โรคเหี่ยว (Wilt)

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Cephalosporium, Fusarium  และ Acremonium

การระบาด

1.  ทางท่อนพันธุ์

2.  เชื้อราอยู่ในดินและเศษซากจะเข้าทําลายอ้อย เมื่อปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอ

3.  โรคจะแพร่กระจายไปทางดินลม ฝน และน้ำชลประทาน

ลักษณะอาการ

อ้อยจะแสดงอาการใบเหลืองโทรม ต่อมาต้นจะแห้งตาย เมื่อตรวจดูบริเวณรากจะพบอาการรากเน่า อาจจะพบอาการช้ำเน่าในลําร่วมกับรากเน่าหรือพบแต่อาการรากเน่าอย่างเดียวก็ได้ มักจะพบระบาดกับพันธุ์มากอส แต่ในปัจจุบันเริ่มพบระบาดกับพันธุ์อ้อยอื่นๆที่ปลูกเป็นการค้า

การป้องกันกําจัด

1.  เนื่องจากเชื้อราสาเหตุเป็นเชื้อในดินการป้องกันกําจัดค่อนข้างยาก ดังนั้นวิธีการที่ ได้ผลดีที่สุดคือการใช้พันธุ์ต้านทานปัจจุบันพันธุ์ที่พบว่าเป็นโรคน้อยคือ เค 90-77 และอู่ทอง4

2.  ถ้าพบการเกิดโรคเป็นหย่อมๆ ใช้สารเคมีฉีดพ่นหรือราดบริเวณกอที่เป็น จะช่วยลดความรุนแรงของการเกิดโรคลงได้สารเคมีที่ใช้ได้แก่ เบนโนมิลและไธอะเบนดาโซล ความเข้มข้น 500 ppm.

3.  ในกรณีที่เป็นโรคกระจายทั่วทั้งแปลง ไม่แนะนําให้ใช้สารเคมีเนื่องจากไม่คุ้มกับการลงทุน ควรไถคราดตอที่เป็นโรคออกเผาทิ้งพักดินตาก แล้วเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหรือปลูกอ้อยพันธุ์ที่ต้านทาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

รถติดหล่ม รถไถแทรกเตอร์ติดหล่ม ปัญหาใหญ่ของการทำนาด้วยเครื่องจักรกลทางการเกษตร หากเกิดขึ้นมา อาจรบกวนเวลาการทำงานเป็นอย่างมากอีกทั้งยังทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย แต่จริง ๆ แล้วปัญหารถติดหล่มสามารถแก้ไขเองได้ไม่ยาก โดยบทความนี้ KUBOTA (Agri) Solutions ได้นำขั้นตอนการแก้ไขปัญหารถติดหล่มมาให้ถึง 6 วิธี จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย
การใส่ปุ๋ย สูตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตาราง ตารางแสดงสูตรปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง หมายเหตุ ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยเม็ดเป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยผสม
เกษตรอินทรีย์ คือเกษตรคุณธรรม เป็นคำกล่าวของคุณสมัย คูณสุข อาศัยที่บ้านเลขที่ 34 หมู่ที่ 6 บ้านดงบัง ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี เกษตรผู้ปลูกสมุนไพรอินทรีย์แห่งบ้านดงบัง เพื่อส่งผลผลิตขายให้กับโรงพยาบาลอภัยภูเบศรเป็นหลัก จุดเริ่มต้นก่อนการปลูกพืชสมุนไพรชาวบ้านส่วนใหญ่เริ่มทำนามาก่อน จาก