ไม่หว่าน = ประหยัด

ทำนาหว่าน = เพิ่มต้นทุน?

รู้หรือไม่ว่าการทำนาด้วยวิธีการหว่านแห้ง หรือการหว่านน้ำตม ส่งผลให้เกษตรกรต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ และค่าจ้างแรงงาน เนื่องจากการหว่านจะทำให้ต้นข้าวแตกกอหนาแน่น ไม่เป็นระเบียบ จึงจัดการดูแลรักษายาก โดยเฉพาะการกำจัดวัชพืช มีโอกาสเกิดโรค
และได้รับความเสียหายจากแมลงศัตรูพืช

หากเกษตรกรเปลี่ยนจากการทำนาหว่าน มาเป็นการทำนาดำ หรือนาหยอด จะสามารถบริหารจัดการในการดูแลรักษานาข้าวได้สะดวกง่ายดายมากขึ้น เพราะการทำนาดำจะทำให้นาข้าวสวยงาม เป็นแถวเป็นแนว มีระเบียบ

การใช้รถดำนาช่วยในการปักดำต้นกล้า ทำให้ข้าวแตกกอดี ได้เมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ เหมาะแก่การทำเป็นเมล็ดพันธุ์

ส่วนการทำนาหยอด ทั้งการหยอดแบบน้ำตม หรือการหยอดแห้ง จะได้นาข้าวที่เป็นระเบียบ
เรียงเป็นแถวเป็นแนว สะดวกอย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการในการดูแลรักษา

ไม่ว่าจะเป็นการทำนาดำ หรือการทำนาหยอด จะช่วยลดการใช้เมล็ดพันธุ์ลง 26-40%
ช่วยประหยัดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ ทั้งยังสามารถบริหารจัดการแปลงนาได้ง่าย
ด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรที่รองรับการทำงานในทุกขั้นตอน

หมดปัญหาแรงงาน ทำงานได้ทั้งนาปี นาปรัง จัดการแปลงนาง่าย ลดต้นทุนค่าปุ๋ย
ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ได้ผลผลิตเพิ่ม

หากต้องการศึกษาเรื่องการทำนาดำ และนาหยอดเพิ่มเติม คลิกเลย

เกษตรชีวิตดีที่ใครก็เริ่มได้ เริ่มต้นเกษตรชีวิตดีกับคูโบต้า

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกษตรกรไร่อ้อยต่างทราบดีว่า หากดินแห้งแล้งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยเป็นอย่างมาก หากต้องการให้อ้อยเจริญงอกงาม ไม่ยืนต้นตาย มีวิธีใดบ้าง มาดูกัน
ขั้นตอนการปลูกผักตั้งแต่เพาะกล้า ยกร่อง และลงมือปลูก ค่าแรงงานคือต้นทุนหลักในการดำเนินงาน จะมีวิธีไหนที่จะช่วยให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน รวมทั้งปลูกผักได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นได้บ้าง มาหาคำตอบในบทความนี้กัน