เกษตรกรรมปลอดภัย ด้วยสมุนไพรไทย ๆ ใกล้ตัว

“ในชีวิตประจำวันของทุกท่าน ได้รับประทานสมุนไพรบ้างหรือไม่ อ่ะๆ อย่าเพิ่งบอกว่าไม่ เพราะหลายสิ่งรอบตัวที่รับประทานกันทุกวัน ล้วนมีสมุนไพรอยู่มากมาย ตั้งแต่พริก กระเพรา กระเทียม ขิง ข่า ตะไคร้ ไปจนถึง ใบมะกรูด แต่สมุนไพรเหล่านี้เมื่อมนุษย์รับประทานก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่ตรงกันข้ามหากนำไปใช้กับ โรคและแมลง ศัตรูพืช นี่คือสารป้องกันกำจัด ที่มีประสิทธิภาพ แถมปลอดภัยต่อผู้ใช้ และสบายใจผู้รับประทานด้วย”

จะกล่าวถึงคุณประโยชน์ของการใช้พืชสมุนไพรมาทำเป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชนั้น ก็มีมากมายพอจะสาธยายได้ดังนี้คือ เนื่องจากพืชสมุนไพรหลายชนิดเราใช้บริโภคกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เพราะได้ผ่านการกลั่นกรองจากบรรพชนมาแล้ว แต่บางชนิดก็อันตรายห้ามเข้าใกล้ หรือห้ามรับประทาน อาทิเช่น กลุ่มสมุนไพรเครื่องแกงกินได้อร่อยดีก็เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก พริกไทย ใบกระวาน หอมกระเทียบ ส่วนกลุ่มอันตรายทานไม่ได้ก็เช่น หนอนตายอยาก มะกล่ำตาหนู อุตพิด และกลุ่มอันตรายสุดๆ ก็เช่น ลังตังช้าง หมามุ่ย แต่หากเครื่องยาสมุนไพรไทยแต่โบราณท่านกล่าวขานเล่ามานาน ว่าพืชทุกชนิดเป็นสมุนไพร แต่การใช้ การทำ ต้องใช้วิธีกรรม ในการทำแตกต่างกันไป ต้องรู้ต้องเข้าใจว่าสิ่งใด ทำอย่างไร ใช้อย่างไร จึงจะเกิดคุณ

หากแต่สมุนไพรยังมีคุณอนันต์ ที่ช่วยพลิกผันวิธีเกษตรกรรมไทย ให้ก้าวไกล ปลอดภัยจากพิษภัยของสารเคมี แต่มันก็มีกรรมวิธี และมีขั้นตอนที่ต้องจดจำเพื่อนำไปใช้ให้ถูกใจคนทำ ถูกวิธีกรรม ถูกขั้นตอน ถูกเป้าหมาย ดังนั้นคงจะไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลง บรรเลงกันเลยแล้วกันน่ะครับ การสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรมีด้วยกันคราวอยู่ 5 สูตร ดังนี้

สูตรที่ 1 หมักในเอ็ทธิลแอลกอฮอล์

สูตรที่ 2 หมักกับเหล้าขาว 750 มิลลิลิตร + น้ำส้มสายชู 150 มิลลิลิตร

สูตรที่ 3 หมักกับน้ำ 20 ลิตร + เหล้าขาว 750 มิลลิลิตร + น้ำส้มสายชู 150 มิลลิลิตร

สูตรที่ 4 หมักกับน้ำ 20 ลิตร + กากน้ำตาล 500 มิลลิลิตร + น้ำจุลินทรีย์ 100 มิลลิลิตร 

สูตรที่ 5 หมักด้วยน้ำเปล่า

ตัวอย่างสมุนไพรสกัดสูตร พ่อรุจีย์ ภูผาทอง ส่วนผสมที่ใช้ได้แก่

วิธีทำ

1. บด/สับ/ตำ สมุนไพรทั้งหมดที่เตรียมไว้อย่างละ 1 – 3 กิโลกรัม (ควรมีสมุนไพรในสูตรอย่างน้อย 5 ชนิด เพื่อให้ครอบคลุมชนิดของศัตรูพืช) แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ยิ่งชิ้นส่วนมีขนาดเล็กก็จะได้น้ำสกัดที่เข้มข้น 

2. บรรจุในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะขนาด 50 ลิตร เติมส่วนผสมตามสูตรที่ต้องการให้ท่วมสมุนไพร 2 – 5 เท่า (กรณีนี้ใช้ สูตรที่ 4 หมักกับน้ำ 20 ลิตร + กากน้ำตาล 500 มิลลิลิตร + น้ำจุลินทรีย์ 100 มิลลิลิตร) ถ้าต้องการเร่งให้สารสกัดหมักได้เร็วขึ้น และสกัดสารสำคัญจากพืชได้มากขึ้นควรใส่ พด.7 ผสมเข้าไปในการหมักด้วย จากนั้นคนให้เข้ากันอีกครั้ง แล้วกดให้ชิ้นส่วนสมุนไพรจมตลอดเวลา อาจใช่ถุงพลาสติกใส่น้ำมัดปากใส่ทับลงไป หรือใช้ไม้ไผ่สานขัดทับไว้ก็ได้

3. เก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิห้อง คนหรือเขย่าวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น หมักนาน 7 – 10 วัน เริ่มนำไปใช้ได้ โดยน้ำสกัดที่ได้คือ “หัวเชื้อ”

อัตราการใช้

อัตราปกติน้ำ “หัวเชื้อ” 20 – 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่นให้โชกชุ่มทั่วทั้งทรงพุ่มครอบคลุมพื้นที่ที่โรคแมลงระบาด ฉีดทุก 3 – 5 วัน (หัวเชื้อใหม่ๆ มีสารออกฤทธิ์แรงมาก)

การใช้อัตราเข้มข้นเกินไป อาจทำให้ใบไหม้ ดังนั้นจึงควรทดลองใช้กับพืชตัวอย่าง 2 – 3 ต้น ก่อน 1 – 2 ครั้ง แล้วสังเกตดูอาการพืช หากใบพืชมีอาการไหม้ หรือเหี่ยวเฉา ให้ลดปริมาณหัวเชื้อลง หรือแมลงยังคงระบาดอยู่ ให้พิจารณาเพิ่มหัวเชื้อใช้ขึ้นอีกตามความเหมาะสม

ข้อแสดงการออกฤทธิ์ของสมุนไพรอื่นๆ แต่ละชนิด ที่มีฤทธิ์ต่อโรค และแมลงศัตรูพืช เพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจง่าย จดจำได้ดี โดยขอนำเสนอในรูปแบบวิธีแบบตาราง อาจจะไม่ครบทุกพืชแต่เลือกมาเฉพาะพืช ที่หาง่ายและใช้บ่อย เพื่อให้ทุกท่านนำไปใช้สอย ได้ตามสะดวก

การออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงของสมุนไพรต่อโรคและแมลง
ชนิดพืชสมุนไพรความสามารถในการควบคุมศัตรูพืชชนิดต่างๆขมิ้นชันหนอนกินช่อ เพลี้ยไฟ ไรขาว ไรแดง เพลี้ยจั๊กจั่นสบู่ต้นหนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนแปะใบ หนอนแก้วตะไคร้หอมหนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนใย หนอนหลอด หนอนม้วนใบ ราแป้ง หนอนเจะยอด/ดอก/ผล ราสนิม ราน้ำค้างกระเทียมเพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิมสะเดา + ข่าแก่ + ตะไคร้หอมเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เต่าแดง หนอนต่างๆ ราแป้ง ราน้ำค้าง รากเน่าโคนเน่า โรคใบหด/ด่าง/ไหม้ รากปม(ไส้เดือนฝอย) เชื้อราแอนแทร็กโนส โรคเหี่ยวสะเดา + หางไหล + ยาสูบหมัดกระโดด หอยเจดีย์ หอยทาก หนอนใย หนอนกระทู้ หนอนคืบ เต่าแดง ราใบจุด ราน้ำค้างใบมะเขือเทศสดด้วงหมัดผัก หนอนเจาะต้น ไส้เดือนฝอย หนอนใยยาสูบ/ยาฉุนเพลี้ย ไร รา ด้วงหมัดผัก ด้วงเจาะสมอ หนอนกะหล่ำ หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนกระทู้พริกสดโรคจากไวรัสทุกชนิด ขับไลแมลงใบแก่มะรุม(รองก้นหลุม) ราในดิน รากเน่า โคนเน่า ผลเน่า (แตง ฟัก) เน่าคอดิน (คะน้า แง่งขิงแก่)สาบเสือหนอนกระทู้ หนอนใย เพลี้ยกระโดด เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น

ที่เล่าแจ้งแถลงไขมาในครั้งนี้ อาจเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนให้เห็นผล แต่สิ่งใดที่เราทุกๆ คน ค่อยๆ ทำคอยฝึกฝนจนมันชิน ก็จะพบทางออกแสงสว่าง เปิดทางกว้างทำได้ไม่ฉงน ถ้าทำจริงทำจังกันทุกที่ ทุกมวลชล จะเกิดผลมหัศจรรย์ขึ้นทันที การทำการเกษตรอินทรีย์ ที่ปลอดภัยต่อชีวิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอาจจะไม่ง่ายสะดวกสบายเท่ากับการใช้สารเคมีที่ทุกคนทำกันจนชิน จนเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ภัยร้ายที่ซ่อนเร้นนั้นจะค่อยๆ ดูดชีวิต ดูดเงินตราของท่านทั้งหลายไปเรื่อยๆ การหันกลับสู่วิถีดั้งเดิมแล้วเพิ่มเทคนิคใหม่ๆ หันมาพึ่งธรรมชาติ จนทำให้วิถีอินทรีย์เป็นธรรดา จะตอบปัญหาที่ท่านสงสัยในใจว่า มันทำได้หรือ? ด้วยตัวของมันเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5. ชุดดินโคราช (โคราช series : Kt) กลุ่มชุดดินที่ 35 การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือเคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินตะกอนเนื้อหยาบพวกหินทรายบริเวณพื้นที่เกือบราบหรือที่เกือบราบ (peneplain)
โรคใบไหม้แผลใหญ่ (Northern Corn Leaf Blight) เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Exserohilum turcicum อาการ : อาการเริ่มแรกพบแผลขนาดเล็กสีคล้ายฟางข้าวบนใบข้าวโพด ต่อมาแผลจะขยายมีขนาดใหญ่สีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อนยาวตามใบข้าวโพดหัวท้ายเรียวคล้ายรูปกระสวย เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม จะพบอาการแผลบนใบข้าวโพดหลายแผลต
เกษตรทฤษฎีใหม่ แนวคิดการเกษตรตามรอยพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยทำงานน้อยลงแต่ได้ผลลัพธ์มากขึ้น พออยู่ พอกิน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งบทความนี้ KAS (KUBOTA (Agri) Solutions) จะมาอธิบายเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ว่าคืออะไร ต้องทำแบบไหน มีข้อดีอย่างไร จะมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย