1. โรคไหม้ดำเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ในสภาพฝนตกชุกและความชื้นสูง ทำความเสียหายกับงาในระยะเจริญเติบโตถึงเก็บเกี่ยว
การป้องกัน : ไม่ควรปลูกงาซ้ำที่เดิม ปลูกพืชไม่อาศัยของโรคหมุนเวียนกับงา ถอนต้นที่เริ่มแสดงอาการและเผาทำลายนอกแปลงปลูก ควรปลูกพันธุ์ทนทานต่อโรค เช่น พันธุ์อุบลราชธานี 1
2.โรคเน่าดำเกิดจากเชื้อรา Macrophomina phaseolina ระบาดในทุกแหล่งที่มีการปลูกงา ตั้งแต่
การป้องกัน : ควรไถตากดินทิ้งไว้ก่อนปลูกงา ปลูกพืชหมุนเวียน เผาทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยเบนโนนิล หรือแคปเทน หรือใช้สารดังกล่าว อัตรา 15-20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดโคนต้นพืช เมื่องาอายุ 15 30 และ 45 วัน
1. โรคยอดฝอยเกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา (Mycopl sma) โดยมีเพลี้ยจักจั่นเป็นพาหะถ่ายทอด เชื้อโรคนี้ไม่ถ่ายทอดทางเมล็ด
การป้องกัน : ถอนและทำลายต้นที่เป็นโรค กำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด ไม่ควรปลูกงาล่าช้าออกไปถึงเดือนพฤษภาคม ป้องกันเพลี้ยจักจั่น โดยฉีดพ่นด้วยสารไตรอะโซฟอส หรือคาร์
1. โรคราแป้งเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. พบระบาดมากในสภาพอากาศเย็น และแห้ง
การป้องกัน : กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อรา กำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรค ฉีดพ่นด้วยสารเบนโนมิล อัตรา 15-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร