ชวนรู้จัก ประโยชน์ของโดรนการเกษตร Spraying Drone ป้องกันกำจัดศัตรูพืช

“เทรนด์เกษตรที่เปลี่ยนไป ทำให้เกษตรกรไทยเปลี่ยนตาม”

ปฏิเสธไม่ได้ว่างานเกษตรทั่วโลกกำลังอยู่ในช่วง ‘ผลัดเปลี่ยน’ จากวิถีการทำงานด้วยแรงงานคน สู่การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยต่าง ๆ มาเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูก และกำจัดศัตรูพืช ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่ช่วยให้
การทำเกษตรง่ายขึ้นก็คือ โดรนการเกษตร (Spraying Drone) นั่นเอง

เพราะปัจจุบันการเกษตรกำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านจากเกษตรกรรุ่นเก่าไปสู่รุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างการทำงาน ชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance) และเทรนด์การใส่ใจสุขภาพ ทำให้เกิดการทำการเกษตรรูปแบบใหม่ที่นำ ‘เทคโนโลยี’ อย่าง AI หรือ โดรนการเกษตร (Spraying Drone) มาช่วยให้งานเกษตรง่ายขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็น
–        วิเคราะห์สภาพแวดล้อม สภาพอากาศก่อนและหลังเพาะปลูก
–        เก็บข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาการปลูกในอนาคต
–        ช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการงานเกษตร
–        คาดการณ์วันเก็บเกี่ยวให้ตรงเวลา
–        ลดการสัมผัสกับสารพิษขณะทำงาน
บำรุงพืชผักด้วยโดรน

อยากเพิ่มคุณภาพชีวิต ต้องรู้จักโดรนการเกษตร (Spraying Drone)

โดรนการเกษตร (Spraying Drone) นับเป็นนวัตกรรมทางการเกษตรที่มีส่วนช่วยในการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป

  1. โดรนสำหรับการถ่ายภาพวิเคราะห์และตรวจโรคพืช
  2. โดรนสำหรับหว่านปุ๋ยและฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช
  3. โดรนสำหรับการรดน้ำและฮอร์โมนพืช

อยากรู้เกี่ยวกับโดรนการเกษตร (Spraying Drone) แบบเต็ม ๆ คลิกเลย!

โดรนการเกษตร (Spraying Drone) ดีกว่าแรงงานคนอย่างไร?”

โดรนการเกษตร (Spraying Drone) ทุ่นเวลาการทำงานได้ดีมาก โดยเมื่อเทียบประสิทธิภาพการฉีดพ่นสารปริมาณ 2 ถังจะพบว่า แรงงานคนใช้เวลา 10 นาที/ ไร่ แต่โดรนใช้เวลาเพียง 1.5 – 2 นาที/  ไร่ ซึ่งใช้แรงงานควบคุมโดรนเพียง 1 – 2 คน/ วันเท่านั้น และเมื่อใช้เวลาน้อยลง ค่าจ้างแรงงานก็ลดลง เหลือเพียง 256 บาท/ ไร่ เทียบกับแรงงานปกติที่ 343 บาท/ ไร่ เรียกว่าต้นทุนห่างกันเกือบหลักร้อย

นอกจากนี้การใช้โดรนยังทำให้ เกษตรกรทำงานได้แม่นยำยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมปริมาณการพ่นสารหรือน้ำที่ใช้ในแต่ละครั้ง อีกทั้งยังสามารถวาดแผนที่การบิน ทำให้ประหยัดเวลา และรอบในการบินได้อีกด้วย

Spraying Drone โดรนการเกษตร

เริ่มบินโดรนพ่นสารพืชผัก เพิ่มคุณภาพชีวิต ผ่านเทคนิคการบินโดรนฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์กลุ่มพืชผักจาก KUBOTA (Agri) Solutions

การเริ่มต้นบินโดรนพ่นสารพืชผักไม่ยากอย่างที่คิด แค่เตรียมอุปกรณ์และบินด้วยขั้นตอนที่ถูกต้องดังนี้

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก่อนบินโดรนฉีดพ่นสารในแปลงผัก

  1. โดรนการเกษตร (Spraying Drone) แนะนำเป็นโดรนขนาด 10 ลิตร หรือรุ่นที่เหมาะสมกับขนาดพื้นที่การเพาะปลูก เพื่อป้องกันความเสียหายของต้นพืช ดูรุ่นโดรน คลิกที่นี่
  2. แอปพลิเคชันพยากรณ์อากาศ ตรวจสอบสภาพอากาศที่เหมาะสม[1] [2] 
  3. สารที่ใช้ฉีดพ่น และสารจับใบ
  4. อุปกรณ์สำหรับชั่งตวงวัดปริมาณสาร
  5. ไม้คนสาร
  6. เครื่องวัดความเร็วลม

ขั้นตอนการบินโดรนพ่นสารบำรุงพืชผัก

การบินโดรนพ่นสารบำรุงพืชผัก จำเป็นต้องดูแลโดยผู้ควบคุมการบินโดรนที่มีทักษะและความชำนาญ เพื่อให้การฉีดพ่นมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากเป็นมือใหม่ควรศึกษาขั้นตอนการบินให้ช่ำชองจะดีที่สุด

  1. บรรจุสารชีวภัณฑ์ โดยผสมสารชีวภัณฑ์ 50 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร (3 กรัม ใช้น้ำ 150 ลิตร)
  2. การฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ แนะนำกำหนดอัตราการฉีดพ่น 3 ลิตร/ ไร่ หรืออัตราปล่อยของเหลวที่ 1.8 ลิตร/ นาที
  3. บินที่ระดับความสูง 3 เมตรเหนือทรงพุ่ม ความเร็วที่เหมาะสมประมาณ 2 เมตร/ วินาที
  4. ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการบินเพื่อฉีดพ่นสาร แนะนำเป็นช่วงเช้าเวลา 06:30 – 08:00 น. หรือ ช่วงเย็นเวลา 17:00 – 18:00 น. หรือตามคำแนะนำของสารที่ใช้ฉีดพ่น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดและอากาศร้อนที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์ที่ฉีดพ่นไป
  5. บินโดรนพ่นสารสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4 ครั้งหลังย้ายปลูก
นวัตกรรมการเกษตร เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร

เคล็ดลับการทำแผนที่การบิน: การทำแผนที่การบินควรเพิ่มระยะบริเวณหัวแปลงและท้ายแปลงประมาณ 1 – 2 เมตร เพื่อให้การฉีดพ่นสารครอบคลุมและสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง เนื่องจากโดรนจำเป็นต้องบินด้วยความเร็วที่เหมาะสมก่อนหัวฉีดพ่นจะปล่อยสารออกมา หากไม่มีการเพิ่มระยะหัวแปลงและท้ายแปลง อาจทำให้พืชบริเวณหัวแปลงและท้ายแปลงนั้นไม่ได้รับสารเพียงพอ

บินโดรนการเกษตร

“ปรับใช้เทคนิคการบินโดรนพ่นสารชีวภัณฑ์กลุ่มพืชผัก ได้ผลลัพธ์ดีเยี่ยมหลายประการ”

จากการทดลองใช้เทคนิคบินโดรนช่วยให้พืชเติบโตมีประสิทธิภาพขึ้นจริง โดยมีผลการทดสอบ* ดังนี้

ผลการทดสอบกับผักกวางตุ้ง (ตัวแทนกลุ่มผักกินใบ)

  • ความสูง ความกว้างทรงพุ่ม จำนวนใบ น้ำหนักสด – แห้ง มากกว่าต้นที่ไม่ได้รับการฉีดพ่น
  • ค่าเฉลี่ยการปกป้องใบพืชจากการทำลายของแมลงอยู่ที่ 52% เทียบกับจำนวนบาดแผลการเข้าทำลายกับต้นที่ไม่ได้รับการฉีดพ่น
  • ผลกำไรเพิ่มขึ้น 36,074 บาท หรือเกือบเท่าตัว (93%)

ผลการทดสอบกับมะเขือเทศ(ตัวแทนกลุ่มผักกินผล)

  • ความสูงต้นและน้ำหนักสดมากกว่าต้นที่ไม่ได้รับการฉีดพ่น

ประสิทธิภาพการป้องกันแมลง

  • การฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์สามารถป้องกันแมลงได้ 7 – 14 วันหลังฉีด ขึ้นอยู่กับชนิดของแมลงและความรุนแรงของการเข้าทำลาย
โดรนพ่นยาคูโบต้า

รู้จัก ‘สารชีวภัณฑ์’ ที่ใช้ในการฉีดพ่น

สารชีวภัณฑ์ที่ใช้ในการฉีดพ่นบำรุงพืชผักดังกล่าว มีทั้งหมด 3 ชนิดดังนี้

  1. บิวเวอเรีย (Beauveria bassiana)
  2. เชื้อราจากธรรมชาติ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้ใช้ ไม่มีสารพิษตกค้างหรือส่งผลต่อธรรมชาติ
  3. ป้องกัน ควบคุม กำจัดได้ในระยะยาว ไม่ดื้อยา
  4. เหมาะกับเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงหวี่ขาว หนอนเจาะลำต้น แมลงปีกแข็ง
  5. กลไกคือการที่สปอร์เชื้อราสัมผัสเข้าสู่แมลงทางผนังลำตัว รูหายใจ บาดแผล เมื่อได้รับความชื้น สปอร์จะแทงทะลุผิวหนังลำตัว สร้างเส้นใยและทำลายแมลงลง
  6. ต้นทุนต่ำ
  1. เมธาไรเซียม (Metarhizium anisopliae)
  2. มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้ใช้ ผ่านการตรวจสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองตามมาตรฐาน OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development) GLP (Good Labour Practices)
  3. ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงดีที่มีประโยชน์
  4. เหมาะกับด้วง หนอน ไรแดง เพลี้ย ด้วงปีกแข็ง แมลงวันผลไม้ แมลงทำลายรากพืช
  5. กลไกคือการที่สปอร์เชื้อราสัมผัสกับแมลง ทำให้เกิดโรคเมธาไรเซียม (Metarhizium Infection)ที่ทำให้แมลงติดเชื้อและตายลง
  1. สารสะเดา (Azadirachtin)
  2. สกัดจากใบและเมล็ดของต้นสะเดา (Neem Tree)
  3. เหมาะกับแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด หนอนผีเสื้อ หนอนผัก หนอนชอนใบ
  4. กลไกคือการเจือปนสารสกัดจากใบและเมล็ดกับฮอร์โมนแมลงจนส่งผลกับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ

เทคนิคการเลือกสารชีวภัณฑ์: เลือกให้เหมาะกับสถานการณ์ เช่น ใช้สารสะเดากำจัดแมลงปากดูด และควรเลือกสารชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ไม่ปนเปื้อน เพื่อใช้ป้องกันแมลงได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด

สารชีวภัณฑ์บิวเวอเรีย เมธาไรเซียม
ขอบคุณภาพจาก กรมวิชาการเกษตร

ใช้สารเคมีกำจัดแมลงแทนสารชีวภัณฑ์ได้หรือไม่ ?

ใช้ได้ แต่มีข้อพิจารณาในการใช้ดังนี้

  1. เลือกใช้หลักจากประเมินความรุนแรงของการระบาดว่าอยู่ในระดับสูง การใช้สารกำจัดแมลงในรูปแบบสารเคมีสามารถกำจัดแมลงได้อย่างรวดเร็ว เมื่อสามารถควบคุมการระบาดได้แล้ว ให้หยุดใช้
  2. ควรสวมชุดป้องกันขณะใช้งาน หากได้รับสารโดยตรง หรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  3. ก่อให้เกิดอันตรายต่อแมลงบางประเภทที่มีประโยชน์ เช่น แมลงตัวห้ำ ผึ้ง

แนะนำให้ใช้สารชีวภัณฑ์ที่ออกฤทธิ์ต่อฮอร์โมนหรือระบบภายในแมลงโดยตรง โดยพิจารณาแมลงที่เจอ และคอยประเมินความรุนแรงของการระบาดเป็นระยะ หากพิจารณาแล้วว่าความรุนแรงอยู่ในระดับสูงค่อยเริ่มพิจารณาใช้สารเคมีกำจัดแมลง

ผลิตสารชีวภัณฑ์ใช้เองได้หรือไม่ ?

ใช้ได้ โดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมวิชาการเกษตร หรือกรมส่งเสริมการเกษตร ได้สนับสนุนให้เกษตรกรผลิตสารชีวภัณฑ์ใช้เอง เพื่อลดต้นทุนลง เช่น การผลิตไตรโคเดอร์มา อ่านเพิ่มเติม คลิก

เลือกใช้โดรนการเกษตร พ่นสารชีวภัณฑ์ เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

ปัจจุบันการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการใช้โดรนการเกษตรร่วมกับสารชีวภัณฑ์ โดยเฉพาะเมื่อใช้เทคนิคการบินที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพอย่างมหาศาล ทั้งลดระยะเวลาการทำงาน เพิ่มความแม่นยำ ลดความเหนื่อยล้า กำจัดศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดการใช้สารชีวภัณฑ์โดยไม่จำเป็น ข้อดีเหล่านี้ล้วนเป็นคำตอบสำหรับเกษตรกรไทย ในการเพิ่มผลผลิตและผลกำไรอย่างยั่งยืน

ซื้อโดรนการเกษตร (Spraying Drone) ซื้อโดรนพ่นยา

ลงทุนหรือทดลองใช้โดรนการเกษตร (Spraying Drone) ให้ชีวิตงานเกษตรก้าวหน้า เริ่มได้ที่ KUBOTA

เกษตรกรไทยท่านใดสนใจโดรนการเกษตร (Spraying Drone) สามารถทดลองใช้ได้ฟรี เพียง คลิกที่นี่ หรือติดต่อสอบถามได้เลยผ่านช่องทางดังนี้

*ผลงานวิจัย: ศึกษาการใช้ประโยชน์จากโดรนการเกษตร (Spraying Drone) สำหรับฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ กลุ่มพืชผัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาพืชผักจัดทำขึ้น ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2565

ชีวภัณฑ์บิวเวอเรีย เมธาไรเซียม : https://www.nstda.or.th/

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

สยามคูโบต้า นำองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร ไปต่อยอดและพัฒนาเกษตรกร ด้วยการทำแปลงทดสอบการปลูกพืชหมุนเวียน (Revolving crop model) ในพื้นที่นาข้าว ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาห้วยตาดข่า จ.อุดรธานี โดยร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร
ชีวภัณฑ์ มิตรคู่เกษตรกร ผู้ปกป้องพืชผักจากศัตรูพืช วิธีการเกษตรที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีห่วงโซ่อาหารเข้ากับเกษตรกรรมอย่างลงตัว อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจในยุคที่การใช้สารเคมีไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้บริโภค เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งชีวภัณฑ์คืออะไร ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือไม่ หาคำตอบได้ในบทความนี้กับ KUBOTA