วิธีปลูกมะเขือเทศให้โตเร็ว ผลสวย ลูกดก กำไรเบ่งบาน
การปลูกมะเขือเทศให้ผลสวยและลูกดกเร็ว เพื่อผลกำไรที่มากขึ้นล้วนเกิดจากการดูแลและจัดการที่เหมาะสมตลอดกระบวนการปลูก ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ของมะเขือเทศ
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ สภาพอากาศ ดินที่เหมาะสม และการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่เหมาะสม
เพื่อทุ่นแรง ซึ่งหากคุณเป็นเกษตรกรที่ต้องการปลูกมะเขือเทศให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ บทความนี้
KUBOTA (Agri) Solutions จะมาบอกวิธีการและเทคนิคที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการปลูกมะเขือเทศ
ชนิดของมะเขือเทศ
ก่อนทำการปลูกมะเขือเทศ สิ่งสำคัญที่ต้องเลือกชนิดของมะเขือเทศที่จะปลูก โดยมี 2 ชนิดด้วยกัน
มะเขือเทศแบบพุ่ม (Determinate Tomato Plants)
เป็นพันธุ์ที่มีลำต้นลักษณะเป็นพุ่ม ผลมีขนาดเล็ก ช่อดอกเกิดได้ทุก 2 ข้อของลำต้น โดยมะเขือเทศพันธุ์นี้ส่วนมากจะออกดอกในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งการปลูกมะเขือเทศพันธุ์นี้มีข้อดีคือช่วยทุ่นเวลาได้ดี
เพราะสามารถเก็บได้พร้อมกัน
มะเขือเทศแบบเลื้อย (Indeterminate Tomato Plants)
เป็นพันธุ์ที่มีลำต้นเลื้อย ผลมีขนาดปานกลาง – ใหญ่ ไม่มีดอกที่ปลายยอด ตามปกติในการปลูกมะเขือเทศพันธุ์นี้ ต้นจะทอดยอดออกไปเรื่อย ๆ มีช่อดอกน้อยกว่าเมื่อเทียบกับมะเขือเทศแบบไม่ทอดยอดคือ
เกิดช่อดอกทุกๆ 3 ข้อ โดยการปลูกมะเขือเทศพันธุ์นี้ต้องใช้ไม้ค้ำลำต้นหรือเชือกพลาสติกขึงเพื่อ
พยุงลำต้นและช่วยให้ผลมีคุณภาพดีขึ้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะเขือเทศ
อีกหนึ่งสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ในการปลูกมะเขือเทศ ก็คือลักษณะทางพฤกษศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น
5 ลักษณะหลัก ๆ ดังนี้
- ลำต้น : ลำต้นของมะเขือเทศมีลักษณะตั้งตรง เป็นไม้พุ่มเตี้ยกึ่งเลื้อย ความสูง 50 – 150 ซม. ลำต้นมีสีเขียวและมีขน พร้อมกับมีเมือกด้านในลำต้น
- ดอก : ดอกของมะเขือเทศเกิดเป็นช่อบนลำต้นระหว่างข้อ ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 – 10 กลีบ
มีกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง รูปร่างคล้ายหอกเชื่อมติดกันที่โคน เมื่อดอกบานกลีบเลี้ยงและกลีบดอกก็จะมีลักษณะโค้งออก - ผล : ลักษณะเป็นผลเดี่ยว มีขนาดรูปร่างและสีต่างกัน รูปทรงของผลมีทั้งกลมและรี ตั้งแต่
ขนาดเล็กประมาณ 3 ซม. ไปจนถึงใหญ่ประมาณ 10 ซม. ผิวนอกลีบเป็นมัน สีของผลจะขึ้นอยู่กับเม็ดสี 2 ชนิด คือไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งทำให้เกิดสีแดง และแคโรทีน (Carotene) ทำให้เกิดสีเหลืองแดง ส้มและสีน้ำตาลอ่อน เนื้อภายในมีเมล็ดเรียงและมีรสเปรี้ยว - เมล็ด : รูปร่างค่อนข้างกลมและแบน มีสีน้ำตาลอ่อน ขนาด 0.2 – 0.5 ซม. มีขนสั้น ๆ โดยรอบเป็นจำนวนมาก
- ราก : มะเขือเทศมีระบบรากเป็นแบบรากแก้ว มีรากแขนงเจริญไปตามแนวนอนไปได้ไกลถึง 60 ซม. และสามารถเจริญในแนวดิ่งได้ลึกประมาณ 100-120 ซม. อีกทั้งยังสามารถเกิดรากได้ทั่วไป
ตามลำต้นที่สัมผัสกับผิวดินซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของมะเขือเทศ
พันธุ์มะเขือเทศที่นิยมปลูกในไทย มีอะไรบ้าง ?
พันธุ์ที่นิยมปลูกมะเขือเทศในไทย มีหลัก ๆ 5 พันธุ์ดังนี้
มะเขือเทศองุ่น (Grape Tomato)
มะเขือเทศองุ่น มีลักษณะรีและยาว ขนาดไม่ใหญ่ เนื้อไม่ฉ่ำและมีน้ำน้อย ออกผลในลักษณะเป็นพวง
มีหลายลูกต่อพวง โดยการปลูกมะเขือเทศองุ่นสามารถทำได้ด้วยการใส่ถาดเพาะ และวางในที่ที่ไม่โดนฝน
และมีแสงแดดพอประมาณ ใช้เวลาประมาณ 14 – 15 วัน ต้นมะเขือเทศจะมีความสูงประมาณ 4 – 5 นิ้ว
จากนั้นจึงย้ายไปปลูกในโรงเรือน
ภาพจาก southernliving
มะเขือเทศสีดา (Srida Pink Egg Tomato)
มะเขือเทศสีดา มีลักษณะรีและยาวคล้ายกับมะเขือเทศองุ่น มีสีแดงอมชมพูและมีขนาดเล็ก ออกผล
ในลักษณะเป็นพวงโดยมีจำนวนลูกต่อพวงไม่เยอะ โดยการปลูกมะเขือเทศสีดาสามารถทำได้ด้วยการปลูก
ในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี และชอบแสงแดด โดยปลูกแบบเพาะกล้าในกระบะ หลังต้นกล้ามีอายุ
1 เดือน สามารถย้ายลงปลูกในแปลงปลูก และหลังจากผ่านไป 20 – 25 วันจึงทำค้างเพื่อให้ผล
อยู่บนผิวดิน
ภาพจาก wattsfarms
มะเขือเทศเถาว์ (Vine Tomato)
มะเขือเทศเถาว์ มีลักษณะการเจริญเติบโตเป็นต้นเลื้อย ออกผลเป็นเครือ มีทั้งลูกสีเขียว เหลือง และแดง
และมีขนาดเล็กมาก โดยการปลูกมะเขือเทศเถาว์สามารถทำได้ด้วยการปลูกในที่ ๆ มีแสงแดดส่องถึง และให้น้ำเป็นประจำในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป
ภาพจาพ my garden
มะเขือเทศบีฟสเต็ก (Beefsteak Tomato)
มะเขือเทศบีฟสเต็กเป็นมะเขือพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ มีสีแดงออกส้ม ออกผลในลักษณะเป็นพวง มีจำนวนประมาณ 4 – 5 ลูกต่อพวง โดยการปลูกมะเขือเทศบีฟสเต็กสามารถทำได้โดยเริ่มจากการนำเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศแช่ในน้ำสะอาดก่อนลงปลูก ในระหว่างที่กำลังโตควรรดน้ำให้ชุ่มทุกวัน และวางในบริเวณที่มีแสงแดดพอประมาณ เมื่อกล้าอายุ 20 – 30 วัน จึงจะสามารถย้ายไปปลูกลงดินได้
ภาพจาก futurecdn
มะเขือเชอร์รี่ Cherry Tomato
มะเขือเทศเชอร์รี่มีลักษณะกลมคล้ายลูกเชอร์รี่ สีแดงจัด และมีขนาดไม่ใหญ่มาก ออกผลในลักษณะ
เป็นพวงโดยมีจำนวนค่อนข้างเยอะต่อ 1 พวง โดยการปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่สามารถทำได้โดยการดน้ำ
ให้พอชุ่มแล้วนำเมล็ดมะเขือเทศเชอร์รี่หยอดลงในถาดหลุม หลุมละ 2 เมล็ด และหมั่นรดน้ำทั้งช่วงเช้า
กลางวัน เย็น โดยระวังไม่ให้น้ำมากจนเกินไปเพราะอาจทำให้ต้นกล้าเสี่ยงเกิดโรคได้ง่าย
ภาพจาก mucci production
วิธีปลูกมะเขือเทศให้ได้กำไร โตไว ผลสวย เต่งตึง
หากรู้วิธีปลูกมะเขือเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้ได้ผลผลิตที่ผลสวย เต่งตึง มีสีแดงสด
และได้กำไรงามอย่างแน่นอน โดยวิธีปลูกมะเขือเทศให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการนั้นมีขั้นตอนหลัก ๆ
7 ข้อ ดังนี้
1. เตรียมเมล็ดพันธุ์และการเพาะกล้า
การเพาะกล้าเพื่อเตรียมปลูกมะเขือเทศทำได้หลัก ๆ 3 วิธีดังนี้
1.1 การปลูกมะเขือเทศแบบเพาะในกระบะ
ใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าจํานวนไม่มากนักและใช้ดินในการเพาะจํานวนน้อย โดยกระบะที่ใช้เพาะเมล็ด
ควรมีขนาดประมาณ 45 – 60 ซม. และลึกไม่เกิน 10 ซม. มีรูให้น้ำระบายได้
ใส่ดินที่ร่อนแล้ว 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1 ส่วน แล้วโรยเมล็ดเป็นแถว โดยการใช้
ไม้ทาบเป็นร่องเล็ก ๆ ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 5 – 7 ซม. แล้วกลบเมล็ดด้วยแกลบหรือทราย
บาง ๆ รดน้ำให้ชุ่มและใช้สารป้องกันกําจัดแมลงศัตรูพืช เมื่อกล้าอายุได้ 15 วัน หรือมีใบจริง 2 ใบ
ให้ย้ายกล้าลงใส่ถุงพลาสติกที่มีดินผสมบรรจุอยู่จนกระทั่งกล้าสูงประมาณ 30 ซม. หรือมีอายุ
30 – 40 วันจึงทําการย้ายกล้าลงแปลงปลูก ก่อนการย้ายปลูกควรนำต้นกล้าออกมารับแสงแดดประมาณ 3 วันก่อนย้ายปลูก และควรงดให้น้ำ 1 วัน เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรง และรากยึดจับกับดิน
สะดวกต่อการย้าย จะทำให้ต้นมะเขือเทศฟื้นตัวเร็วขึ้น
1.2 การปลูกมะเขือเทศแบบเพาะในแปลง
นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าเป็นจํานวนมาก ขนาดของแปลงควรกว้าง 1 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่หรือปริมาณกล้าที่ต้องการ ทางเดินระหว่างแปลงควรมีระยะประมาณ 50 เซนติเมตร
โดยขั้นตอนในการเพาะคือผสมดินด้วยปุ๋ยคอกและทรายตามอัตราส่วน 3:1 ทําการเพาะเมล็ดโดยโรยเมล็ด
เป็นแถวห่างกัน 10 ซม. เมื่อกล้ามีอายุ 20 – 25 วัน หรือมีใบจริงอย่างน้อย 2 – 3 ใบ ก็สามารถย้าย
ลงแปลงปลูกได้ แปลงเพาะควรมีตาข่ายคลุมแปลง เพื่อป้องกันแดด ลม ฝน ซึ่งหากหาวัสดุหรือผ้า
คลุมแปลงไม่ได้ อาจจะลองใช้ฟางข้าวใหม่มาคลุมบาง ๆ เมื่อเมล็ดงอกจึงดึงฟางออกบางส่วนเพื่อให้
ต้นกล้าโผล่พ้นฟางได้ง่ายมีความแข็งแรงมากขึ้น
1.3 การปลูกมะเขือเทศแบบเพาะในถาด
เป็นวิธีเพาะกล้าที่สะดวกและพัฒนาจากวิธีการเพาะกล้าในกระบะเพาะ โดยทำได้ง่าย ๆ คือเตรียมเพาะเมล็ดมะเขือเทศลงในถาดเพาะ จากนั้นเมื่อกล้ามีอายุได้ประมาณ 20 – 30 วัน หรือมีใบจริงอย่างน้อย 2 – 3 ใบจึงเตรียมย้ายไปปลูกลงในแปลง โดยใช้วิธีเอามือบีบที่ด้านล่างสุดของถาด ต้นกล้าจะหลุดออกมา
จากถาดพร้อมดินปลูกและต้นกล้ามะเขือเทศไม่ได้รับความกระทบกระเทือนมากเกินไป
2. ปลูกมะเขือเทศในสภาพอากาศที่เหมาะสม
เนื่องจากมะเขือเทศเป็นพืชเมืองหนาว อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตจะอยู่ที่ประมาณ 18 – 28 องศาเซลเซียส และหากมะเขือเทศที่ปลูกโดนฝนหรือโดนแดดมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคได้ง่ายและมีผลผลิตน้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดยควรรู้เทคนิคปลูกมะเขือเทศที่ถูกต้องเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มและลูกดกมากยิ่งขึ้น
3. ดินต้องดี ในการปลูกมะเขือเทศ
ดินที่เหมาะสมในการปลูกมะเขือเทศที่สุดคือดินร่วน เพราะมีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำได้ดี และมีค่า pH อยู่ที่ 6.0 – 6.8 เพราะหากดินเป็นกรดหรือเป็นด่างมากเกินไปจะทําให้ดินขาดธาตุอาหารบางอย่างได้
หรือธาตุอาหารบางชนิดจะละลายออกมามากเกินไปจนส่งผลให้เป็นพิษต่อมะเขือเทศที่ปลูกมากกว่า
เป็นการสร้างธาตุอาหารที่ดี โดยรายละเอียดของดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดต่าง ๆ นั้นก็จะมีคุณสมบัติและลักษณะที่กันออกไป
4. การให้น้ำที่ถูกต้อง
มะเขือเทศเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงผลมีการเปลี่ยนสีเพราะเริ่มแก่
หลังจากนั้นควรลดการให้น้ำลงเพราะอาจทําให้ผลแตกได้ แต่หากมะเขือเทศขาดน้ำหรือถูกให้น้ำอย่างกะทันหัน ก็จะทําให้ผลแตกได้เช่นกัน นอกจากนี้การให้น้ำมากเกินไปจะทําให้ดินแฉะ ซึ่งจะทําให้เกิดเชื้อราและส่งผลให้มะเขือเทศเน่าได้ ดังนั้นจึงต้องระวังการให้น้ำในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตสำหรับการปลูก
มะเขือเทศอย่างเหมาะสม
ภาพจาก gardenlux
5. การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยในการปลูกมะเขือเทศนั้น ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินว่าควรต้องมีการปรับปรุงดินสภาพต่าง ๆ ให้มีธาตุอาหารอะไรเพิ่มเติมบ้าง เช่น
- สภาพดินเหนียว ปุ๋ยเคมีที่ใช้ควรมีไนโตรเจนและโพแทสเซียมเท่ากัน และเน้นฟอสฟอรัสสัดส่วน
ที่สูงขึ้น เช่นสูตร 12-24-12 หรือ 15-30-15 - สภาพดินร่วนควรให้ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสัดส่วนสูงขึ้นแต่ไม่ควรสูงกว่าฟอสฟอรัส เช่นสูตร
10-20-15 - สภาพดินทราย ซึ่งเป็นดินที่ไม่ค่อยมีธาตุโพแทสเซียมควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสัดส่วนสูงกว่าตัวอื่น ๆ เช่นสูตร 15-20-20, 13-13-21 และ 12-12-17
- หากปลูกมะเขือเทศนอกฤดูจะต้องใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงเนื่องจากมะเขือเทศจะต้องใช้ไนโตรเจนจำนวนมากในสภาพที่อุณหภูมิสูง
6. การทำค้าง
อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการปลูกมะเขือเทศคือการทำค้าง โดยสำหรับพันธุ์มะเขือเทศที่ทอดยอดหรือพันธุ์เลื้อยจำเป็นต้องทำการปักค้าง เพราะการปักค้างจะทำให้สะดวกต่อการดูแลรักษา ช่วยให้ฉีดยาป้องกันแมลงได้อย่างทั่วถึง ป้องกันผลไม่เปื้อนพื้นดิน และสะดวกต่อการเก็บเกี่ยวได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยการใช้ไม้หลักปักค้างต้นก่อนระยะออกดอกหรือเมื่อมะเขือเทศอายุประมาณ 20 – 25 วันหลังย้ายปลูก ด้วยวิธีการ
ใช้เชือกผูกกับลำต้นไขว้กันเป็นเลข 8 มีขั้นตอนดังนี้
- เตรียมไม้ไผ่ 3 ท่อน / ต้น และเชือกสำหรับมัด
- ปักไม้ไผ่หรือไม้รวก 3 ท่อนลงดิน โดยทำมุมเอียง 45 องศา
- รวบปลายไม้ให้เอนเข้าหากัน
- ผูกเชือกมัดปลายไม้เป็นกระโจม
- ใช้ไม้พาดขวางระหว่างค้าง (ส่วนยอดกระโจมที่อยู่ด้านบนสุด) เพื่อเพิ่มความแข็งแรง
- มัดลำต้นมะเขือเทศกับค้างให้ยอดเลื้อยขึ้นไปตามแนวของค้าง
ภาพจาก Thairath
7. การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมะเขือเทศ แต่โดยเฉลี่ยแล้วมะเขือเทศจะเริ่มออกดอก และจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 70 – 90 วัน ซึ่งระยะเริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวนั้นจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน
โดยลักษณะผลที่เก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการปลูกมะเขือเทศ
- ปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งตลาด : ควรเก็บในระยะที่ไม่แก่จัด คือระยะที่ผลเป็นสีเขียวและเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ โดยที่ต้องเก็บผลในระยะที่ไม่แก่จัดเนื่องผลผลิตทนทานกว่าในระหว่างการขนส่ง และเมื่อมะเขือเทศถูกวางขายในตลาดก็จะมีสีส้มหรือสีแดง
- ปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรม : ต้องเก็บในระยะผลสุกแล้ว ซึ่งจะเป็นสีแดงหรือสีส้มทั้งผล และเก็บไม่ให้มีขั้วผลติดมากับผล เพราะหากมีขั้วผลติดมาด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจะ
คัดทิ้งเนื่องจากเมื่อนําไปทําผลิตภัณฑ์แล้วจะทําให้คุณภาพและสีของมะเขือเทศเสีย
ภาพจาก baania
ผักคู่อริและศัตรูพืชของการปลูกมะเขือเทศ
เมื่อรู้วิธีปลูกมะเขือเทศแล้ว อีกสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยคือต้องระวังผักคู่อริ (ผักที่เมื่อปลูกใกล้กันแล้ว
จะทำให้ผักอีกชนิดเติบโตได้แย่ลงและเกิดโรคได้)ในการปลูกมะเขือเทศ โดยมีหลัก ๆ คือ ผักชีฝรั่ง มันฝรั่ง โรสแมรี่ พริก และพืชตระกูลเดียวกับมะเขือเทศ เช่น มะเขือพันธุ์ต่างๆ
นอกจากนั้น ศัตรูพืชหลัก ๆ ของการปลูกมะเขือเทศมีอยู่ 2 ชนิด คือหนอนชอนใบที่จะเจาะผลและใบของมะเขือเทศ ทำให้ผลผลิตเสียหายสูงได้ถึง 90% และแมลงหวี่ขาว ซึ่งเป็นแมลงประเภทปากดูดที่จะดูดน้ำเลี้ยงของมะเขือเทศ ทำให้พืชหงิกงอและต้นแคระแกร็น
เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ช่วยทุ่นแรงการปลูกมะเขือเทศ
แนะนำเครื่องจักรกลทางการเกษตรจาก KUBOTA ที่ช่วยให้การปลูกมะเขือเทศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อุปกรณ์ยกร่องต่อพ่วงแทรกเตอร์ BF615
- ปรับความกว้างได้หลายขนาด ตอบโจทย์ทุกงานการปลูกได้อย่างมืออาชีพ
- ช่วยให้ผิวแปลงเรียบ สม่ำเสมอ
- ช่วยลดการยุบตัวของแปลงที่เกิดจากน้ำฝน
- ขนาดแปลงที่ปรับได้: 60 / 80 / 100 / 120 / 150 ซม.
- ราคาเพียง 19,900 บาท
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมอุปกรณ์ยกร่อง BF615 คลิกที่นี่
สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับการปลูกมะเขือเทศ
โดยสรุป การปลูกมะเขือเทศ จำเป็นต้องใส่ใจทุกรายละเอียดตั้งแต่การเลือกชนิดที่จะปลูก การเตรียมดิน การเพาะปลูก การดูแลต่าง ๆ ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายอย่างการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้มะเขือเทศที่มีคุณภาพ ผลสวย และเต่งตึงอย่างแท้จริง โดยหากมีเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ได้มาตรฐานและทำมาเพื่อ
การปลูกผักและผลไม้อย่าง อุปกรณ์ยกร่อง BF615 จาก KUBOTA แน่นอนว่าคุณจะได้มะเขือเทศที่มีคุณภาพสูง
หากคุณต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม / สั่งซื้อ สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางด้านล่างนี้
- KUBOTA CONNECT ติดต่อกับเราที่เบอร์ 02-029-1747
- Facebook Fanpage: Siam Kubota และ Kubota Drone Club – คูโบต้าโดรนคลับ
- ดูสินค้าทั้งหมดผ่านเว็บไซต์: SiamKubota
- อัปเดตสิทธิพิเศษ หรือติดต่อผ่านทาง LINE OA: @siamkubota
- รับชมวีดีโอการใช้งานเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่: SIAMKUBOTA