6 แอปพยากรณ์อากาศ แม่น ๆ สำหรับเกษตรกร อัปเดตปี 2568

6 แอปพยากรณ์อากาศ แม่น ๆ สำหรับเกษตรกร อัปเดตปี 2568

แอปพยากรณ์อากาศ ผู้ช่วยคนสำคัญของเกษตรกรยุคใหม่ ที่ต้องเผชิญสภาพอากาศ
ที่แปรปรวน เช่น ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง สร้างความเสียหายให้เกษตรกร
อย่างมหาศาล เพื่อลดความเสี่ยงนั้นในอนาคต KAS หรือ KUBOTA (Agri) Solutions
จึงได้รวบรวม 6 แอปพยากรณ์อากาศที่น่าสนใจ ให้เกษตรกรได้ทดลอง และเลือกใช้
เป็นตัวช่วยให้เกษตรกรรับมือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดได้ดียิ่งขึ้น

เกษตรกรยุค 4.0 ไม่ควรพลาดกับ 6 แอปพยากรณ์อากาศแม่นที่สุด

เช็กสภาพอากาศด้วย 6 แอปพยากรณ์อากาศแม่น ๆ ดังนี้   

1.    รายงานสภาพอากาศจาก KAS

รายงานสภาพอากาศจาก KAS เป็นเครื่องมือรายงานสภาพอากาศ โดยสามารถพยากรณ์สภาพอากาศได้ล่วงหน้า 5 วัน เกษตกรสามารถดูข้อมูลในพื้นที่ของตนเองได้ เพียงแค่เปิด
โลเคชัน หรือพิกัด GPS ในมือถือ อีกทั้งยังสามารถดูสถานการณ์น้ำในพื้นที่ของตนเอง
ได้อีกด้วย เครื่องมือนี้จะช่วยให้เกษตรกรสามารถทราบถึงสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ
และวางแผนการทำเกษตรในพื้นที่ของตนเองได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

สามารถใช้งานได้แล้ววันนี้ที่ https://kas.siamkubota.co.th/variety/weather_report/

พิเศษ! ฟังก์ชัน KAS Crop Calendar หรือ บันทึกปฏิทินการเพาะปลูก ตัวช่วยในการวางแผนการเพาะปลูกพืชพร้อมปฏิทินแนะนำการเพาะปลูกตามแบบฉบับของสยามคูโบต้า
ที่เกษตกรสามารถบันทึกผลการเพาะปลูก และรายรับรายจ่ายได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งสามารถ
สรุปข้อมูลที่บันทึกออกมาได้แบบรายแปลง ทำให้สามารถต่อยอดการวางแผนการเพาะปลูก
ในอนาคตได้ง่าย

เข้าใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ที่ LINE @siamkubota เมนู KAS Crop Calendar หรือ บันทึกปฏิทินการเพาะปลูก

2.    Rain Radar

ขอบคุณภาพจาก: Google Play

อีกหนึ่งแอปที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเพาะปลูก คือ Rain Radar กับฟังก์ชันการพยากรณ์อากาศด้วยเรดาร์ ซึ่งช่วยให้เกษตรกรติดตามข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพอากาศ เช่น ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ และความชื้น รวมถึงสามารถดูการเคลื่อนตัวของพายุฝนได้
อย่างชัดเจน แอปนี้ยังช่วยพยากรณ์สภาพอากาศได้อย่างแม่นยำ ทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนและตัดสินใจได้ดีขึ้น เช่น เลื่อนเวลาเก็บเกี่ยว หรือการป้องกันความเสียหาย
จากฝนตกหนักที่อาจทำลายผลผลิต

ลิงก์ดาวน์โหลด
IOS
Android

3.    ฟ้าฝน

ขอบคุณภาพจาก: พยากรณ์อากาศประเทศไทย

ฟ้าฝน เป็นแอปพยากรณ์อากาศที่มุ่งเน้นให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพยากรณ์ฝนตกในประเทศไทย พร้อมแจ้งเตือนฝนตกและการเปลี่ยนแปลงที่อาจมีผลกระทบต่อการเพาะปลูก เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ทันการณ์ พร้อมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ของเกษตรกร ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจใช้ทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้การเพาะปลูกดียิ่งขึ้น

ลิงก์ดาวน์โหลด
IOS
Android

4.    Thaiwater

ขอบคุณภาพจาก: Google Play

Thaiwater แอปที่นอกจากจะพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังมีจุดเด่นที่สามารถติดตามข้อมูลระดับน้ำในเขื่อน แม่น้ำ คลอง หรือทะเล ซึ่งช่วยให้วางแผนการใช้น้ำและการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม แมลง ฯลฯ ช่วยให้เกษตรกรรับมือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากหนักให้เป็นเบาหรือไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่การเกษตร

ลิงก์ดาวน์โหลด
IOS
Android

5.    NOAA Weather Radar

ขอบคุณภาพจาก: NOAA Weather Radar

NOAA Weather Radar แอปพลิเคชันที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ พร้อมแสดงแผนที่เรดาร์ครอบคลุมทั่วโลก ช่วยในการติดตามการเคลื่อนตัวของพายุ ทิศทางลม และภัยธรรมชาติ พร้อมรับการแจ้งเตือนล่วงหน้า ทั้งยังสามารถพยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้ 7 – 10 วัน ช่วยลดความเสี่ยงและให้เกษตรกรเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลิงก์ดาวน์โหลด
IOS
Android

6.    TVIS

ขอบคุณภาพจาก: Google Play

TVIS (Traffic Voice Information System) เป็นแอปพลิเคชันที่ออกแบบมาเพื่อรายงานสภาพจราจร แต่ยังมีฟังก์ชันตรวจสอบสภาพอากาศ ณ ปัจจุบันของประเทศไทยผ่านเรดาร์ ช่วยให้เกษตรกรสามารถติดตามการเคลื่อนตัวของพายุและเมฆฝนในประเทศไทยได้แบบเรียลไทม์ ช่วยวางแผนการทำเกษตรรายวันได้อย่างแม่นยำ พร้อมรองรับการใช้งานภาษาไทยเต็มรูปแบบ ทำให้ใช้งานได้ง่ายและสะดวก

ลิงก์ดาวน์โหลด
IOS
Android

แอปพยากรณ์อากาศโหลดฟรี มีติดเครื่องไว้ช่วยรับมือ
สภาพอากาศแปรปรวนได้ดีขึ้น

การมีแอปพยากรณ์อากาศดี ๆ ติดเครื่องไว้จะช่วยให้เกษตรกรรับมือกับสภาพอากาศแปรปรวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการติดตามข้อมูลจากแอปพยากรณ์อากาศเหล่านี้จะช่วยให้
การเพาะปลูกดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่แอปพลิเคชันแต่ละตัว
ก็อาจจะมีการใช้งานที่ยาก – ง่ายแตกต่างกันออกไป เกษตรกรควรทดลองใช้งาน และเลือกใช้เฉพาะอันที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด เพื่อการทำงานที่ง่าย และสะดวกนะครับ หากเกษตรกรท่านในชอบความรู้ดี ๆ แบบนี้ติดตามได้ที่ เว็บไซต์ KAS หรือ KUBOTA (Agri) Solutions คลิกเลย

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

จะทำอย่างไรเมื่อทางเข้าพื้นที่แคบ พื้นที่ทำงานค่อนข้างจำกัด ช่างขุดท่อก็ไม่ยอมมา เพราะว่าพื้นที่ทำงานยากเกินไป หาคำตอบกันได้ ที่บทความนี้
การทำนาเปียกสลับแห้ง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำนา ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาให้ดีขึ้น พร้อมตอบโจทย์การทำนาแบบรักษ์โลก ซึ่งการทำนาเปียกสลับแห้งทำอย่างไร มีข้อดีแบบไหน ศึกษาการเป็นชาวนารักษ์โลกไปพร้อมกับ KAS ได้ในบทความนี้
นาข้าวต้องเขียว ถึงจะดีจริงหรือ วันนี้มาหาคำตอบกัน