มะละกอเป็นพืชที่มีความต้องการสูง แต่ประสบปัญหาการขยายพันธุ์ยาก เพราะอัตรา
การกลายพันธุ์สูง เกษตรกรจึงต้องหาวิธีที่จะรักษาพันธุ์ของมะละกอที่ดีไว้ เพื่อให้ตอบโจทย์
ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่ง “การตอน” อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาพันธ์ุที่ดีไว้
จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
‘ตอนมะละกอ’ ขั้นตอนการเพิ่มผลผลิตให้มากกว่าที่เคย
การตอนมะละกอ คือ วิธีการขยายพันธุ์ที่ช่วยให้ต้นมะละกองอกออกมาเหมือนกับต้นแม่
ทุกประการ ลดความเสี่ยงในเรื่องการกลายพันธุ์ ซึ่งทำให้เกษตรกรสามารถคุมคุณภาพ
ของผลผลิตได้ทั้ง สี รสชาติ ปริมาณ และภูมิต้านทาน
ประโยชน์ของการตอนมะละกอ
การตอนมะละกอมีประโยชน์มากมายดังนี้
- คงคุณภาพผลผลิต ตรงกับต้นแม่ทุกประการ
- ต้นเตี้ย ดูแลง่าย เก็บเกี่ยวสะดวก
- ลำต้นแข็งแรง ไม่หักโค่นง่าย
- แตกกิ่งมากขึ้น สร้างผลผลิตได้มากกว่า
- เก็บเกี่ยวรวดเร็ว ให้ผลผลิตไวเก็บเกี่ยวได้ทันใจ
มะละกอพันธุ์ไหนเหมาะสำหรับการตอนเพื่อทำมะละกอต้นเตี้ย
พันธุ์มะละกอที่เหมาะสำหรับการทำมะละกอต้นเตี้ย
- มะละกอพันธุ์แขกดำ
- มะละกอพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ
- มะละกอพันธุ์แขกนวล
- มะละกอพันธุ์แขกดำดำเนิน
- มะละกอพันธุ์แขกหลอด
- มะละกอพันธุ์ท่าพระ 1,2,3
- มะละกอพันธุ์สายน้ำผึ้ง
- มะละกอพันธุ์จำปาดะ
- มะละกอพันธุ์พันธุ์เรดเลดี้
- มะละกอพันธุ์โนนยูเบอร์ 1
อุปกรณ์สำหรับการตอนมะละกอ
อุปกรณ์สำหรับตอนมะละกอมี ดังนี้
- ถุงบรรจุขุยมะพร้าว
- มีดขนาดเล็ก หรือ คัตเตอร์ขนาดใหญ่
- เชือกฟาง
- ไม้เสียบลูกชิ้น
การตอนมะละกอต้นเตี้ย มีกี่แบบ มีขั้นตอนอย่างไร
การตอนมะละกอแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. ตอนมะละกอจากกิ่งแขนง
ตอนกิ่งมะละกอจากกิ่งแขนงมีขั้นตอน ดังนี้
- เลือกต้นพันธุ์ชั้นดี ที่ออกผลผลิตจำนวนมาก และคัดเลือกกิ่งเพื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อไป
- เลือกกิ่งแขนง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
- เฉือนกิ่งแขนง 2 ใน 3 ส่วนจากล่างขึ้นบน โดยนับจุดที่จะเฉือนจากยอดกิ่งลงมา
25 – 30 ซม. - กั้นรอย นำไม้เสียบลูกชิ้นมาคั่นระหว่างรอยเพื่อป้องกันไม่ให้แผลปิดสนิท
- เตรียมถุงห่อ ผ่าถุงพลาสติกที่บรรจุขุยมะพร้าวไว้ข้างใน รดน้ำให้ชุ่ม และบิดให้หมาด
- ห่อถุงพลาสติก ตรงบริเวณปากแผลและมัดเชือกให้แน่น
- เฉือนท่อน้ำเลี้ยง ให้ห่างจากกิ่งตอน 3 – 5 นิ้ว เพื่อกระตุ้นให้มะละกองอกรากได้ไวขึ้น
- รากงอก หลังจาก 30 – 45 วัน รากจะงอกจากรอยจนเต็มถุง
- ตัดกิ่ง โดยควรตัดในช่วงเย็นหรือตอนฝนตก เนื่องจากใบมะละกอจะคายน้ำไวมาก หรืออีกวิธีหนึ่งคือตัดก้านใบให้เหลือน้อยที่สุดและเหลือยอดใบไว้ โดยใบที่เหลือจะถูกสลัดใน
3 – 5 วัน - ลงปลูก ในกระถางหรือดิน โดยระวังอย่ากดดินบนกระเปาะแรงเกินไปเนื่องจากเสี่ยง
รากขาด
2. ตอนมะละกอจากต้นพันธุ์
ตอนละกอจากต้นพันธุ์มีขั้นตอน ดังนี้
- เลือกต้นพันธุ์ชั้นดี ที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์รุ่นแรก
- ตอนต้นมะละกอ ให้ลึก 2 ใน 3 ของลำต้น โดยเลือกตำแหน่งได้ตามต้องการ
อยากได้สูงเท่าไหร่ก็ตอนเท่านั้น - กั้นรอย นำไม้เสียบลูกชิ้นมาคั่นระหว่างรอยเพื่อป้องกันไม่ให้แผลปิดสนิท
- เฉือนท่อน้ำเลี้ยง รอบต้นโดยนับจากรอยบากลงข้างล่าง 3 – 5 นิ้ว เพื่อกระตุ้นให้มะละกองอกราก
- เตรียมถุงห่อ ผ่าถุงพลาสติกที่บรรจุขุยมะพร้าวไว้ข้างใน รดน้ำให้ชุ่ม และบิดให้หมาด
- ห่อถุงพลาสติก ตรงบริเวณปากแผลและมัดเชือกให้แน่น
- รากงอก หลังจาก 30 – 45 วัน รากจะงอกจากรอยจนเต็มถุง
- ตัดลำต้น โดยควรตัดในช่วงเย็นหรือตอนฝนตก เนื่องจากใบมะละกอจะคายน้ำไวมาก
หรืออีกวิธีหนึ่งคือตัดก้านใบให้เหลือน้อยที่สุดและเหลือยอดใบไว้ โดยใบที่เหลือจะถูกสลัดใน 3 – 5 วัน - ลงปลูก ในกระถางหรือดิน โดยระวังอย่ากดดินบนกระเปาะแรงเกินไปเนื่องจาก
เสี่ยงรากขาด - บำรุงลำต้นเดิม ด้วยปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) เพื่อให้งอกกิ่งและใบขึ้นมาอีกครั้งสร้างผลผลิตได้ดังเดิม
สรุปเกี่ยวกับการตอนมะละกอ
การตอนมะละกอ เป็นวิธีที่ดีและเหมาะสมสำหรับการขยายพันธุ์มะละกอ จะช่วยแก้ปัญหา
การกลายพันธุ์ของมะละกอที่ส่งผลให้คุณภาพผลผลิตไม่คงที่ ทำให้การขายเป็นเรื่องยาก นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว ช่วยสร้างความสะดวกสบาย
ให้เกษตรกร เพิ่มปริมาณและคงคุณภาพให้ผลผลิต หากชอบสาระดี ๆ เกี่ยวกับการเกษตรแบบนี้สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ KAS คลิกเลย