เห็ดเรืองแสง คือเห็ดที่สามารถเรืองแสงหรือเปล่งแสงได้ในที่มืด จัดเป็นเห็ดที่มีลักษณะพิเศษ คือมีแสงในตัวเอง โดยแสงที่เปล่งออกมาเป็นกลไกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่มีแสงหรืออยู่ในที่มืด ส่วนใหญ่เรืองแสงสีเขียวอมฟ้า หรือสีเขียวอมเหลือง ตามชนิดของเห็ด การเปล่งแสงเพื่อดึงดูดให้แมลงที่หากินในเวลากลางคืนเข้ามาหาดอกเห็ด และพาสปอร์ของเห็ดติดไปกับตัวแมลง ซึ่งเป็นการช่วยแพร่กระจายสปอร์
กลไกการทำลายศัตรูพืช
สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี ที่มีผลต่อการตายของตัวอ่อนระยะที่ 2 (J2) ของไส้เดือนฝอยรากปม ซึ่งเป็นระยะสำคัญที่ทำให้พืชเป็นโรครากปม คือ สารออริซิน เอ (aurisin A) ซึ่งสารนี้มีผลต่อระบบประสาทของไส้เดือนฝอยทำให้ไส้เดือนฝอยไม่สามารถเคลื่อนที่และ ตายในที่สุด นอกจากนี้ในเส้นใยของเห็ดเรืองแสงยังมีสาร ออกฤทธิ์อื่น ๆ เช่น nambinones A-D, 1-epi-nambinone และ aurisin K เป็นต้น ซึ่งมีผลในการยับยั้งการฟักไข่ และฆ่าตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยรากปมได้อีกด้วย
โรครากปม (Root Knot) เชื้อสาเหตุเกิดจาก ไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) ซึ่งเป็นศัตรูพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ แพร่กระจายอยู่ทั่วโลก และเป็นหนึ่งในสาเหตุโรคพืชที่สำคัญ ลำดับต้น ๆ เนื่องจากสามารถทำความเสียหายต่อพืชมากมายหลายชนิด มีพืชอาศัยกว้างและยังสามารถก่อโรคร่วมกับเชื้อโรคพืชชนิดอื่น ๆ อีกด้วย ไส้เดือนฝอยรากปมเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ลอกคราบครั้งแรกในไข่ จากตัวอ่อนระยะที่ 1 เป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 และจะฟักออกมาจากไข่เพื่อเข้าทำลายรากพืช ตัวอ่อนระยะที่ 2 จะชอนไชเข้ารากพืชไปฝังตัวอยู่บริเวณท่อลำเลียงน้ำและอาหาร จากนั้นจะลอกคราบอีก 3 ครั้ง และเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยเพศเมียออกไข่เป็น กลุ่มประมาณ 300 – 500 ฟอง อยู่ในถุงไข่ และไข่สามารถ ฟักออกเป็นตัวได้โดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์ ไข่ของไส้เดือ
การใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช
นำก้อนเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีที่มีเส้นใยเจริญเต็มก้อน ขยี้หรือทุบให้เส้นใยแยกออกจากกัน เก็บในถุงพลาสติกที่สะอาด ปริมาณเชื้อเห็ดเรืองแสง 2 ใน 3 ส่วน/ถุง ปิดปากถุงพอหลวม ๆ เพื่อให้มีออกซิเจนเพียงพอให้เส้นใยใหม่เจริญ วางไว้ในอุณหภูมิห้องประมาณ 3–5 วัน จะพบเส้นใยใหม่ สีขาวเจริญออกมาก สามารถนำไปใช้ในแปลงปลูกพืชได้
อัตราการใช้กับพืช
- พริก มะเขือเทศ ใช้อัตรา 10 กรัม/ต้น รองก้น หลุมก่อนปลูก หากปลูกพืชไปแล้วพบการระบาดของโรครากปมให้ไถหน้าดินลึกประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นโรยรอบทรงพุ่มในอัตรา 30 กรัม/ต้น แล้วกลบ
- มันฝรั่ง ใช้อัตรา 220 กิโลกรัม/ไร่ ผสมกับปุ๋ยรองพื้นโรยพร้อมปุ๋ยก่อนปลูก
- พริกไทย ใช้อัตรา 50 กรัม/ต้น รองก้นหลุมก่อนปลูก หากปลูกพืชไปแล้วพบการระบาดของโรครากปมให้ไถหน้าดินดินลึกประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นโรยรอบทรงพุ่มในอัตรา 50 กรัม/ต้น แล้วกลบ
- มันสำปะหลังหว่าน อัตรา 160 กิโลกรัม/ไร่ ก่อนไถยกร่อง
- พืชในวงศ์ผักชี และผักกาดหอม ใช้อัตรา 40 กรัม/ตารางเมตร
- ฝรั่ง ใช้อัตรา 30 กรัม/ต้น รองก้นหลุมก่อนปลูก หากปลูกพืชไปแล้วพบการระบาดของโรครากปมให้ไถหน้าดินลึกประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นโรยรอบทรงพุ่ม ในอัตรา 70 กรัม/ต้น แล้วกลบ
- เมล่อน ใช้อัตรา 30 กรัม/ต้น รองก้นหลุมก่อน ปลูกหากปลูกพืชไปแล้วพบการระบาดของโรครากปมให้ไถหน้าดินลึกประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นโรยรอบทรงพุ่ม ในอัตรา 50 กรัม/ต้น แล้วกลบ
ข้อดี
- มีประสิทธิภาพสูง ทดแทนการใช้สารเคมีได้
- มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์ สัตว์ สิ่งแวดล้อม และไม่มีสารพิษตกค้าง
- เกษตรกรสามารถนำไปผลิตขยายใช้เองได้
- ลดต้นทุนในการผลิตพืช
- ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
- มีอายุการเก็บรักษาได้นานถึง 12 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง โดยสภาพก้อนไม่ย่อยสลาย
- ชีวภัณฑ์เห็ดเรืองแสงมีความคงทน สามารถเจริญ และสร้างสารในดินได้เป็นเวลานาน ซึ่งต่างจากสารเคมีที่มี การเสื่อมและไม่คงทน
ข้อจำกัด
- อัตราและวิธีการใช้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดพืช และความเหมาะสมของพื้นที่
- ควรเก็บชีวภัณฑ์เห็ดเรืองแสงให้พ้นแสงแดด
- วิธีการใช้ต้องแซะหรือไถหน้าดินและกลบเพื่อให้ชีวภัณฑ์เห็ดเรืองแสงพ้นจากแสงแดด