ลดการใช้น้ำด้วยการดูแลดิน

วิธีการจัดการดินที่ใช้น้ำน้อย

1. การคลุมดิน (Mulching) เป็นการเก็บความชื้นในดินเพื่อให้พืชที่ปลูกสามารถนําน้ำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชนิดวัสดุคลุมดิน (ควรเลือกวัสดุคลุมดินที่หาได้ง่าย และเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก)

1. วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ

2. วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก

ประโยชน์การคลุมดิน

ด้านกายภาพ :

–  ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน

–  ลดอุณหภูมิภายในดิน และลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งที่ผิวดินเนื่องจากการสูญเสียน้ำ

–  รักษาสภาพภูมิอากาศบริเวณรอบทรงต้นพืชให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

–  ลดการระเหยน้ำจากผิวดิน ชะลอการไหลบ่าของน้ำ และลดการชะล้าง พังทลายของดิน

ด้านเคมี :

–  ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยสลายสารประกอบไนโตรเจนจากวัสดุหรือสารอินทรีย์จากตอซังหรือเศษซากพืชที่ใส่ลงไปในดินให้เร็วขึ้น

ด้านชีวภาพ

–  เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินทําให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น

2. การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น การปลูกพืชคลุมดิน (Cover Crops) 

เป็นการปลูกพืชที่มีใบหนาแน่น หรือมีระบบรากแน่นปกคลุมหน้าดิน และยึดดินไว้ เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่วหรือตระกูลหญ้า

ชนิดของพืชคลุมดิน

1.  พืชตระกูลถั่ว : พืชปุ๋ยสดตระกูลถั่ว (ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ปอเทือง โสนอัฟริกัน ถั่วมะแฮะ) ถั่วปืนตอย ถั่วคาโลโปโกเนียม ถั่วคุดซู ถั่วไซราโตร ถั่วซีรูเลียม

2.  พืชตระกูลหญ้า : หญ้าเนเปีย หญ้ากินนี

3.  หญ้าแฝก (ตัดใบคลุมดิน) 

ควรเลือกพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตเร็ว แข่งกับวัชพืชไม่ให้ตั้งตัวได้ทัน เลื้อยปกคลุมพื้นที่ว่าง ถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วจะยิ่งดี เพราะสามารถตรึงไนโตเจนจากอากาศ เมื่อพืชคลุมดินตายจะปลดปล่อยธาตุอาหารลงสู่ดิน

ประโยชน์ของพืชคลุมดิน

ด้านกายภาพ :

–  ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน

–  ลดการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน

–  รักษาความชุ่มชื้นในดิน

ด้านเคมี :

–  เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืช ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ทําให้พืชเจริญเติบโตและผลผลิตดีขึ้น

ด้านชีวภาพ

–  เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทําให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น

ด้านอื่นๆ :

–  ลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมี

–  เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทุกวันนี้เกษตรกรชาวไร่อ้อยกำลังเผชิญกับต้นทุนการเพาะปลูกที่สูง เนื่องจากค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่มาจากค่าพันธุ์อ้อย ค่าจ้างแรงงานในการปลูกและใส่ปุ๋ย ดังนั้น สยามคูโบต้าจึงได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอ้อยแบบร่องกว้าง เพื่อสามารถใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้าไปดูแลไร่อ้อยได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต ซึ่งนอกจาก
การขาดธาตุแมกนีเซียมของอ้อย จะแสดงอาการที่ใบแก่ โดยเกิดผลแห้งตายสีแดง ทำให้มองเห็นว่าเป็นสีสนิมเกิดขึ้น การขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรง ลำต้นอ้อยจะมีการแคระแกร็นทำให้เกิดเป็นสีสนิมอย่างรุนแรง และมีสีน้ำตาล โดยภายในลำต้นนั้นจะกลายเป็นสีน้ำตาลได้ ซึ่งสนิมที่เกิดขึ้นสามารถแพร่กระจายไปทั่วทั้งแผ่น