ภัยแล้ง เกิดช่วงไหน กระทบเกษตรกรไทยอย่างไรบ้าง
ภัยแล้ง คือปัญหาที่เรามักได้ยินเป็นประจำ เป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างผลกระทบในหลากหลาย
ภาคส่วน โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ดังนั้นในบทความนี้ KUBOTA จะพาไปทำความรู้จักกับภัยแล้ง พร้อมแนะนำวิธีการรับมือ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
ภัยแล้ง คืออะไร
ภัยแล้ง คือ สภาวะที่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เกิดการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงเป็นระยะเวลานาน
ทำให้สภาพอากาศเกิดความแห้งแล้ง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งมนุษย์ สัตว์ และพืช ทำให้วิถีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงไป โดยภัยแล้งจะไม่เหมือนภัยประเภทอื่น
ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและหายไปอย่างรวดเร็ว แต่ภัยแล้งจะค่อย ๆ เกิด และคงอยู่ในพื้นที่เป็นระยะเวลานาน
ภัยแล้ง เกิดช่วงไหน
โดยปกติภัยแล้งในประเทศไทยมักเกิดขึ้นได้ 2 ช่วง ได้แก่
- ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องไปจนถึงปลายฤดูร้อน เริ่มจากปลายเดือนตุลาคม โดยฝนจะค่อย ๆ ลดลงตามลำดับ ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป
- ช่วงกลางฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนกรกฎาคม โดยฝนจะเกิดการทิ้งช่วงในระยะเวลานานทำให้เกิดภัยแล้งขึ้น
สาเหตุของการเกิดภัยแล้ง
โดยปกติภัยแล้งมักมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็น ระดับน้ำทะเลลดลง อุณหภูมิในอากาศที่เพิ่มขึ้น ชั้นบรรยากาศเบาบางลง ฯลฯ ซึ่งจะค่อย ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลง
แต่ปัจจุบันมีตัวเร่งที่ทำให้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั่นคือ กิจกรรมของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ เผาป่า ปล่อยมลพิษจากโรงงานสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้ภัยแล้งทวีความรุนแรง ยาวนาน
และสร้างผลกระทบในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
ภัยแล้ง กระทบต่อเกษตรกรไทยอย่างไร
ภัยแล้ง จะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรอย่างมหาศาล ทำให้ประสิทธิภาพการเพาะปลูกพืชลดลง หรือต้นพืชหยุดชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้รายได้
ของเกษตรกรไทยได้ลดลง และมีความเสี่ยงต่อการเกิดหนี้ครัวเรือน เพื่อนำมาลงทุนเพิ่มเติม
หรือดำรงชีพในชีวิตประจำวัน
วิธีรับมือต่อภาวะภัยแล้ง
เตรียมแนวทางการรับมือและการแก้ไขภัยแล้ง 3 วิธี ดังนี้
- วางแผนบริหารจัดการน้ำให้เหมาะเหมาะสมกับพื้นที่การเพาะปลูก คือ การสร้าง
แหล่งกักเก็บน้ำในฤดูฝน เช่น การขุดบ่อน้ำ หรือสระน้ำ ในบริเวณพื้นที่เพาะปลูก
เพื่อรวบรวมน้ำไว้ใช้ในยามแห้งแล้ง อยากรู้วิธีสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ คลิกเลย - หมุนเวียนการใช้น้ำ คือ วิธีการนำน้ำที่ใช้แล้ว มาผ่านกระบวนการกลั่นกรองที่สะอาด
และปลอดภัย แล้วนำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง - สำรวจน้ำใต้ดิน คือ การใช้ความรู้ทางธรณีวิทยาและอุทกวิทยา เพื่อสำรวจชั้นดิน
ที่มีแหล่งน้ำเพื่อทำการขุดเจาะและนำน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลมาใช้ เพื่อการบริโภค
หรือเพื่อการเกษตรกรรม
เข้าชมนวัตกรรมสู้ภัยแล้งฟรี! กับ KUBOTA Farm
ภัยแล้งรุนแรงขึ้นในทุก ๆ ปี สร้างผลกระทบให้เกษตรกรไทยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้วิธีป้องกันภัยแล้ง เพื่อปกป้องพื้นที่การเกษตรได้แล้วที่ KUBOTA Farm ลงทะเบียนเข้าชมได้ฟรี
โดยไม่มีค่าใช้จ่าย คลิกที่นี่ หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ผ่านช่องทางดังนี้
- KUBOTA CONNECT เบอร์ 02-029-1747
- Facebook Page: Siam Kubota และ Kubota Drone Club – คูโบต้าโดรนคลับ
- ศึกษาข้อมูลสินค้าคูโบต้าผ่านเว็บไซต์ Siam Kubota
- ติดต่อผ่าน LINE Official @siamkubota
- ค้นหาตัวแทนจัดจำหน่าย คลิกที่นี่