
“ผลผลิตยิ่งมากรายได้ยิ่งสูงตาม” เกษตรกรทุกคนคงปฏิเสธคำนี้ไม่ได้อย่างแน่นอน แต่ปัญหา
ที่ตามมาคือเราจะทำอย่างไร ให้เพิ่มผลผลิตได้ตามที่ต้องการ และยิ่งไปกว่านั้น จะดีกว่ามาก
ถ้าหากเรามีตัวช่วยที่คุ้มค่าต่อการลงทุน ประหยัดเวลาการทำงาน และทุ่นแรงได้ในเวลาเดียวกัน
ในบทความนี้ KAS หรือ KUBOTA (Agri) Solutions จะพามารู้จักกับเทคนิคการบินโดรนการเกษตร สำหรับกลุ่มไม้ผล อย่างลำไย ที่จะช่วยให้การบำรุงรักษาง่ายขึ้นไปพร้อมกับ
การฉีดพ่นสารชักนำตาดอก ที่เป็นส่วนสำคัญในการติดดอกออกผล ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ยกระดับการทำงานให้ง่าย แม่นยำ ประหยัดทั้งคน และเวลา ถ้าอยากทราบกันแล้วว่าเป็นอย่างไร
ไปดูกันเลย
ผลิดอกออกผลได้มากกว่าเคย ด้วยสารชักนำตาดอก
สารชักนำตาดอก เป็นสารที่ใช้กระตุ้นการออกดอกของไม้ผล ให้ไม้ผลติดดอกได้ง่ายขึ้น ช่วยให้เกษตรกรควบคุมการออกดอกได้ตามที่คาดหวัง ทำให้ผลผลิตสุกงอมใกล้เคียงกัน สามารถ
เก็บเกี่ยวผลผลิตได้พร้อมกัน โดยสารชักนำตาดอกจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
- สารเคมี เช่น โพแทสเซียมคลอเรต โพแทสเซียมไนเตรต โซเดียมคลอเรต
และปุ๋ยโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต - ฮอร์โมนพืช เช่น จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน
เคล็ดการเลือกสารชักนำตาดอกแบบ “3 ค”
คุณภาพดี ความเหมาะสม คุ้มราคา
การเลือกสารชักนำตาดอกให้ดีและมีคุณภาพนั้น ควรเลือกจากประสิทธิภาพและความเหมาะสม
กับพืช ทั้งยังต้องคำนึงถึงราคาและปริมาณ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้งาน โดยควรซื้อ
กับบริษัทที่เชื่อถือได้ สามารถหาข้อมูลประสิทธิภาพและความเหมาะสมกับพืชได้ที่นี่ คลิกเลย
พ่นสารด้วยโดรนการเกษตร สร้างผลลัพธ์ได้มากกว่าที่คิด
การพ่นสารชักนำตาดอกด้วยโดรนการเกษตร เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง หากใช้โดรนได้ถูกประเภทก็จะช่วยทุ่นแรงทุ่นเวลาได้เป็นอย่างมาก ประกอบกับเทคนิคการบินโดรน ที่จะช่วยให้เกษตรกรใช้สารลดลงแต่ยังคงเกิดตาดอกเท่าเดิม ซึ่งการพ่นสารชักนำตาดอกควรใช้โดรนแบบไหนถึงจะสร้างผลผลิตได้มากขึ้น ไปเลือกโดรนให้ถูกชนิดและเรียนรู้เทคนิคการบินโดรน
ไปพร้อมกันได้เลย

เลือกโดรนให้ถูกประเภท พิชิตผลลัพธ์ที่เหนือกว่า
โดรนที่เหมาะสมสำหรับการพ่นสารชักนำตาดอก คือ โดรนสำหรับฉีดพ่นน้ำและฮอร์โมนพืช
ซึ่งจะทำให้การทำงานเป็นเรื่องสะดวกสบายกว่าเดิม แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพของผลผลิต ด้วยข้อดีต่าง ๆ ดังนี้
- เพิ่มประสิทธิภาพการพ่นสาร โดรนสำหรับการรดน้ำและให้ฮอร์โมน สามารถกำหนดอัตราการฉีดพ่นสารในแต่ละจุดได้อย่างแม่นยำ ทำให้การใช้สารเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว การใช้โดรนมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการจ้างแรงงานคน รวมไปถึงสามารถควบคุมปริมาณการใช้สารทำให้ต้นทุนลดลง
- เพิ่มความปลอดภัย เกษตรกรสามารถใช้โดรนเพื่อการเกษตรในระยะไกลได้โดยไม่ต้องเข้าไปทำงานในแปลงเพาะปลูก ช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสละอองสารขณะฉีดพ่นโดยตรง
หากต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับโดรนการเกษตรมากขึ้น คลิกเลย

ยกระดับการเพาะปลูกไปอีกขั้น ด้วยเทคนิคการบินโดรนในกลุ่มไม้ผล
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก่อนบินโดรน
- โดรนการเกษตรสำหรับฉีดพ่นสาร
- สารฉีดพ่นชักนำตาดอก ได้แก่ สารโซเดียมคลอเรต สารโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต
- อุปกรณ์ผสมสาร ได้แก่ ช้อนตวงสาร ตาชั่ง และถังผสมสาร
- เครื่องวัดความเร็วลม และตลับเมตรสำหรับวัดความสูงของพืช
- แอปพลิเคชันวัดสภาพอากาศ

เทคนิคการบินโดรนในกลุ่มไม้ผลสำหรับพ่นสารชักนำตาดอก
ขั้นตอนการบินโดรนในกลุ่มไม้ผลสำหรับสารชักนำตาดอก มีดังนี้
- ก่อนการฉีดพ่นสารควรตรวจสอบสภาวะอากาศที่เหมาะสมในการบินโดรนก่อนทุกครั้ง (การฉีดพ่นฮอร์โมนแนะนำให้เลือกใช้เงื่อนไขเดียวกับกลุ่มแมลงและโรคพืช)
- ผสมสารชักนำตาดอก
- บินที่ระดับความสูง 2 เมตรเหนือทรงพุ่ม
- สำหรับการฉีดพ่นสารชักนำตาดอกและฮอร์โมนเสริมทางใบ ควรฉีดพ่นในอัตรา
5 ลิตร/ ต้น - บินฉีดพ่นในรูปแบบของการบินวนรอบทรงพุ่ม เพื่อให้การกระจายตัวของสารดีที่สุด
- พ่นสารชักนำตาดอก 2 ครั้ง ได้แก่
- ครั้งที่ 1 ฉีดพ่นพืชหลังแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 – 3 ครั้ง และมีอายุใบอย่างน้อย
3 สัปดาห์ (ไม่ควรฉีดในช่วงใบอ่อน) - ครั้งที่ 2 ควรเว้นห่างจากครั้งแรก 7 วัน
หมายเหตุ: ทั้งนี้เทคนิคการบินขึ้นอยู่กับความต้องการของนักบิน ว่าจะมุ่งเน้นที่ผล
การกระจายตัว หรือการรักษาพลังงานแบตเตอรี่ด้วยการบินในรูปแบบเส้นตรงตามแผนที่
และกำหนดอัตราฉีดพ่นเป็นลิตร/ ไร่แทน

ตัวอย่างการฉีดพ่นสารชักนำตาดอกในกลุ่มผลไม้ (สวนลำไย)
เทคนิคการบินนี้จะเป็นการพ่นสารชักนำตาดอกในกลุ่มผลไม้ คือ ลำไย ที่สามารถติดดอกได้
ในอุณหภูมิต่ำ จึงนิยมปลูกกันในภาคเหนือ ซึ่งมีทั้งการปลูกตามฤดูและนอกฤดู โดยมีการ
ใช้สารชักนำตาดอก เพื่อให้ลำไยติดดอกได้เพิ่มขึ้น แม้ในช่วงนอกฤดูที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม
*การทดลองนี้มีการใช้สารชักนำตาดอก คือ โมโนโพรแทสเซียมฟอสเฟส ซึ่งเหมาะกับลำไย
หากเป็นผลไม้ชนิดอื่นก็จะมีการใช้สารที่แตกต่างกันออกไป
เพิ่มผลผลิตต่อแปลงให้มากขึ้น ควรพ่นระยะไหน?
ลำไยจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อเข้าปีที่ 3 – 4 แต่การพ่นสารจะเริ่มขึ้นเมื่อลำไยมีอายุ 6 ปี โดยจะพ่นก่อนลำไยออกดอก ซึ่งลำไยจะให้ผลผลิตหลังออกดอกประมาณ 6 – 7 เดือน ขึ้นอยู่กับ
สายพันธุ์ของลำไยและสภาพอากาศ หากปลูกในฤดูกาลควรพ่นในช่วงเดือน พฤศจิกายน – มกราคม เพื่อให้เก็บเกี่ยวได้พร้อมกันในเดือนกรกฎาคม ช่วยทุ่นแรงทุ่นเวลาในการเก็บเกี่ยว
และลดต้นทุนในการเก็บรักษา
หากปลูกลำไยนอกฤดูกาล ควรวางแผนเพื่อฉีดพ่นสารชักนำตาดอกเพื่อให้ได้ผลผลิตในช่วงที่ขายลำไยได้ในราคาสูง โดยนับย้อนจากระยะเก็บเกี่ยวมาประมาณ 7 เดือน ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้เกษตรกรมีผลกำไรมากขึ้น

บินโดรนแบบปกติเทียบกับบินโดรนแบบใช้เทคนิค แบบไหนดีกว่ากัน
- การบินโดรนแบบปกติ เป็นการบินที่ไม่ทราบความสูงเหนือทรงพุ่มที่เหมาะสม ทำให้สารกระจายไปตามแรงลม รวมไปถึงปริมาณสารที่เหมาะสมต่อต้น ทำให้มักพ่นสารเกินหรือขาด ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อพืช สิ้นเปลืองทรัพยากร และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- การบินโดรนโดยมีเทคนิค เป็นการบินที่ผ่านการทดลอง ทำให้ทราบถึงแนวทางการบิน
ที่ถูกต้อง ช่วยลดการใช้น้ำได้มากกว่าเดิมถึง 1 เท่า ในปริมาณผลผลิตที่เท่าเดิม ประหยัดต้นทุนสารได้มากถึง 25% รวมถึงลดความเสี่ยงที่อาจเกิดกับพืชหากพ่นสาร
ที่มีความเข้มข้นสูงมากเกินไป

เตรียมตัวให้พร้อม รับมือให้ทัน กับรูปแบบการเกษตรที่เปลี่ยนไป
ในยุคปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร ทำให้การเพาะปลูกหรือเก็บเกี่ยวเกิดความล่าช้า ไม่ทันต่อฤดูกาล สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล
โดรนการเกษตรจึงเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ ด้วยศักยภาพในการทำงานได้หลากหลายหน้าที่ ตอบโจทย์การทำเกษตรในยุคปัจจุบันที่ขาดแคลนแรงงาน พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง
ในอนาคต ก้าวตามโลกได้อย่างทันท่วงที
ติดต่อซื้อหรือทดลองขับโดรนการเกษตร กับคูโบต้า เพิ่มผลผลิตให้มากกว่าที่เป็นมา
ซื้อโดรนการเกษตร (Spraying Drone) กับคูโบต้า ครบครัน และอุ่นใจมากกว่าด้วยบริการ
จดทะเบียนโดรน ประกันภัยชั้น 1 และทีมช่างบริการที่พร้อมให้คำแนะนำจากศูนย์บริการทั่วประเทศ พร้อมบริการทดลองขับได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย คลิกที่นี่ หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ผ่าน
ช่องทางดังนี้
- KUBOTA CONNECT เบอร์ 02-029-1747
- ศึกษาข้อมูลสินค้าคูโบต้าผ่านเว็บไซต์ Siam Kubota
- ติดต่อผ่านร้านผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศ คลิกที่นี่
- Facebook Page: Siam Kubota และ Kubota Drone Club – คูโบต้าโดรนคลับ
- ติดต่อผ่าน LINE Official @siamkubota
งานวิจัย: การศึกษาการฉีดพ่นสารชักนำช่อดอกในสวนลำไยด้วยโดรนเกษตร จัดทำขึ้น
ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2566