ระบาดรุนแรง ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เช่น ในเขตชลประทานหรือพื้นที่นา ทำให้ผลผลิตเสียหาย 30 – 100 เปอร์เซ็นต์ มีผลทำให้ CCS ลดลง โดยโรคเหี่ยวเน่าแดง เกิดจากการทำลายของเชื้อรา 2 ชนิด คือ Fusarium moniliforme และ Colletotrichum falcatum
เชื้อ Fusarium moniliforme อยู่ในดิน สามารถเข้าทำลายอ้อยได้ทางรากและโคนต้น ส่วนเชื้อ Colletotrichum falcatum สามารถเข้าทำลายอ้อยได้ตามรอยแผลที่เกิดจากหนอนหรือแผลแตกของลำ หรือทางรอยเปิดธรรมชาติ หากเกษตรกรปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์อ้อยที่ติดโรคเหี่ยวเน่าแดง จะทำให้การระบาดกระจายในวงกว้างและยากต่อการป้องกันกำจัด
ลักษณะอาการ
อ้อยจะเหี่ยวตายฉับพลันยืนต้นแห้งตายไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
1. ระยะแรกอายุ 4-5 เดือน อ้อยใบเหลือง ขอบใบแห้ง
2. อ้อยจะยืนต้นแห้งตายเป็นกอ ๆ จนถึงระยะเก็บเกี่ยว
3. เมื่อผ่าในลำจะเห็นเนื้ออ้อยเน่าช้ำเป็นสีแดงเป็นจ้ำ หรือเนื้ออ้อยเน่าเป็นสีน้ำตาลปนม่วง
การป้องกันกำจัด
เมื่อพบการระบาด ก่อนการเก็บเกี่ยว
1. เร่งระบายน้ำแปลงที่มีน้ำขัง
2. งดการเร่งปุ๋ยและน้ำ
3. รีบตัดอ้อยเข้าหีบ
การจัดการแก้ไขหลังเก็บเกี่ยว
1. รื้อแปลงทิ้ง
2. ทำลายซากตอเก่า โดยการคราดออกและเผาทิ้ง
3. ตากดิน ประมาณ 3 ครั้ง
4. ปลูกพืชสลับ เช่น ข้าวหรือกล้วยก่อนปลูกอ้อยฤดูใหม่
5. ปลูกพันธุ์ที่ต้านทาน เช่น ขอนแก่น 3 หรือ แอลเค 92-11
6. คัดเลือกพันธุ์ที่สมบูรณ์ จากแหล่งที่ไม่เป็นโรค หรือเตรียมแปลงพันธุ์ด้วยตนเอง
7. ถ้าไม่แน่ใจว่าพันธุ์ต้านทานหรือไม่ ก่อนปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรค ดังนี้
– เบนโนมิล (เบนเลท 25% WP) อัตรา 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
– ไธโอฟาเนท-เมททิล (ทอปซินเอ็ม 50%) อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
– โปรพิโคนาโซล (ทิลท์ 250EC) อัตรา 16 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร