ระวัง โรคใบร่วงในยาง ในหน้าฝน

ในช่วงนี้เป็นฤดูฝน สภาพอากาศมีความชื้นสูงซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราไฟท๊อปธอร่าสาเหตุโรค ใบร่วงของยางพารา เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงยางพาราอย่างสม่ำเสมอ และเฝ้าระวังการระบาดของโรคใบร่วงจากเชื้อราไฟท๊อปธอร่า

เชื้อสาเหตุ  เชื้อรา Phytophthora botryosa chee, Phytophthora palmivora (Butl.) Butl.,  Phytophthora nicotianae Van Breda de Haan var. parasitica (Dastur) Waterhouse

ลักษณะอาการ  อาการใบร่วง ใบยางพาราจะร่วงทั้งที่มีสีเขียวสดและสีเหลือง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศสังเกตอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบ สีรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ตามความยาวของก้านใบ แผล บริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อมีหยดน้ำยางเล็กๆ เกาะติดอยู่ เมื่อนำใบยางเป็นโรคมาสะบัดไปมาเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันทีซึ่งต่างจากใบยางที่ร่วงหล่นตามธรรมชาติ เมื่อนำมาสะบัดไปมาใบย่อยจะไม่ร่วง บางครั้งแผ่นใบอาจเป็นแผลสีน้ำตาลเข้มถึงดำมีลักษณะช้ำน้ำขนาดของแผล ไม่แน่นอน นอกจากนี้เชื้อสามารถเข้าทำลายฝักยางได้ทุกระยะ ทำให้ฝักเน่า ถ้าความชื้นในอากาศสูงจะพบเชื้อราสีขาว เจริญปกคลุมฝัก ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ไม่แตกและร่วงหล่นตามธรรมชาติกลายเป็นแหล่งเชื้อโรคในปีถัดมา

ในยางพาราใหญ่เมื่อเกิดโรคนี้ใบจะร่วงหมดต้น แต่ไม่ทำให้ต้นยางตาย ผลผลิตยางจะเริ่มลดลง    ถ้าเชื้อราระบาดจนทำให้ใบร่วงมากกว่า 20% และหากปล่อยให้โรคระบาดโดยไม่มีการควบคุมจนใบร่วงถึง 75% จะทำให้ผลผลิตลดลง 30-50% 

การแพร่ระบาด โรคนี้จะระบาดบริเวณพื้นที่ปลูกยางที่มีฝนตกชุก ความชื้นสูง เชื้อราแพร่กระจายโดยลมและฝน ความรุนแรงของการเกิดโรคขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันที่ฝนตก โดยปกติโรคจะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และรุนแรงในระยะที่มีฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายๆ วัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายนของทุกๆ ปี 

แนวทางการป้องกันกำจัด 

1. วิธีป้องกันที่ดีวิธีหนึ่ง คือ ใช้พันธุ์ต้านทาน คือ พันธุ์ GT1 และ BPM 24 ไม่ควรปลูกยางพันธุ์ที่อ่อนแอ เช่น RRIM 600 ในกรณีที่ปลูกพันธุ์อื่นที่อ่อนแอ ต่อโรคไปแล้วก็อาจใช้พันธุ์ต้านทานติดตาเปลี่ยนยอดได้ 

2. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อราเป็นพืชแซมยาง ได้แก่ ส้ม ทุเรียน พริกไทย ปาล์มน้ ามัน โกโก้ 

3. กำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยางให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนยาง 

4. ในยางพาราที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี ให้ใช้สารเคมี fosetyl-AI เช่น อาลีเอท 80% WP หรือสารเคมี metalaxyl เช่น เอพรอน 35% SD อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นพุ่มใบทุก 7 วัน เมื่อเริ่มพบการระบาด 

5. ในยางที่เปิดกรีดแล้ว ให้ใช้สารเคมี metalaxyl หรือ fosetyl-AI ทาที่หน้ากรีดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกัน โรคเส้นดำ เนื่องจากเกิดจากเชื้อราชนิดเดียวกัน 

6. ต้นยางใหญ่ที่เป็นโรคอย่างรุนแรงจนใบร่วงหมดต้น ให้หยุดกรีดและใส่ปุ๋ยบำรุงต้นให้สมบูรณ์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันนี้ ได้มีเกษตรกรบางส่วนเริ่มเปลี่ยนพื้นที่จากการปลูกข้าวมาเป็นอ้อยในหลายพื้นที่ เนื่องจากเล็งเห็นโอกาสที่มั่นคงของ “อ้อย” เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความต้องการของตลาดจำนวนมาก และที่สำคัญ มีการกำหนดราคาที่ชัดเจน แต่ด้วยเกษตรกรบางราย ไม่กล้าตัดสินใจที่จะเปลี่ยนพื้นที่จากการทำนามาเป็น
ความหมายของชั้นดินดาน ชั้นดินดาน หมายถึง ชั้นดินที่อัดตัวแน่นทึบ หรือชั้นที่มีสารเชื่อมอนุภาคดินมาจับตัวกัน ทำให้ดินแน่นทึบและแข็ง จนเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไหลซึมของน้ำและอากาศ ซึ่งกระบวนการเกิดชั้นดินดานมี 3 ประเภท มีรายละเอียดดังนี้ 1. ชั้นดินดานแข็ง (duripan) เป็นชั้น