มอดดิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : มอดดิน (Ground Weevil)

รูปร่างลักษณะ :

ตัวเต็มวัยของมอดดินเป็นด้วงงวงขนาดเล็ก เป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวป้อม ผิวขรุขระมีสีดำปนน้ำตาล และเทา มีขนาดความกว้างของลำตัวเฉลี่ยประมาณ 2.2 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 3.5 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ในดินบริเวณที่มีต้นพืช ไข่มีลักษณะกลมรี สีขาว ผิวเรียบ เป็นมัน วางเป็นฟองเดี่ยว ๆ มีขนาดกว้างเฉลี่ย 0.30 มิลลิเมตร ยาว 0.50 มิลลิเมตร ไข่จะฟักเป็นตัวหนอนภายใน 5-7 วัน ตัวหนอนมีรูปร่างงอเป็นตัว C ตัวหนอนที่ออกจากไข่ใหม่ ๆ จะมีสีขาวใส และมีขนเล็ก ๆ ทั่วทั้งตัว หัวกะโหลกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ ตัวหนอนโตเต็มที่จะยาว 6.5 มิลลิเมตร มีความกว้างของหัวกะโหลกโดยเฉลี่ยประมาณ 0.75 มิลลิเมตร ตัวหนอนเข้าดักแด้เมื่ออายุเฉลี่ยประมาณ 45 วัน

ดักแด้มีรูปร่างแบบ Exarate Pupa คือ ขาและปีกเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นอิสระ ไม่ติดกับตัว มีสีขาวครีม มีความกว้างเฉลี่ยประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 3.9 มิลลิเมตร ระยะดักแด้ประมาณ 5 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุอยู่ได้นานถึง 8 เดือน ในเวลากลางวันจะพบอยู่ทั่ว ๆ ไปในแปลงหรือหลบอยู่ใต้ดินในบริเวณโคนต้น โดยเฉพาะตามกองดินของข้าวโพดที่เริ่มงอก และจะเริ่มออกหากินในเวลาพลบค่ำพร้อมกับจับคู่ผสมพันธุ์

ลักษณะการทำลาย :

มอดดินหรือมอดช้าง เป็นด้วงงวงขนาดเล็กอาศัยอยู่ในดินพบทั่วไปในไร่ข้าวโพด โดยเฉพาะระยะกล้า แมลงชนิดนี้จะทำลายพืชในระยะตัวเต็มวัย ต้นกล้าข้าวโพดจะเสียหาย ต้นที่ถูกกัดทำลายจะแตกแขนงชะงักการเจริญเติบโต ทำให้ข้าวโพดแก่ไม่พร้อมกัน ฝักลีบเล็กหรือไม่ติดฝัก

การป้องกันและกำจัด :

การป้องกันและกำจัดมอดดินวิธีที่ดีที่สุด คือ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัด เนื่องจากมอดดินจะระบาดทำลายข้าวโพดตั้งแต่ระยะเริ่มงอกประมาณ 10 วันเท่านั้น การใช้สารเคมีประเภทคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกจะป้องกันการทำลายของมอดดินได้ดี ให้ผลตอบแทนสูง เช่น carbosulfan 25% ST ในอัตรา 20 กรัม/เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือ imidacloprid 70% WS ในอัตรา 5 กรัม/เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หากจำเป็นและเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้ง ถ้าพบการระบาดทำลายของมอดดินเมื่อข้าวโพดงอกแล้ว สารเคมีที่ควรใช้ฉีดพ่นในระยะนี้ คือ carbosulfan 20% EC ในอัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ด้วงเต่าตัวห้ำ เป็นแมลงห้ำทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สามารถทําลายศัตรูพืชได้หลายชนิด ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน ไข่ของผีเสื้อ หนอนขนาดเล็ก และแมลงหวี่ขาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถกินไรศัตรูพืช และบางชนิดกินเชื้อราเป็นอาหาร ด้วงเต่าทั่วไปมีปากแบบ ปากกัด ตัวเต
ครบทุกงานในสวนปาล์ม งานปลูกปาล์มน้ำมัน งานขุดร่องน้ำ งานสร้างถนนในสวนปาล์ม งานเก็บผลผลิต 1. งานปลูกปาล์มน้ำมัน การเตรียมพื้นที่ปลูก กรณีที่เป็นสวนปาล์มน้ำมันเก่าหรือมีต้นไม้ชนิดอื่นขึ้นอยู่ ควรปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ กำจัดต้นปาล์มเก่า และวัชพืชโดยใช้รถขุดคูโบต้า กรณีที่เป็นพื้นที่ลุ่ม ใช้รถ
แหนแดง (Azolla) เป็นเฟิร์นน้ำเล็กๆชนิดหนึ่ง เจริญเติบโตและลอยอยู่บนผิวน้ำในเขตร้อน และเขตอบอุ่น โดยจะดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินกลุ่มไซยาโนแบคทีเรียชื่อ Anabana azollae อาศัยอยู่ ที่สามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนในอากาศ (symbiotic nitrogen fixing microorganisms) ให้ม