ปลูกมันสำปะหลังเจอเพลี้ย เชื้อราบิวเวอเรียช่วยได้

เตรียมส่วนผสม

ขั้นตอนที่ 1: ราบิวเวอเรีย 1 ก้อน ผสมกับกับน้ำ 2 ลิตร และน้ำยาล้างจาน 2 ช้อนชา (10 มิลลิลิตร)

ขั้นตอนที่ 2 : ขยี้ให้สปอร์หลุดจากเมล็ดข้าว แล้วกรองผ่านผ้าขาวบาง เทใส่ลงในส่วนผสมในขั้นตอนที่ 1 จะได้สารละลายสีขาวขุ่น

ขั้นตอนที่ 3 : เติมน้ำใส่ลงในส่วนผสมให้ครบ 20 ลิตร

ขั้นตอนที่ 4 : ใส่สารจับใบหรือน้ำมะพร้าว 4 ช้อนชา (20 มิลลิลิตร) แล้วคนให้เข้ากันแล้วนำไปฉีดพ่นบริเวณที่มีเพลี้ยระบาด

การควบคุมการระบาดควรตรวจแปลงปลูกมันสำปะหลังเดือนละ 1 ครั้ง ถ้าหากเกษตรกรพบเพลี้ยแป้งน้อยกว่า 10 ตัวต่อใบ พ่นบิวเวอเรีย 3 ครั้ง ทุก 5 วัน หากพบเพลี้ยแป้งมากกว่า 10 ตัวต่อใบ ฉีดพ่นสารเคมีไทอะมีโทแซม 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

วิธีการใช้ที่ถูกต้อง

1. ให้น้ำแปลงมันสำปะหลัง ก่อนฉีดพ่น 1 ชั่วโมง

2. ฉีดพ่นช่วงเช้าตรู่หรือช่วงเย็น

3. ฉีด 3 ครั้ง ทุก 5 วัน

4. ฉีดพ่นที่ยอดหรือใต้ใบ

การป้องกันการระบาด

ราบิวเวอเรียสามารถกำจัดเพลี้ยได้ 5 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยแป้งลาย เพลี้ยแป้งสีเทา เพลี้ยแป้งสีเขียว เพลี้ยแป้งสีชมพู และเพลี้ยแป้งมะละกอ สามารถกำจัดได้ภายใน 7 วัน ไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์ และแมลงศัตรูธรรมชาติ  ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นการผลิต ผลผลิตเพิ่มขึ้น ปลอดภัย และไม่มีสารตกค้างในมันสำปะหลัง

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสัมพันธ์กับความแก่-อ่อน ขนาด รูปร่าง รสชาติ และน้ำหนักของข้าวโพดหวาน ปัจจุบันข้าวโพดหวานแต่ละพันธุ์มีอายุใกล้เคียงกัน คือ จะออกดอกประมาณ 45-50 วันหลังปลูก และเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดหวานมีอายุไม่เกิน 73 วัน ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เมื่อข้าวโพดหวาน
ชนิด : ข้าวเจ้า คู่ผสม : ได้จากการผสมพันธุ์ ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1 การรับรองพันธุ์
ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนในการผลิตสูง แต่ก็มีเกษตรกรหลายรายหันกลับมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในนาข้าว โดยอาศัยหลักการพึ่งพากันของธรรมชาติ เกิดองค์ความรู้จากการสังเกตว่า พืชผักใบเขียวในส่วนยอดอ่อนๆ จะมีฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตอยู่ในปริมาณมาก เมื่อนำมาหมักให้เ