เกษตรกรยุคใหม่ใช้ KAS application

เกษตรกรยุคใหม่ใช้ KAS application

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาประยุกต์ในหลายๆศาสตร์ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คงหนีไม่พ้นศาสตร์แห่งการเกษตร ศาสตร์ที่จะทำให้เกิดความอยู่ดีกินดีของคนในชาตินั่นเอง

วันนี้ทางสยามคูโบต้าฯ มีโอกาสได้สัมภาษณ์เกษตรกรแนวคิดก้าวหน้าใน อ.แม่จัน จ.เชียงราย คุณพัชรินทร์ ต๊ะต้องใจ เจ้าของไร่สุภาวิตา ถือเป็นเกษตรกรยุคใหม่ที่เปิดใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในการปลูกข้าวในพื้นที่กว่า 48 ไร่ เริ่มต้นสนใจการใช้งาน KAS application มาจากการแนะนำของทีม KAS ที่เข้าไปส่งเสริมการเพาะปลูกกับเกษตรกรในพื้นที่ อีกทั้งเกษตรกรยังเป็นสมาชิกกลุ่มของนาแปลงใหญ่ ในจังหวัดเชียงรายซึ่งมีเกษตรกรในกลุ่มกว่า 80 ครัวเรือน โดยทางกลุ่มได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน GAP รวมถึงการลดต้นทุน และการเพิ่มผลผลิต ในรูปแบบของการรวมกลุ่มแบบแปลงใหญ่ โดยมีเป้าหมายกระดับไปสู่การผลิตข้าวอินทรีย์อีกด้วย เกษตรกรจึงมีความสนใจที่จะวางแผนการเพาะปลูกอย่างเหมาะสม รวมถึงตัวเกษตรกรเองมีการจดบันทึกการปฏิบัติงานในการเพาะปลูกอยู่เสมอ ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการจดจำและสามารถนำไปใช้ได้ทันที KAS application ถือเป็นเครื่องมือใหม่ ที่ตอบโจทย์การใช้งานให้กับเกษตรกรได้อย่างแท้จริง

เกษตรกรเริ่มต้นใช้งาน application เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อวางแผนการเพาะปลูกทั้งหมด 8 แปลง โดยปลูกข้าวเป็นหลัก ข้าวที่ปลูกเป็นหลักคือ กข6 กข15 ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และพันธุ์พื้นเมือง เช่นหอมแม่จันทร์ เนื่องจากเป็นพันธุ์แนะนำในพื้นที่ดังกล่าว มีการเพาะปลูกปีละ 2 ครั้ง ทั้งนาปีและนาปรัง จากการเพาะปลูกนาปีจบฤดูกาลแล้วมีการปลูกถั่วและปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อไถกลบบำรุงดิน ตามวิธีการแนะนำแบบ KAS อีกด้วย

KAS ถือเป็นเป็นเครื่องมือในการทำการเกษตรที่เป็นตัวช่วยสำหรับเกษตรกรเป็นอย่างมาก ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด นอกจากนี้ยังสามารถเรียนรู้วิธีการเพาะปลูกตามวิธีการ KAS ที่ทางสยามคูโบต้าแนะนำ และยังสามารถปรับเปลี่ยนขั้นตอนในปฏิทินการเพาะปลูกที่เหมาะสมตามพื้นที่ของตนเอง ที่สำคัญเดิมเกษตรกรมีการบันทึกข้อมูลทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายด้วยการจดบึนทึกใส่สมุด ปัจจุบันมีการบันทึกข้อมูลผ่าน applications สามารถทำให้เกษตรกรทำงานได้ง่ายขึ้น และยังสามารถดึงรายงานสรุปได้จากแอปพลิเคชัน ที่แสดงภาพรวมของการเพาะปลูก เช่น วันที่เริ่มเพาะปลูกถึงวันสิ้นสุดการเพาะปลูก สรุปขั้นตอนปฏิทินเพาะปลูกทั้งหมด สรุปรายรับ รายจ่ายที่เกิดขึ้น และสรุปผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูก เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำรายงานสรุปไปพัฒนาการเกษตรของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างดีที่สุด

KAS ยังเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลด้านการเกษตร องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรไทยสู่ยุคดิจิตอล เพื่อก้าวสู่ เกษตร 4.0 ให้เกษตรกรมั่นคง ภาคการเกษตรมั่งคั่ง สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้แนวคิด Thailand 4.0 เต็มประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันการค้าข้าวอินทรีย์ยังมีปริมาณน้อยแต่แนวโน้มการบริโภคข้าวอินทรีย์มีมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงความปลอดภัยด้านอาหารและสิ่งแวดล้อม การผลิตข้าวเพื่อการค้าโดยทั่วไปจะไม่มีการรับผิดชอบร่วมกัน ดังภาพที่ 1 ส่วนการผลิตข้าวอินทรีย์ เกษตรกรควรรวมตัวกันเพื่อวางระบบการผลิตและการตลาด ซึ่งจะส่งผล
เป็นกระแสรุนแรง สำหรับค่าฝุ่นละอองของประเทศไทยในช่วงนี้ เราได้ยินคำว่า PM 2.5กันทุกวัน ทำให้คนไทยมีความตระหนักถึงอันตรายของฝุ่นละออง PM 2.5กันมากขึ้น ความหมายของ PM คือ Particulate Matter ฝุ่นละอองที่ลอยฟุ้งอยู่ในอากาศ เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบง่ายๆ คือมลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า
เพลี้ยแป้ง (rice mealy bug) เพลี้ยแป้งเพศเมียไม่มีปีก ลำตัวเป็นปล้องค่อนข้างสั้นยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร มีผงแป้งคลุมอยู่ภายนอก มักพบเป็นกลุ่มระหว่างกาบใบและลำต้นข้าว มักอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหวเมื่อฉีกกาบใบดูจะพบแมลงมีสีขาวคล้ายแป้งปกคลุม และเมื่อเอาส่วนแป้งที่ปกคลุมอยู่จะพบ