หนอนชอนใบอ้อย (แมลงดำหนามอ้อย)

หนอนชอนใบอ้อย (แมลงดำหนามอ้อย)

(Sugarcane hispid beetle)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Rhadinosa reticulate Baly

วงศ์ : Hispidae

รูปร่างลักษณะ :

หนอนชอนใบอ้อย หรือ แมลงดำหนามอ้อย เป็นด้วงปีกแข็งมีขนาดเล็ก ตัวยาว 3-4 มิลลิเมตร มีสีดำ บนหลังและปีกมีหนามแข็งยาวแหลมอยู่ทั่วไป ตัวเมียวางไข่ใบเดี่ยว ๆ ไว้ใต้พื้นผิวใบ ไข่ฟักเป็นตัวในเวลา 5-8 วัน ระยะตัวหนอน 12-15 วัน ระยะ ดักแด้ 5-7 วัน ต่อจากนั้นจึงเป็นตัวเต็มวัย มีการผสมพันธุ์และวางไข่ต่อไป

พืชอาหารและลักษณะการทำลาย :

แมลงดำหนามอ้อย สามารถทำลายอ้อยด้วยการชอนไช ในระยะหนอนเข้ากัดกินเนื้อภายใต้เยื่อผิวใบ มีลักษณะเป็นทางยาว โดยเริ่มตั้งแต่ขนาดเล็กมาก แล้วค่อยๆกว้างขึ้น เห็นเป็นสีขาว เมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วยังคงกัดกินผิวใบต่อไป

การป้องกันกำจัด

โดยปกติ ในไร่อ้อยไม่พบความเสียหายถึงขั้นที่ต้องทำการกำจัด หากจำเป็นจะต้องใช้ยาฆ่าแมลงชนิดที่เหมาะแก่การใช้กำจัดแมลงชนิดนี้ ได้แก่ ฟอสฟามิดอน 0.03%, เมทาซิสท้อกซ์ 0.1% หรือ ไดอาซีโนน 0.2% สามารถทำลายหนอนซึ่งอยู่ภายใต้ผิวใบได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีการปรับปรุงบำรุงดิน การปรับปรุงบำรุงดินที่มีความสามารถในการให้ผลผลิตพืชต่ำ จะต้องมีการปฏิบัติพร้อม ๆ กันไปกับการอนุรักษ์ดินหรือการควบคุมการสูญเสียเนื้อดินออกไปจากแปลงปลูก หลักการในประเด็นนี้นับว่าเป็นมาตรการที่สำคัญมาก ในทางปฏิบัติ วิธีการปรับปรุงบำรุงดินมันสำปะหลังให้ดีขึ้นพร้อม ๆ กันไปกับการ
เพลี้ยกระโดดหลังขาว Sogatella furcifera (Horvath) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยคล้ายกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ปีกมีจุดดำที่กลางและปลายปีก และมีแถบสีขาวตรงส่วนอกระหว่างฐานปีกทั้งสอง ตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลถึงสีดำ ลำตัวสีเหลือง มีแถบสีขาวเห็นชัดอยู่ตรงส่วนอกระหว่างฐานปีกทั้งสอง มีทั้งชนิดปีก
จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและชีวภาพ ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำแต่ละชนิดที่วิเคราะห์โดยกรมพัฒนาที่ดินและกรมวิชาการเกษตร พบว่าประกอบด้วย ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม (จุลธาตุ) กรดอินทรีย์ พวกกรดฮิวมิก ฮอร์โมน พวกออกซิน จิบเบอร์เรลลิน และไซโตไคนิน เอนไซม์บางชนิด และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์