วิธีแก้ปัญหาหนอนกระทู้ในนาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น

มันมาอีกแล้ว” พื้นที่นาข้าวที่กำลังเขียวขจีในฤดูนาปลังปีนี้ เป็นทุ่งนาแห่งความ หวังของพี่น้องชาวนา หลังจากผ่านวิกฤติน้ำท่วมจากปลายปีที่แล้ว แต่การกลับมาของศัตรูตัวร้ายอันดับต้นๆ ของข้าว ทำให้เกษตรกรหลายคนถึงกับผวาแต่อยากบอกว่าเรามีทางป้องกันและแก้ไข ที่ไม่ยากเกินไปสำหรับเกษตรกรชาวนามืออาชีพ

วิธีการทางชีวภาพที่ปลอดภัย ได้ผล ไม่ต้องทนดมสารเคมีให้ชีวีหดสั้นลง

อัตราส่วนผสม : หางไหล 2 กิโลกรัม, บอระเพ็ด 3 กิโลกรัม, หนอนตายอยาก 2 กิโลกรัม, ตะไคร้หอม 3 กิโลกรัม, สาบเสือ 3 กิโลกรัม, ใบสะเดา 3 กิโลกรัม, ใบยูคาลิปตัส 3 กิโลกรัม, ยาสูบ 0.5 กิโลกรัม, กระเทียม 1 กิโลกรัม, กากน้ำตาล 500 มิลลิลิตร, สารเร่ง พด.7 1 ซอง (อัตราส่วนข้างต้นสามารถที่จะเพิ่มหรือลดได้ตามความเหมาะสมไม่ตายตัว แต่สมุนไพรที่ใช้หมักอย่างน้อยควรมี 5 ชนิดขึ้นไป เพื่อให้ได้สารสกัดที่มีความเข้มข้น)

วิธีทำ

1) บด/สับ/ตำ สมุนไพรทั้งหมดที่เตรียมไว้ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ยิ่งชิ้นส่วนมีขนาดเล็กก็จะได้น้ำสกัดที่เข้มข้น และสามารถนำไปใช้ได้เร็วขึ้น

2) นำสมุนไพรที่เตรียมไว้ในข้อที่ 1 บรรจุในภาชนะที่มีฝาปิดเช่น ถังพลาสติก และโอ่ง แล้วนำกากน้ำตาล 500 มิลลิลิตร ผสมกับน้ำ 20 ลิตร เติมลงไปในภาชนะที่ใส่สมุนไพรไว้ (อัตรานี้สำหรับการหมักสมุนไพรที่มีน้ำหนักรวมประมาณ 30 กิโลกรัม ก็ต้องการหมักมากกว่านี้ต้องเพิ่มน้ำ และกากน้ำตาลเข้าไปอีก) แล้วใส่สารเร่ง พด.7 เพื่อเร่งให้สารสกัดหมักได้เร็วขึ้น และสกัดสารสำคัญจากพืชได้มากขึ้น จากนั้นคนให้เข้ากันอีกครั้ง แล้วกดให้ชิ้นส่วนสมุนไพรจมน้ำตลอดเวลา โดยใช้ไม้ไผ่สานขัดทับไว้

3) เก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิห้อง คนวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น หมักนาน 7 – 10 วัน เริ่มนำไปใช้ได้ โดยน้ำสกัดที่ได้คือ “หัวเชื้อ” ต้องนำไปเจือจางก่อนใช้งาน

อัตราการใช้

อัตราปกติ 20 – 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้โชกชุ่มทั่วทั้งแปลงนาทุก 3 – 5 วัน (หัวเชื้อใหม่ๆ มีสารออกฤทธิ์แรงมาก) การใช้อัตราเข้มข้นเกินไป อาจทำให้ใบไหม้ ดังนั้นจึงควรทดลองใช้กับพืชตัวอย่าง 2 – 3 ต้น ก่อน 1 – 2 ครั้ง แล้วสังเกตดูอาการพืช หากใบพืชมีอาการไหม้ หรือเหี่ยวเฉา ให้ลดปริมาณหัวเชื้อลง หรือถ้าแมลงยังคงระบาดอยู่ให้พิจารณาเพิ่มหัวเชื้อ อัตราใช้ปรับเพิ่มลดลงตามความเหมาะสม

สารชีวภาพอาจเห็นผลได้ช้ากว่าสารเคมีแต่ ประหยัดค่าใช้จ่าย ปลอดภัยต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการกำจัดศัตรูพืชที่ยั่งยืน หนอนกระทู้จะไม่เกิดการดื้อยา ระงับการเข้าดักแด้ และทำให้หนอนกระทู้ไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ต่อไปในฤดูกาลเพาะปลูกหน้า จำนวนก็จะลดลง และไม่ส่งผลต่อนาข้าวอีก จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการกำจัดเจ้าตัวร้ายที่ทำลายข้าวของเกษตรกร

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชนิด : ข้าวเจ้า คู่ผสม : การผสมเดี่ยว ระหว่างพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี และพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ประวัติพันธุ์ :ทดสอบที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง เมื่อปี พ.ศ. 2542 และปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR99007-22-1-2-2-1 ทดสอบผลผลิตในสถานีระหว่างสถานีในนาราษฎร์ โดยมีทดสอบความ ต้านทานต่อโรคและแมลงศ
โรคใบด่างมันสำปะหลัง เกิดจากเชื้อไวรัส ในวงศ์ Geminiridae สกุล Begomovirus ปัจจุบันมีรายงานทั้งหมด 10 ชนิด โดยพบในทวีปแอฟริกา 8 ชนิด และในทวีปเอเชีย 2 ชนิด ได้แก่ Indian cassava mosaic virus (ICMV) พบในประเทศอินเดีย และ Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) พบในประเทศศรีลังกา อินเดีย เวียดนาม
งาดำ สายพันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ งาดำบุรีรัมย์ งาดำนครสวรรค์ งาดำ มก.18 งาขาว สายพันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์เมืองเลย พันธุ์เชียงใหม่ พันธุ์ร้อยเอ็ด 1 พันธุ์ มข. 1 พันธุ์มหาสารคาม 60 งาดำ–แดง หรืองาเกษตร ได้แก่ พันธุ์พื้นเมืองพิษณุโลก พันธุ์พื้นเมืองสุโขทัย พันธุ์ มข.3