
การทำนาแบบ นาหว่าน มักเป็นที่นิยมและใช้กันมาอย่างยาวนาน แต่จริง ๆ แล้วการทำนาหว่าน เป็นการใช้เงินและทรัพยากร คุ้มค่าเพียงพอ สำหรับเกษตรกรไทยหรือไม่..? และหากเปรียบเทียบกับการทำนาในรูปแบบ นาหยอด และ การปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์ (Laser land leveling) แบบไหนจะช่วยเพิ่มกำไรให้เกษตรกรได้มากกว่ากัน ในบทความนี้ KAS หรือ KUBOTA (Agri) Solutions จะมาเปรียบเทียบการทำนาทั้ง 3 รูปแบบให้เกษตรกรไทยได้เรียนรู้ถึง
ความแตกต่างและนำไปใช้ให้เหมาะสมกับแปลงของตนเอง เพื่อยกระดับงานเกษตรขึ้นอีกขั้น
“เรียนรู้ถึงความแตกต่างของการทำนาปัจจุบัน
เทียบกับ 10 – 20 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้รู้ว่าเกษตรกรหยุดนิ่งไม่ได้”
10 – 20 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรใช้แรงงานคนเป็นหลัก แต่การใช้แรงงานคนอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมเท่าใดนัก จึงมีการนำ ‘เทคโนโลยีการผลิต’ หรือตัวช่วยงานเกษตรเข้ามาใช้ เช่น รถไถนาเดินตาม แทรกเตอร์ โดรน หรือระบบ Auto Steering ซึ่งเป็นระบบบังคับพวงมาลัยอัตโนมัติ ที่จะเข้ามาช่วยทั้งด้านการเพาะปลูก การจัดการแปลง ช่วยพลิกโฉมการทำนาแบบดั้งเดิม ให้กลายเป็น Smart Farm

และถึงแม้ในปัจจุบัน จะมีเทคโนโลยีให้เกษตรกรได้เลือกสรรอยู่มากมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะสมกับทุกพื้นที่ของเกษตรกร ดังนั้นเกษตรกรควรจะเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะกับพื้นที่ของตนเองมากที่สุด

ทำนาดั้งเดิม VS นาหยอด VS นาหยอดกับปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์(Laser land leveling)
การทำนาแบบดั้งเดิม
- ทำนาแบบหว่าน เกษตรกรแต่ละคนไม่สามารถกำหนดปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ในแต่ละแปลงได้แน่นอน ทำให้บางครั้งอาจจะใช้เมล็ดพันธุ์จำนวนมากเกินความจำเป็น
- ไถ ปั่นแปลง จัดการพื้นที่ตามปกติ
- ใช้การหว่านมือ หรือเครื่องหว่าน
- ใช้เครื่องยนต์หรือเคียวกำจัดวัชพืช
- จัดการดิน ปุ๋ยด้วยการใส่ปุ๋ยคอก มูลสัตว์ และปุ๋ยเคมี
การทำนาหยอด แบบ KAS เกษตรครบวงจร
- ทำนาแบบหยอดน้ำตม สามารถควบคุมปริมาณเมล็ดพันธุ์ได้แม่นยำมากขึ้น เมื่อมีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาช่วยในการทำงาน เนื่องจากเครื่องหยอดเมล็ดสามารถปรับตั้งปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่หยอดในแต่ละครั้งได้ ทำให้ข้าวโตได้สม่ำเสมอทั่วกันทั้งแปลง
- จัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง ช่วยควบคุมปริมาณน้ำในแปลง ให้เหมาะสมกับกับระยะการเจริญเติบโตของข้าว แปลงข้าวจึงไม่ต้องขังน้ำตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ทำให้ข้าวเจริญเติบโตได้ดี และช่วยลดต้นทุนการใช้น้ำในแปลงได้อีกด้วย
- บำรุงพืชด้วยการใช้โดรนพ่นยา หว่านปุ๋ย ทำให้ข้าวได้รับสารในปริมาณที่เท่ากันอย่างทั่วถึง ส่งผลให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสม่ำเสมอเท่ากันตลอดทั้งแปลง
- มีการวิเคราะห์ดินก่อนการเพาะปลูกเสมอ ซึ่งจะช่วยให้ข้าวได้รับสารอาหารได้อย่างเหมาะสม
ปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์ (Laser land leveling) แบบ KAS เกษตรครบวงจร
- ปรับระดับพื้นที่ให้สม่ำเสมอด้วยระบบเลเซอร์ (Laser land leveling)
- ควรปรับระดับพื้นที่ในช่วงที่แปลงนาแห้ง (ไม่ควรปรับในนาแบบน้ำตม) โดยการปรับครั้งหนึ่ง สามารถอยู่ได้ 2 – 3 ปี
- ทำนาแบบหยอดน้ำตม ตามแบบ KAS เกษตรครบวงจร
เปรียบเทียบผลลัพธ์การทำนาทั้ง 3 รูปแบบ
ทดสอบการทำนาทั้ง 3 รูปแบบ เพื่อหาผลลัพธ์และเปรียบเทียบความคุ้มค่า โดยแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ออกเป็น ทำนาดั้งเดิม 1 ไร่ นาหยอด 1.5 ไร่ (ทำนาเปียกสลับแห้ง และมีการวิเคราะห์ดิน) และทำนาหยอดและปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์ อยู่ที่ 1.5 ไร่ ทำคันนากั้น (ทำนาเปียกสลับแห้ง และมีการวิเคราะห์ดิน) ซึ่งได้ผลลัพธ์ดังตารางต่อไปนี้

*กำไรเปรียบเทียบจากผลผลิตข้าวเปลือกที่ความชื้น 15%
*ราคาขายข้าวประมาณ 12 บาท/ กก. (ราคาผลผลิตอ้างอิงจากราคาข้าวเปลือกของแต่ละจังหวัด สมาคมโรงสีข้าวไทย ประจำวันที่ 25 สิงหาคม 2566)
*คำนวณปริมาณน้ำคร่าว ๆ จากความสูงพื้นที่
*สัดส่วนการแบ่งพื้นที่ ทำนาดั้งเดิม 1 ไร่
- นาหยอด 1.5 ไร่ (ทำนาเปียกสลับแห้ง และมีการวิเคราะห์ดิน)
- ทำนาหยอดและปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์ อยู่ที่ 1.5 ไร่ ทำคันนากั้น (ทำนาเปียกสลับแห้ง และมีการวิเคราะห์ดิน)
ข้อควรรู้ก่อนทำนาหยอด และการปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์
- ต้นทุน – การทำนาหยอดด้วย DS10 และการปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์ อาจต้องมีการปรับพื้นที่ทุก ๆ 2 – 3 ปี เนื่องจากการทำงานด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่จะส่งผลทำให้พื้นที่กลับมาไม่สม่ำเสมอ จึงต้องใช้ทุนที่สูงกว่าปกติ
- ขนาดของแปลง – แปลงที่ปรับระดับด้วยระบบเลเซอร์ควรมีขนาดใหญ่ เพราะการปรับระดับพื้นที่ด้วยระบบเลเซอร์มีค่าใช้จ่ายพอสมควร หากปรับระดับด้วยระบบเลเซอร์ในพื้นที่นาขนาดเล็ก อาจทำให้ไม่คุ้มค่า
- ความต่างระดับ – ในหนึ่งแปลงไม่ควรมีความต่างระดับเกิน 20 ซม. เนื่องจากในการเตรียมแปลงต้องมีการปรับหน้าดินจากจุดที่มีระดับสูงไปยังระดับที่ต่ำกว่า จนอาจทำให้สูญเสียธาตุอาหารสำคัญในระดับหน้าดินได้
- วิเคราะห์ปรับปรุง – หมั่นสังเกตการเจริญเติบโต การใส่ปุ๋ย ธาตุอาหารให้เหมาะสมในแต่ละช่วงของข้าว เพื่อให้ผลผลิตได้ตามที่คาดการณ์
- ความเหมาะสมของดินและน้ำ – ต้องวิเคราะห์ดินให้ดี เพราะดินในแต่ละลักษณะต้องมีการควบคุมน้ำสำหรับการเตรียมแปลงที่แตกต่างกัน และต้องเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงแหล่งน้ำได้ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด


“สนใจเรียนรู้การทำนาหยอด และการปรับพื้นที่
ด้วยระบบเลเซอร์ (Laser land leveling) และนวัตกรรมใหม่ อื่น ๆ
อีกมากมาย เรียนรู้ได้จากที่ไหน”
หากคุณเป็นเกษตรกรที่ต้องการศึกษา Solutions พัฒนาการทำงานเกษตรที่ครบวงจร สามารถเยี่ยมชมฟรีได้ที่ KUBOTA FARM คลิกที่นี่ เพื่อลงทะเบียน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านช่องทาง:
- KUBOTA CONNECT เบอร์ 02-029-1747
- ศึกษาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ Siam Kubota
- ติดต่อผ่านร้านผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศ คลิกที่นี่
- Facebook Page: Siam Kubota และ Kubota Drone Club – คูโบต้าโดรนคลับ
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน LINE Official @siamkubota
แหล่งที่มา:
อ้างอิงตัวเลขข้อมูลและผลลัพธ์จากโครงการ Smart Farming Role Model ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี จัดทําในพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ เพาะปลูกวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 เก็บเกี่ยววันที่ 25 สิงหาคม 2566