10 ประโยชน์ ฟางข้าววัสดุเหลือใช้ เพิ่มกำไรให้เหลือเก็บ

ฟางข้าว อย่ามองข้าม สามารถนำไปแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าในหลากหลายอุตสาหกรรม
ไม่ว่าจะเป็น การเกษตร พลังงาน หรือแม้กระทั่งแฟชั่น ในบทความนี้ KAS จะมาแนะนำ
10 วิธีการแปรรูปฟางข้าววัสดุเหลือใช้ที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

10 วิธีแปรรูปฟางข้าว สร้างผลผลิตที่เหนือกว่า

รวม 10 วิธีแปรรูปฟางข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ มีดังนี้

1.    ฟางอัดก้อน

ทำฟางอัดก้อน โดยใช้เครื่องอัดฟาง Hay Baler เพื่อให้ประหยัดพื้นที่และลดความยุ่งยาก
ในการจัดเก็บ โดยฟางก้อนสามารถนำไปใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น
การใช้ในภาคเกษตร ภาคปศุสัตว์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมพลังงาน เป็นต้น
เกษตรกรจึงสามารถนำฟางก้อนไปขายได้หลากหลายช่องทาง เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม

ฟางข้าวอัดก้อน

2.    ทำปุ๋ย

ฟางข้าวสามารถย่อยสลายได้ง่ายภายใน 7-15 วัน ทั้งยังมีธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับพืช
เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ฯลฯ จึงเหมาะนำฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมัก
เพื่อปรับปรุงสภาพดิน ให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรง ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพสูง

3.    ผลิตอาหารสัตว์

ฟางข้าวสามารถนำมาเป็นอาหารสัตว์ต่าง ๆ เช่น โคเนื้อ โคนม กระบือ เป็นต้น แต่ไม่ควร
ให้กินฟางข้าวเพียงอย่างเดียวเพราะคุณค่าทางอาหารต่ำ ควรปรุงแต่งก่อน หรือเสริมอาหารข้น เพื่อให้สัตว์ได้รับโภชนาการที่เหมาะสมต่อความต้องการ

4.    ปกคลุมดิน

ใช้ฟางข้าวคลุมดิน ไม่ให้แสงแดดกระทบกับดินโดยตรง ช่วยกักเก็บความชื้นให้กับดิน
และลดการเจริญเติบโตของวัชพืช รวมไปถึงหลังจากที่ฟางข้าวย่อยสลายแล้วยังจะทำให้
คุณภาพของดินดีขึ้น พืชจึงดูดซึมอาหารได้อย่างเต็มที่

5.    เพาะเห็ด

ฟางข้าวอุดมไปด้วยธาตุอาหารชั้นดี ซึ่งเห็ดสามารถกินได้ ทั้งฟางข้าวยังมีคุณสมบัติ
ในการกักเก็บน้ำ โดยควรนำฟางข้าวไปสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ และนำไปแช่น้ำ จะช่วยให้อุ้มน้ำ
ได้ดีกว่าและย่อยสลายได้ง่ายกว่าเดิม เห็ดจึงเจริญเติบโตได้ดี ช่อสวยงาม ดอกหนา
รสชาติดี และมีกลิ่นหอม

ฟางข้าวเพาะเห็ด

6.    ฉนวนความร้อน

ฟางข้าว มีคุณสมบัติในการกันความร้อน สามารถนำไปผสมกับวัสดุยึดเกาะเพื่อผลิต
เป็นฉนวนกันความร้อนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับใยแก้ว แต่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
ช่วยให้สามารถนำไปใช้เพื่อมุงหลังคา เพื่อสร้างความเย็นสบายให้กับที่พักอาศัย

7.    เชื้อเพลิง

ฟางข้าวสามารถนำไปแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง ในรูปแบบพลังงานชีวมวล (Biomass Energy)
ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ไม่สร้างมลภาวะแก่โลก และยังมีความยั่งยืน สามารถผลิตได้อย่างไม่จำกัด สามารถใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิลที่สร้างผลกระทบต่อโลกทำให้เกิดภาวะโลกเดือด

8.    ผลิตเยื่อกระดาษ

ฟางข้าว สามารถนำไปทำเป็นเยื่อกระดาษ ซึ่งสามารถนำไปแปรรูปต่อเป็นภาชนะรักษ์โลกในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจาน ถ้วย ชาม ฯลฯ ทำให้งดการใช้พลาสติกหรือโฟมที่ย่อยสลายได้ยาก
และส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ใช้ เป็นอีกหนึ่งการแปรรูปที่ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากร
อย่างคุ้มค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เยื่อกระดาษฟางข้าว

9.    ผูกมัดแทนเชือก

ฟางข้าว นั้นมีความเหนียวและทนทานต่อแรง เมื่อนำมามัดหรือพันเป็นเกลียวหลาย ๆ เส้น
จะช่วยเสริมคุณสมบัติเหล่านี้ให้สูงขึ้นอีกระดับ สามารถนำมาใช้แทนเชือกสำหรับผูกมัดสิ่งของหรือสัตว์ โดยควรนำไปแช่น้ำก่อนเพื่อให้ฟางอ่อนตัว นุ่มลง และป้องกันการแตกหัก ระหว่าง
นำมาพันเป็นเกลียว

10.  ผลิตเสื้อผ้า

ผลิตเสื้อผ้าจากฟางข้าว ด้วยนวัตกรรมการแปรรูปที่นำฟางข้าวไปผสมร่วมกับเส้นใยไหม
ทำให้ได้เส้นใยฟางข้าว ที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน สามารถนำมาผลิตเสื้อผ้า
ที่คุณภาพสูง เช่น โครงการ KUBOTA X Greyhound ซึ่งนำเส้นใยฟางข้าวมาออกแบบ
เป็นเสื้อผ้าที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เสื้อผ้าฟางข้าว
เสื้อผ้าฟางข้าว

สร้างมูลค่าให้มากกว่าที่เคยกับการแปรรูป
ฟางข้าว

ภายใต้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน ทำให้การแปรรูปฟางข้าวไม่ได้เป็นเพียงแค่การกำจัดวัสดุเหลือใช้เท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกด้วย ทั้งการแปรรูปฟางข้าว
ยังช่วยลดการเผาจึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการต่อยอดการทำเกษตรที่ยั่งยืน
เพื่อให้การแปรรูปฟางข้าวมีประสิทธิภาพ KUBOTA ขอแนะนำ เครื่องอัดฟาง HB135
อัดฟางแน่น ก้อนตรง ไม่หลุดร่วง คลิกเลย

เครื่องอัดฟางข้าว KUBOTA

หรือติดต่อสอบถามได้เลยผ่านช่องทางดังนี้

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

“แทรกเตอร์ คูโบต้า” เป็นแทรกเตอร์ที่ช่วยทุ่นแรงในการทำการเกษตรให้กับเกษตรกร แต่การใช้งานก็ต้องควบคู่ไปกับการดูแลซ่อมบำรุงรักษา ตรวจเช็กสภาพ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแทรกเตอร์คูโบต้าให้อยู่กับเราไปนาน ๆ เหมือนกับวันแรกที่ตัดสินใจลงทุนซื้อมา เทคนิคในการซ่อมบำรุงรักษาแทรกเตอร์คูโบต้าจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
สยามคูโบต้า นำองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร ไปต่อยอดและพัฒนาเกษตรกร ด้วยการทำแปลงทดสอบการปลูกพืชหมุนเวียน (Revolving crop model) ในพื้นที่นาข้าว ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาห้วยตาดข่า จ.อุดรธานี โดยร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร
รู้หรือไม่ว่าการทำนาด้วยวิธีการหว่านแห้ง หรือการหว่านน้ำตม ส่งผลให้เกษตรกรต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ และค่าจ้างแรงงาน เนื่องจากการหว่านจะทำให้ต้นข้าวแตกกอหนาแน่น ไม่เป็นระเบียบ จึงจัดการดูแลรักษายาก โดยเฉพาะการกำจัดวัชพืช มีโอกาสเกิดโรคและได้รับความเสียหายจากแมลงศัตรูพืช