เทคนิคบำรุง แทรกเตอร์ คูโบต้า ยืดอายุการใช้งานให้นาน คุ้มเงิน
“แทรกเตอร์ คูโบต้า” เป็นแทรกเตอร์ที่ช่วยทุ่นแรงในการทำการเกษตรให้กับเกษตรกร แต่การใช้งาน
ก็ต้องควบคู่ไปกับการดูแลซ่อมบำรุงรักษา ตรวจเช็กสภาพ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแทรกเตอร์คูโบต้า
ให้อยู่กับเราไปนาน ๆ เหมือนกับวันแรกที่ตัดสินใจลงทุนซื้อมา เทคนิคในการซ่อมบำรุงรักษาแทรกเตอร์
คูโบต้าจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
7 เทคนิคบำรุง แทรกเตอร์ คูโบต้า ทำตามนี้อายุการใช้งานนานขึ้นแน่นอน
1. ตรวจสอบสภาพแทรกเตอร์ คูโบต้า
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งานให้นานยิ่งขึ้น ให้ทำการตรวจเช็กเครื่องยนต์ก่อนใช้งาน
ทุกครั้ง โดย
- จอดบนพื้นที่ราบ ล็อกเบรกและดับเครื่องยนต์ดึงกุญแจออกทุกครั้ง
- ตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิงและเติมน้ำมันเชื้อเพลิง การตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ดูที่เกจวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิง ควรมีระดับน้ำมันเชื้อเพลิง 3 ใน 4 ของเกจวัดระดับ
เพื่อให้สามารถใช้งานได้โดยไม่ติดขัด - ตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่อง เพื่อป้องกันความเสียหายของเครื่องยนต์ขณะใช้งาน
ควรตรวจเช็กระดับน้ำมันดังนี้ ดึงก้านวัดออกมาทำความสะอาด และใส่ก้านวัดให้สุดอีกครั้ง
ดึงก้านวัดออกมาตรวจสอบระดับน้ำมัน ซึ่งควรอยู่ระหว่างขีดบนและขีดล่างของก้านวัดระดับ
หากพบว่าไม่อยู่ในระดับที่กำหนดให้เติมเพิ่มให้ได้ระดับ - ตรวจเช็กสภาพแบตเตอรี่ เพื่อให้ระบบไฟฟ้าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดย สังเกตไฟเตือน
รูปแบตเตอรี่บริเวณแผงหน้าปัด ถ้าไฟไม่ชาร์จเข้าไปในแบตเตอรี่ ไฟเตือนจะติดสว่างขึ้น
ที่แผงหน้าปัด ขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน ถ้าไฟเตือนนี้ติดขึ้นระหว่างการขับขี่ ให้ทำการตรวจเช็ก
ระบบการชาร์จไฟ หรือปรึกษาตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้านท่าน
สำหรับการตรวจสภาพแบตเตอรี่ ให้สังเกตที่ช่องสีของตาแมว
- สีเขียว ไฟเต็ม
- สีแดง ไฟอ่อน ควรชาร์จไฟเพิ่ม
- สีขาว ควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่
อย่าลืมสังเกตระดับน้ำกลั่น ให้อยู่ระหว่างขีดบนและขีดล่าง หากต่ำกว่าขีดล่างจะทำให้แบตเตอรี่
เสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด ให้ทำการเติมน้ำกลั่นหรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่
- การปรับตั้งระยะฟรีคันเหยียบคลัตช์ หากไม่ปรับตั้งจะทำให้คลัตช์สึกหรอ และมีเสียงดัง
ขณะเข้าเกียร์ ซึ่งจะส่งผลให้เกียร์เกิดความเสียหายได้ - การปรับตั้งระยะฟรีการเหยียบเบรก หากไม่ปรับตั้งจะทำให้เบรกไม่อยู่และเกิดอันตรายได้
- การปรับความตึงของสายพานพัดลม ควรปรับตั้งตามค่าที่กำหนดซึ่งในแต่ละรุ่นจะมีระยะ
ที่แตกต่างกัน สามารถศึกษาได้จากคู่มือการใช้งาน ต้องปรับให้พอดีไม่ตึงหรือไม่หย่อนจนเกินไป
หากปรับสายพานพัดลมตึงเกินไป จะทำให้ลูกปืนไดชาร์จและสายพานชำรุดได้ง่าย
หากปรับสายพานพัดลมหย่อนเกินไป จะทำให้ระบบชาร์จไฟผิดปกติและความร้อนของเครื่องยนต์จะเพิ่มสูงขึ้น - ก่อนใช้งานควรปรับตั้งความคล่องตัวคานล้อหน้า การเปลี่ยนน้ำมันคานล้อหน้า, เปลี่ยนถ่ายน้ำระบายความร้อน การไล่ลมในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
2. หมั่นดูแลเครื่องยนต์อยู่เสมอ
เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เสื่อมสภาพก่อนเวลาที่ควร ดังนั้น ก่อนใช้งานควรเช็กเครื่องยนต์ก่อนใช้งาน และดูแลเครื่องยนต์อยู่เสมอ โดย
- การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองน้ำมันเครื่อง เพื่อป้องกันการเสียหายและอุดตัน
ของระบบหล่อลื่นของเครื่องยนต์ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองน้ำมันเครื่องตามชั่วโมง
การใช้งานของแทรกเตอร์แต่ละรุ่น แนะนำให้ใช้อะไหล่และน้ำมันเครื่องแท้จากคูโบต้าเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดและยืดอายุการใช้งาน - การตรวจเช็กระบบสตาร์ทเครื่องยนต์ เพื่อเช็กว่าระบบป้องกันความปลอดภัยการสตาร์ทเครื่องยนต์มีปัญหาหรือไม่ โดยก่อนทำการทดสอบเพื่อความปลอดภัยให้คาดเข็มขัดนิรภัยไว้เสมอ ดึงคันล็อคเบรกทุกครั้ง จากนั้นให้ทำการทดสอบระบบสตาร์ท โดยมีทั้งหมด 3 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 ทดสอบการสตาร์ทเครื่องยนต์ในสภาวะปกติ
กรณีที่ 2 ทดสอบระบบป้องกันการสตาร์ทส่วนคันเกียร์พีทีโอ
กรณีที่ 3 ทดสอบระบบป้องกันการสตาร์ทคันเหยียบคลัตช์ การทดสอบระบบป้องกันการสตาร์ทเครื่องยนต์ของแต่ละรุ่นก็จะแตกต่างกันออกไป สามารถดูได้จากคู่มือการใช้งานและการบำรุงรักษา
ของแต่ละรุ่น
ดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือการบำรุงรักษาแทรกเตอร์คูโบต้า “การตรวจเช็กระบบสตาร์ทเครื่องยนต์”
3. ควรอัดจาระบีทุกครั้งก่อน-หลังใช้งาน
ผู้ใช้งานควรหยอดน้ำมันหรืออัดจาระบีตามส่วนที่เคลื่อนไหวได้ เช่น ก้านคันโยก คันเกียร์ เพื่อป้องกัน
การติดขัดหรือเสียหาย โดยดูจากคู่มือการใช้งานและบำรุงรักษารถแทรกเตอร์ การอัดจาระบี ควรใช้กระบอกอัดจาระบีในการอัดจาระบีตามจุดต่าง ๆ ดังนี้
- ขั้วแบตเตอรี่ 2 จุด
- แท่นยึดคานล้อหน้า 2 จุด
- ปลายคันชัก-คันส่ง 2 จุด
- แขนกลาง 2 จุด
- ข้อต่อแขนยกด้านขวา 2 จุด
- เพลากำปั้นไฮดรอลิก 2 จุด
หากแทรกเตอร์ คูโบต้าทำงานในพื้นที่ที่เปียกชื้นและมีน้ำขัง หรือโคลนตม จำเป็นต้องอัดจาระบี
ให้บ่อยกว่าเดิม เพื่อป้องกันการเสียหายของชิ้นส่วน จาระบีที่ใช้ ควรเลือกใช้เป็นจาระบีตราช้างที่ทนน้ำ
และความร้อน เพื่อป้องกันการเกิดสนิม และการกัดกร่อนสึกหรอ
หมายเหตุ : แทรกเตอร์ คูโบต้าแต่ละรุ่นก็มีจุดอัดจาระบีที่แตกต่างกันออกไป ด้านบนจะเป็นสำหรับรุ่น L ส่วนรุ่นอื่น ๆ สามารถศึกษาได้จากคู่มือการใช้งานและบำรุงรักษาของรถแทรกเตอร์แต่ละรุ่น
ดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือการบำรุงรักษาแทรกเตอร์คูโบต้า “การอัดจาระบี”
4. หลีกเลี่ยงการใช้งานในพื้นที่อันตราย
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการใช้งานแทรกเตอร์ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเสียหาย เช่น ไฟฟ้าลัดวงจรจากพื้นที่น้ำขัง หรือพื้นที่ ที่มีตอมีหิน หรือพื้นที่ลาดเอียง ก่อนการใช้งาน ผู้ใช้งานควรสำรวจพื้นที่และสอบถามเจ้าของแปลงนาทุกครั้ง
ดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่ วิธีนำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่ม โดยการใช้แทรกเตอร์อีกคันมาลาก
5. ทำความสะอาดให้หมดจด
ควรหมั่นทำความสะอาดแทรกเตอร์ คูโบต้า โดยการล้างอัดฉีดบริเวณที่มีดินโคลนเกาะอยู่ออกให้หมด
ทุกครั้งหลังการใช้งาน
นอกจากนี้ยังมีการทำความสะอาดจุดอื่น ๆ อีก ได้แก่
- จุดทำความสะอาดซีล
- ชุดแผงหม้อน้ำและตะแกรงหม้อน้ำ
- ตะแกรงหม้อน้ำ ควรทำความสะอาดตะแกรงหม้อน้ำอยู่เสมอ เพื่อให้อากาศไหลผ่านได้สะดวก
ช่วยป้องกันเครื่องยนต์ร้อนจัดได้ โดยใช้ผ้าเช็ดที่ตะแกรง หากตะแกรงหม้อน้ำผิดรูปหรือเสียหาย
ให้เปลี่ยนใหม่ทันที - แผงหม้อน้ำให้ใช้ลมเป่าหรือใช้น้ำฉีดเบาๆแล้วเป่าให้แห้ง เท่านั้น
- ชุดกรองอากาศ
ผู้ใช้งานควรทำความสะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง แทรกเตอร์ คูโบต้า รุ่นที่เป็นกรองแห้งหรือกรองเปียก และเปลี่ยนใหม่ตามชั่วโมงการใช้งานของแทรกเตอร์แต่ละรุ่น ช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์
เกิดความผิดปกติขณะใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เสียหายควรใช้กรองอากาศของแท้จากคูโบต้าเท่านั้น
ดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือการบำรุงรักษาแทรกเตอร์คูโบต้า “การทำความสะอาดและการเปลี่ยนกรองอากาศแบบแห้ง”
6. ตรวจสอบชั่วโมงของตัวรถเทียบกับชั่วโมงในการเปลี่ยนถ่ายและบำรุงรักษาที่ศูนย์บริการสยามคูโบต้า
บริษัทสยามคูโบต้า ให้ความสำคัญในด้านงานบริการหลังการขาย รถแทรกเตอร์ คูโบต้ามีการรับประกันคุณภาพตามระยะเวลาและอายุการใช้งาน สามารถนำรถแทรกเตอร์คูโบต้าเข้ารับการตรวจเช็กสภาพฟรี 5 ครั้ง ภายใน 2 ปี นับจากวันที่ส่งมอบรถ โดยลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้จากศูนย์บริการสยามคูโบต้าที่มีครอบคลุมอยู่ทั่วทั้งประเทศ
นอกจากนี้ ศูนย์บริการสยามคูโบต้ายังมีการเตรียมความพร้อมด้วยช่างผู้ชำนาญการซึ่งผ่านการฝึกอบรมและได้รับการรับรองจากบริษัท ทำการให้บริการตรวจเช็กและซ่อมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย อีกทั้งยังมีหน่วยบริการเคลื่อนที่ออกให้บริการลูกค้าถึงบ้านอีกด้วย
7. เลือกใช้อะไหล่แท้ มีคุณภาพ
การใช้อะไหล่ปลอม อาจทำให้แทรกเตอร์พังไวขึ้น การเลือกอะไหล่แท้ ที่มีการรับประกัน จะช่วยให้การใช้งานมั่นใจมากขึ้น คุ้มค่ากับราคาที่จ่าย และยืดอายุการใช้งานของแทรกเตอร์ได้นานมากขึ้น เพราะคูโบต้าคือผู้ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร จึงออกแบบอะไหล่ด้วยความเข้าใจ อะไหล่ทุกชิ้นจึงเหมาะสมที่สุดสำหรับรถคูโบต้า ทุกกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน ตรวจสอบคุณภาพอะไหล่อย่างเคร่งครัดทุกชิ้นก่อนส่งมอบถึงมือลูกค้า ดูรายการอะไหล่เพิ่มเติมได้ที่ KUBOTA Store
แทรกเตอร์ คูโบต้ามีปัญหา ศูนย์บริการ KUBOTA พร้อมช่วยแก้ไขทั่วประเทศไทย
หากแทรกเตอร์ คูโบต้า มีปัญหา สามารถติดต่อศูนย์บริการเทคนิค ที่พร้อมให้บริการหลังการขาย
เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ ด้วยศูนย์บริการเทคนิคสยามคูโบต้าและศูนย์บริการของผู้แทนจำหน่ายครอบคลุม
ทั่วประเทศ หรือสามารถติดต่อสายด่วนบริการ 1747 ที่จะช่วยให้คำปรึกษาปัญหาทางเทคนิค
โดยช่างผู้ชำนาญการ ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ และมีความเป็นมืออาชีพ พร้อมให้บริการดูแลและซ่อมแซมแทรกเตอร์ทุกรูปแบบ หรือติดต่อเข้ารับบริการออนไลน์ผ่านทาง LINE @siamkubota
หากท่านใดสนใจเทคนิคในการบำรุงรถแทรกเตอร์ คูโบต้า สามารถเข้าไปดูได้ที่ คู่มือการบำรุงรักษาแทรกเตอร์คูโบต้า เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานให้กับรถแทรกเตอร์