ปลูกกระชาย ทางรอดเกษตรกรยุคโควิด-19

 กระชาย คือ พืชที่ไทยได้รับอิทธิพลมาจากการค้าขายของจีน ซึ่งในต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ล้มลุก ไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นจำนวนมาก เหง้ากระชายมีน้ำมันหอมระเหยและมีสารสำคัญหลายชนิดสะสมอยู่ซึ่งมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ต่อมาไทยก็ได้นำเข้ามาปลูกและเป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยม นอกรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ กระชายขาวยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงร่างกายอีกด้วย 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กระชายเป็นพืชไม้ล้มลุกขนาดเล็กมีใบและลำต้นเล็กน้อย ไม่ได้เก็บสารอาหารไว้ที่ผล ลำต้น หรือใบ แต่จะเก็บพลังงานทั้งหมดไว้ที่รากหรือเหง้าเป็นหลัก กระชายขาว จึงเป็นพืชที่เน้นการเจริญเติบโตของราก โดยรากจะแตกออกเป็นกลุ่มจำนวนมาก มีลักษณะรากที่หนา อวบอิ่มน้ำมากกว่ารากทั่วไป มีรากฝอยเล็กน้อยไว้เพื่อหาอาหาร ส่วนของใบกระชายขาว เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ใบจะออกสลับกัน ตรงกลางของใบมีร่องลึก แซมด้วยดอกช่อที่ขึ้นบริเวณโคนกิ่งก้าน ดอกมีสีชาวอมชมพูขนาดเล็ก

การปลูกกระชายขาว

1. การเตรียมพันธุ์

เป็นการปลูกด้วยเหง้าที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป และต้องมีรากกระชายอยู่ 2 – 3 ราก/เหง้า

2. การเตรียมแปลงปลูก

โดยปลูกในดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์สูง กระชายเป็นพืชที่ชอบสภาพแสงรำไร ดังนั้นการปลูกกระชายส่วนใหญ่จะต้องปลูกภายใต้ร่มเงาของไม้อื่น ให้ทำการไถพรวนและขุดหลุมปลูกเป็นแถว

3. การปลูก

การปลูกเว้นระยะระหว่างแถวและต้น 30 x 30 ซม. ส่วนการปลูกเป็นการค้าจะปลูกกลางแจ้งในเขตชลประทานหรือสามารถให้น้ำได้ ไถพรวนดินและยกร่องปลูกกว้าง 80 – 120 ซม. ใช้ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 25 – 30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปลูกแล้วใช้ฟางคลุมรักษาความชื้นของดิน 

4. การดูแลรักษา

โดยรดน้ำทุก 2 – 3 วัน/ครั้ง กำจัดวัชพืชให้แปลงสะอาด เมื่อกระชายเริ่มงอกที่ลำต้นมีความยาว                5-10 เซนติเมตร ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต 50 กก./ไร่และใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ อัตรา 30 กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ 3 เดือนหลังปลูก

5. โรคและการป้องกันกำจัด

โรคพืชที่พบในกระชายขาว ได้แก่ โรคเน่า โรคนี้จะระบาดในดินที่เป็นกรด ดินที่มีการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในปริมาณมาก และในดินที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่กระชายขาว เป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตในดินเป็นหลัก เพราะฉะนั้นการสังเกตว่าพืชนั่นสมบูรณ์หรือไม่ จึงเป็นเรื่องยาก เราควรเพื่อป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคเน่าในดิน โดยหลีกเลี่ยงปลูกกระชายซ้ำที่เดิมเป็นเวลาหลายปี ก่อนปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และควรมีการปรับปรุงดินด้วยปูนขาว ในอัตรา 200 – 300 กิโลกรัมต่อไร่ และไม่ควรนำท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคมาปลูก

6. การเก็บเกี่ยว

เริ่มเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 7-8 เดือน หรือสังเกตจากใบ และลำต้นมีลักษณะสีเหลืองและจะยุบตัวลง การเก็บเกี่ยวโดยใช้มือถอนหรือจอบขุด แต่ควรทำขณะดินมีความชื้น ถ้าดินแห้งควรรดน้ำก่อน เพื่อลดความเสียหายในขณะเก็บเกี่ยว แล้วนำมาล้างน้ำทำความสะอาด ถ้าต้องการขยายช่วงเวลาเก็บเกี่ยวให้นานขึ้นหรือไว้ทำพันธุ์จะต้องคลุมฟางและรดน้ำเป็นครั้งคราวเพื่อรักษาความชื้นของดินให้เหง้าและรากกระชายไม่ฝ่อในช่วงแล้ง

ประโยชน์และสรรพคุณ

ประโยชน์  กระชายมีคุณสมบัติบำรุงร่างกาย มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมระเหยอ่อนๆ ที่สำคัญยังเต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด

สรรพคุณ เหง้าและรากใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้บิด แก้โรคกระเพาะ แก้ลำไส้ใหญ่อักเสบ ยาบำรุงหัวใจ แก้ใจสั่น บำรุงกำหนัด ลดน้ำตาลในเลือด ยารักษาริดสีดวงทวาร ยาแก้ไอ แก้แผลในปาก (ปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล) ยาอายุวัฒนะ มีรสเผ็ดร้อนขม กลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัว

บทความที่เกี่ยวข้อง

การขาดธาตุแมกนีเซียมของอ้อย จะแสดงอาการที่ใบแก่ โดยเกิดผลแห้งตายสีแดง ทำให้มองเห็นว่าเป็นสีสนิมเกิดขึ้น การขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรง ลำต้นอ้อยจะมีการแคระแกร็นทำให้เกิดเป็นสีสนิมอย่างรุนแรง และมีสีน้ำตาล โดยภายในลำต้นนั้นจะกลายเป็นสีน้ำตาลได้ ซึ่งสนิมที่เกิดขึ้นสามารถแพร่กระจายไปทั่วทั้งแผ่น
ในระหว่างการเก็บเกี่ยว การขนส่ง การเก็บรักษา และการวางจําหน่ายข้าวโพดฝักอ่อน จะเกิดการสูญเสียน้ำมาก ทำให้ฝักเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักลดลง เมื่อเก็บไว้นานความหวานจะลดลง อาการฝักเน่าและบวมจะปรากฏมากขึ้น การปอกเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนถ้าไม่มีความชํานาญจะทําให้ฝักอ่อนเกิดบาดแผลหรือ เกิดอาการช้ำได้