รถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่ม ทำอย่างไร แก้ปัญหาได้เองง่าย ๆ ไม่ยาก

รถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่ม ทำอย่างไร แก้ปัญหาได้เองง่าย ๆ ไม่ยาก

รถติดหล่ม รถไถแทรกเตอร์ติดหล่ม ปัญหาใหญ่ของการทำนาด้วยเครื่องจักรกลทางการเกษตร
หากเกิดขึ้นมา อาจรบกวนเวลาการทำงานเป็นอย่างมากอีกทั้งยังทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย
แต่จริง ๆ แล้วปัญหารถติดหล่มสามารถแก้ไขเองได้ไม่ยาก โดยบทความนี้ KUBOTA (Agri) Solutions
ได้นำขั้นตอนการแก้ไขปัญหารถติดหล่มมาให้ถึง 6 วิธี จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ควรเช็คอะไรก่อน เพื่อลดความเสี่ยงรถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่ม

เนื่องจากพื้นที่การเกษตรนั้นมีลักษณะดินอ่อนนุ่มเป็นพิเศษเนื่องจากมีการไถพรวนอยู่เรื่อย ๆ จึงอาจ
เกิดความเสี่ยงรถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่มได้ ดังนั้นก่อนเริ่มทำการเกษตรจึงควรตรวจเช็กสภาพรถแทรกเตอร์ที่จะใช้ดำเนินการให้แน่ใจว่าไม่มีจุดที่พังเสียหาย และสำรวจประเมินแปลงนา
อย่างละเอียดก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เพื่อเช็กให้แน่ใจว่ามีพื้นที่หล่มหรือไม่ โดยทำได้หลายวิธีเช่นถามจาก
เจ้าของแปลงนา หรือขับรถแทรกเตอร์สำรวจรอบพื้นที่ด้วยตัวเอง

ขั้นตอนแก้ปัญหารถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่ม

เมื่อเกิดปัญหารถติดหล่ม เกษตรกรสามารถเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาได้หลัก ๆ 5 ข้อ ดังนี้

1.    ใช้ล็อกกันฟรี

การใช้ล็อกกันฟรี จะใช้ในกรณีที่รถติดหล่มใหม่ ๆ หรือ ล้อใดล้อหนึ่งเกิดการลื่นฟรี

ซึ่งวิธีการใช้ล็อกกันฟรีจะต้องมีขั้นตอนการใช้งานที่ถูกต้องไม่เช่นนั้นอาจส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อชิ้นส่วนของเครื่องจักรได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เหยียบคลัตช์ให้สุด
  2. ใช้รอบเครื่องต่ำเท่านั้น
  3. ใช้เกียร์ต่ำเท่านั้น (เกียร์หลักและเกียร์รอง)
  4. เหยียบล็อกกันฟรีให้สุด
  5. ตั้งพวงมาลัยให้ตรง ไม่บิดเลี้ยวระหว่างที่เหยียบล็อกกันฟรี
  6. ค่อย ๆ ปล่อยคลัตช์โดยขณะนั้นต้องเหยียบล็อกกันฟรีอยู่

คำเตือน: ขณะที่เหยียบล็อกกันฟรีค้างไว้และแทรกเตอร์กำลังเคลื่อนอยู่ หากมีการบิดเลี้ยว จะส่งผลให้
ชิ้นส่วนอย่าง เฟือง เพลาล้อ เสื้อเพลาล้อ เสียหายทันที ดังนั้นต้องระวังให้ดี

2.    ใช้การขุดดิน

วิธีนี้เป็นการขุดดินด้านหน้าของล้อทั้ง 4 ล้อ เหมาะสำหรับรถติดหล่มที่จมหนักจนรถคันอื่น ๆ
ก็ไม่สามารถเข้าไปช่วยลากได้ หรือในกรณีที่เหยียบล็อกกันฟรีไม่ขึ้น มีขั้นตอนดังนี้

  1. ให้ผู้ขับทำการล็อกเบรก ดับเครื่องยนต์ และดึงกุญแจออก จากนั้นก็ลงมาจากแทรกเตอร์
  2. ใช้จอบขุดดิน ขุดบริเวณด้านหน้าของล้อทั้ง 4 ล้อ
  3. ทดสอบโดยการขับแทรกเตอร์ขึ้น โดยใช้วิธีล็อกกันฟรี โดยให้สัญญาณแก่กันก่อนทำการทดสอบเพื่อความปลอดภัย

3.    ใช้รอก

การใช้รอกจะทำในกรณีที่ไม่มีแทรกเตอร์คันอื่นอยู่บริเวณ รถติดหล่ม หรือแทรกเตอร์คันอื่นไม่สามารถ
ลงมาในแปลงได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ใช้รอกผูกติดกับตัวรถติดหล่มโดยยึดที่คานใบมีดหรือกันชนหน้า และผูกกับจุดยึดที่มั่นคง เช่น ต้นไม้หรือแทรกเตอร์อีกคัน (ยึดคานลากด้านหลัง)
  2. ปลดเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งว่างทั้งหมด และประคองพวงมาลัยให้อยู่ในแนวตรง
  3. ให้ผู้ช่วยปฏิบัติงานชักรอกเพื่อนำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่ม

คำเตือน: กรณีทำงานมากกว่า 1 คนขึ้นไป ต้องให้สัญญาณในการทำงานร่วมกันเพื่อรักษา
ความปลอดภัยเสมอ

4.    นำแทรกเตอร์มาช่วยลากรถติดหล่ม

วิธีนี้เป็นการนำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่มโดยใช้แทรกเตอร์อีกคันมาลาก โดยแทรกเตอร์คันที่จะนำมาลาก
จะต้องมีแรงม้ามากกว่าคันที่ติดหล่ม ซึ่งวิธีนี้สามารถป้องกันความเสียหายได้ดี และลดระยะเวลาในการ
นำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่มอีกด้วย

อุปกรณ์ที่ต้องใช้มีเพียงอย่างเดียวคือสลิงอ่อน (Soft Sling) เพื่อทำการฉุดลาก โดยควรตรวจสอบ
ให้มั่นใจว่าสลิงอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ไม่ชำรุดเสียหาย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เพราะจะทำให้บาดเจ็บได้
แต่หากไม่มีสลิงแบบที่ว่าก็สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น โซ่ ซึ่งยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น มีขั้นตอนดังนี้

  1. นำสลิงมาผูกยึดบริเวณระหว่างแทรกเตอร์ทั้งสองคัน (กรณีดึงแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่มด้านหน้า
    ให้ยึดที่คานใบมีดหรือกันชนหน้า และ ยึดที่คานลากของแทรกเตอร์อีกคันที่ใช้สำหรับดึงขึ้น)
  2. ให้แทรกเตอร์ที่ติดหล่มใช้รอบเครื่องเดินเบา เกียร์ต่ำ และประคองพวงมาลัยให้อยู่ในแนวตรง
  3. ให้แทรกเตอร์ที่นำมาลาก ใช้รอบเครื่องเดินเบา เกียร์ต่ำ เช่นกัน
  4. ค่อย ๆ ดึงรถติดหล่มขึ้นมา โดยอย่าให้เกิดการกระชากจากรถที่มาลากมากเกินไป

คำเตือน: กรณีทำงานมากกว่า 1 คนขึ้นไป ต้องให้สัญญาณในการทำงานร่วมกันเพื่อรักษา
ความปลอดภัย และห้ามบุคคลอื่นเข้าใกล้บริเวณที่ฉุดลากเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

สามารถศึกษาวิธีการนำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่มเพิ่มเติมได้ที่

แทรกเตอร์ติดหล่ม EP1: วิธีนำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่ม โดยการใช้แทรกเตอร์อีกคันมาลาก

แทรกเตอร์ติดหล่ม EP2 : วิธีใช้ล็อกกันฟรีให้ถูกต้อง เมื่อนำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่ม

แทรกเตอร์ติดหล่ม EP3 : วิธีนำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่ม โดยการใช้จอบขุดดิน

สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับปัญหารถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่ม

รถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่ม ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่หากเกิดขึ้นจะรบกวนเวลาทำการเกษตร
เป็นอย่างมาก แต่หากรู้วิธีการแก้ปัญหารถติดหล่มที่ถูกต้องและเลือกใช้จาก 4 วิธีที่ KUBOTA ได้แนะนำไปให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและทำงานต่อได้ในทันที โดยหากคุณสนใจแทรกเตอร์เพื่อการเกษตรคุณภาพสูง เราขอแนะนำแทรกเตอร์ 5 รุ่นยอดนิยมฉบับอัปเดตปี 2567 จาก KUBOTA

สามารถคลิกดูแทรกเตอร์ทั้งหมดได้ที่นี่ และสอบถามเพิ่มเติม / สั่งซื้อได้ที่

  • KUBOTA CONNECT ติดต่อกับเราที่เบอร์ 02-029-1747
  • Facebook Fanpage: Siam Kubota และ Kubota Drone Club – คูโบต้าโดรนคลับ
  • ดูสินค้าทั้งหมดผ่านเว็บไซต์: SiamKubota
  • อัปเดตสิทธิพิเศษ หรือติดต่อผ่านทาง LINE OA: @siamkubota
  • รับชมวีดีโอการใช้งานเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่: SIAMKUBOTA

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กระชายดำเป็นพืชล้มลุกเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง มีสารสำคัญหลายชนิด ได้แก่ Borrneol, Sylvestrene, สาร 5,7-dimethoxyflavone และ สาร Flavonoids 9 ชนิด ซึ่งมีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ คือ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านเชื้อจุลินทรีย์บำรุงหัวใจ และโรคลมทุกชนิด แก้อาการปวดท้อง จุกเสียด ท้องเดิน ขับปัสสาวะ
วิธีการจัดการดินที่ใช้น้ำน้อย 1. การคลุมดิน (Mulching) เป็นการเก็บความชื้นในดินเพื่อให้พืชที่ปลูกสามารถนําน้ำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ชนิดวัสดุคลุมดิน (ควรเลือกวัสดุคลุมดินที่หาได้ง่าย และเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก) 1. วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ 2. วัสดุสังเคราะห์
เป็นกระแสรุนแรง สำหรับค่าฝุ่นละอองของประเทศไทยในช่วงนี้ เราได้ยินคำว่า PM 2.5กันทุกวัน ทำให้คนไทยมีความตระหนักถึงอันตรายของฝุ่นละออง PM 2.5กันมากขึ้น ความหมายของ PM คือ Particulate Matter ฝุ่นละอองที่ลอยฟุ้งอยู่ในอากาศ เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบง่ายๆ คือมลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า