โรคขาดธาตุแมกนีเซียม (Mg)

การขาดธาตุแมกนีเซียมของอ้อย จะแสดงอาการที่ใบแก่ โดยเกิดผลแห้งตายสีแดง ทำให้มองเห็นว่าเป็นสีสนิมเกิดขึ้น การขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรง ลำต้นอ้อยจะมีการแคระแกร็นทำให้เกิดเป็นสีสนิมอย่างรุนแรง และมีสีน้ำตาล โดยภายในลำต้นนั้นจะกลายเป็นสีน้ำตาลได้ ซึ่งสนิมที่เกิดขึ้นสามารถแพร่กระจายไปทั่วทั้งแผ่น และอาจทำให้ใบแก่นั้นเกิดการหลุดหักร่วงก่อนอายุจริง

ลักษณะอาการโรค

อ้อยที่ขาดแมกนีเซียม จะมีจุดประ คล้ายสนิมเหล็ก ทั่วบริเวณด้านบนของใบภายในลำอ้อย  หากผ่าดูจะมีสีน้ำตาล ทำให้ใบแก่ หลุดร่วงก่อนอายุ ลำต้นอาจแคระแกร็น ลักษณะคล้ายกับอ้อยขาดแคลเซียมมาก ลำต้นเล็ก ปล้องสั้น

การป้องกันกำจัด

การขาดแมกนีเซียม มักเกิดในดินทรายและดินที่มีโพแทสเซียมสูง ซึ่งการใส่โพแทสเซียม ในอัตราสูง จะทำให้เกิดการขาดแมกนีเซียม ในขณะที่ดินที่มีแมกนีเซียมต่ำ ปุ๋ยที่ให้แมกนีเซียม ได้แก่ โดโลไมท์ แมกนีไซต์ และแมกนีเซียมซัลเฟต ซึ่งจะดีกว่าการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในปริมาณมาก เพราะจะทำให้อ้อยขาดแมกนีเซียมมาก ในทางกลับกันอ้อยที่ขาดแมกนีเซียมสูง (มากกว่า 0.35 – 0.6%) และมีระดับของไนโตรเจนที่สูง (3.5 – 4.0%) อ้อยอาจแสดงการขาดโพแทสเซียมถ้ามีแมกนีเซียมมากกว่า 0.6% จะเกิดแมกนีเซียมเป็นพิษ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแต่ละฤดู นอกจากจะเกิดการสูญเสียธาตุอาหารพืช ในเมล็ดที่เคลื่อนย้ายออกไปจากนาแล้ว หากมีการเผาหรือนำฟางไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทน จะทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารพืชในดินมากยิ่งขึ้น ดินจะมีธาตุอาหารพืชลดลง และเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร ส่งผลให้ดินเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ส่งผลกระทบต่อ
ในช่วงนี้เป็นฤดูฝน สภาพอากาศมีความชื้นสูงซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราไฟท๊อปธอร่าสาเหตุโรค ใบร่วงของยางพารา เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงยางพาราอย่างสม่ำเสมอ และเฝ้าระวังการระบาดของโรคใบร่วงจากเชื้อราไฟท๊อปธอร่า เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Phytophthora botryosa chee, Phytophthora palmivora (Butl.)
ถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้ประโยชน์ทั้งเป็นพืชบำรุงดิน และขายเป็นรายได้สำหรับเกษตรกร นำมาปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวได้ทั้งในพื้นที่อาศัยน้ำชลประทานและไม่อาศัยน้ำชลประทาน แต่การปลูกถั่วลิสงหลังเก็บเกี่ยวข้าวโดยไม่อาศัยน้ำชลประทานสามารถทำได้ในบางพื้นที่เท่านั้น 1. การเลือกพื้นที่ปลูก พื้นที่ทำนา