ไม่ควรใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาด

3.  ในพื้นที่มีการระบาด ถ้าเลือกใช้พันธุ์ที่ไม่ทราบข้อมูลความต้านทาน ควรแช่ท่อนพันธุ์ ในสารเคมีเช่นไตรอะไดมีฟอน (ไบลีตัน 25% WP) โปรปิโคนาโซล (ทิลท์เดสเมล) อัตรา 48 กรัมต่อน้ำ 20  ลิตร นาน 30 นาทีก่อนปลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประวัติ ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 86-1 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2548-2554 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมที่มีผลผลิตสูง และคุณภาพการบริโภคดี เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 กับสายพันธุ์แท้เบอร์ 50 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูกผสมตามขั้นตอนของกรมวิชา
การให้น้ำแก่ถั่วลิสงต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำที่ให้อย่างเหมาะสมกับความต้องการใช้น้ำของต้นถั่วลิสงที่ช่วงอายุการเจริญเติบโตต่าง ๆ การปลูกถั่วลิสงในประเทศไทย มีปริมาณความต้องการใช้น้ำชลประทาน 700 – 900 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ วิธีการให้น้ำ ในการปลูกถั่วลิสงหลังนา เกษตรกรนิยมให้น้ำแบบปล่อยตามร่อง